
การคุกคามทางเพศในองค์กร ปัญหาที่ผู้นำ ไม่ควรมองข้าม
7 พ.ค. 2021
การคุกคามทางเพศในองค์กร ปัญหาที่ผู้นำ ไม่ควรมองข้าม | THE BRIEFCASE
รู้หรือไม่ จากผลสำรวจ ของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
ที่ทำการสำรวจ 136 หน่วยงานจากหลายองค์กรในไทย
พบว่า มีผู้ที่ถูกคุกคามทางเพศในที่ทำงาน ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์
ที่ทำการสำรวจ 136 หน่วยงานจากหลายองค์กรในไทย
พบว่า มีผู้ที่ถูกคุกคามทางเพศในที่ทำงาน ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์
เมื่อลองเทียบตัวเลขสัดส่วนนี้กับประเทศอื่น ๆ
- สหรัฐอเมริกา ประมาณ 54%
- สหราชอาณาจักร 13%
- สหรัฐอเมริกา ประมาณ 54%
- สหราชอาณาจักร 13%
จะเห็นว่าสถิติการถูกคุกคามทางเพศในไทย
ดูน้อยกว่า สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร
ดูน้อยกว่า สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร
อย่างไรก็ตาม อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ก็ยังตั้งข้อสังเกตไว้ว่า
ที่สัดส่วนในไทยอยู่ในระดับต่ำ อาจเป็นเพราะ จริง ๆ แล้วยังมี “เหยื่อ” อีกหลายรายที่ไม่อยากเปิดเผยเรื่องนี้ในแบบสำรวจ หรือไม่มีโอกาสได้พูดเรื่องนี้กับสังคม
ที่สัดส่วนในไทยอยู่ในระดับต่ำ อาจเป็นเพราะ จริง ๆ แล้วยังมี “เหยื่อ” อีกหลายรายที่ไม่อยากเปิดเผยเรื่องนี้ในแบบสำรวจ หรือไม่มีโอกาสได้พูดเรื่องนี้กับสังคม
และถึงแม้ตัวเลขนี้ที่เกิดขึ้นในไทยอาจจะดูน้อย แต่นี่ก็เป็นปัญหาที่องค์กรไม่ควรมองข้าม
แล้วทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?
THE BRIEFCASE จะสรุปให้ฟัง
แล้วทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?
THE BRIEFCASE จะสรุปให้ฟัง
ก่อนอื่นเรามาเข้าใจคำว่า การคุกคามทางเพศกันก่อน
ในบางครั้งการกระทำของเรา การหยอกล้อต่าง ๆ ที่ทำไปด้วยความสนิทสนม
และไม่ได้คิดอะไร แต่อีกฝ่ายอาจจะมองว่าเป็นการคุกคามทางเพศก็ได้
ในบางครั้งการกระทำของเรา การหยอกล้อต่าง ๆ ที่ทำไปด้วยความสนิทสนม
และไม่ได้คิดอะไร แต่อีกฝ่ายอาจจะมองว่าเป็นการคุกคามทางเพศก็ได้
หลายคนจึงเกิดคำถามว่าแล้วแบบไหนล่ะ ถึงเรียกว่าคุกคามทางเพศ ?
ในปัจจุบันนั้นคำนิยามการคุกคามทางเพศ ครอบคลุมตั้งแต่การใช้สายตา คำพูดวิจารณ์รูปร่าง
การพูดตลกทางเพศ การสัมผัสร่างกาย ไปจนถึงการส่งรูป ส่งข้อความที่ส่อเจตนาทางเพศ
ที่ทำให้ผู้ถูกกระทำรู้สึกเดือดร้อนรำคาญ
การพูดตลกทางเพศ การสัมผัสร่างกาย ไปจนถึงการส่งรูป ส่งข้อความที่ส่อเจตนาทางเพศ
ที่ทำให้ผู้ถูกกระทำรู้สึกเดือดร้อนรำคาญ
แล้วถ้ามีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นในองค์กร ผู้นำควรรับมืออย่างไร ?
เราลองมาดูตัวอย่างบริษัทชื่อดังระดับโลกจัดการกับปัญหาการคุกคามทางเพศภายในองค์กรกัน
ซึ่งบริษัทนั้นก็คือ Google
เราลองมาดูตัวอย่างบริษัทชื่อดังระดับโลกจัดการกับปัญหาการคุกคามทางเพศภายในองค์กรกัน
ซึ่งบริษัทนั้นก็คือ Google
Andy Rubin คือผู้ก่อตั้งบริษัท Android Inc. ผู้คิดค้นระบบปฏิบัติการ Android ที่เราคุ้นเคยกัน
ก่อนที่จะถูก Google เข้าซื้อกิจการในปี 2005
ก่อนที่จะถูก Google เข้าซื้อกิจการในปี 2005
โดย Andy Rubin ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งของ Google เลยก็ว่าได้
เพราะเขาทำผลงานให้กับทางบริษัทอย่างมหาศาล
เพราะเขาทำผลงานให้กับทางบริษัทอย่างมหาศาล
แต่แล้ววันหนึ่งก็เกิดการร้องเรียนเรื่องพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของ Andy กับพนักงานหญิงคนหนึ่ง
ภายหลังจากการสอบสวน Andy ก็ลาออกจากบริษัทไปในปี 2014 และ Google ได้จ่ายเงินชดเชยการลาออกให้กับเขาราว 2,900 ล้านบาท
ภายหลังจากการสอบสวน Andy ก็ลาออกจากบริษัทไปในปี 2014 และ Google ได้จ่ายเงินชดเชยการลาออกให้กับเขาราว 2,900 ล้านบาท
แต่เรื่องก็ไม่จบเพียงเท่านี้ เมื่อ The New York Times สำนักข่าวชั้นนำของสหรัฐอเมริกา
ได้รายงานถึงเงินชดเชยที่ Andy ได้รับ
ได้รายงานถึงเงินชดเชยที่ Andy ได้รับ
ซึ่งจากข่าวนั้นเองที่ทำให้พนักงานคนอื่น ๆ ที่เพิ่งมาทราบต่างไม่พอใจเป็นอย่างมาก
ว่า Andy ที่มีพฤติกรรมคุกคามทางเพศคนในบริษัท ไม่สมควรจะได้รับเงินชดเชยก้อนนั้น
จนเกิดเป็นเหตุให้พนักงานของ Google กว่า 20,000 คนทั่วโลก มารวมตัวกันประท้วงบริษัทในปี 2018
ว่า Andy ที่มีพฤติกรรมคุกคามทางเพศคนในบริษัท ไม่สมควรจะได้รับเงินชดเชยก้อนนั้น
จนเกิดเป็นเหตุให้พนักงานของ Google กว่า 20,000 คนทั่วโลก มารวมตัวกันประท้วงบริษัทในปี 2018
หลังจากนั้นมา คุณซุนดาร์ พิชัย CEO ของ Google ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
เขาได้ออกแถลงการณ์ว่า บริษัทกำลังดำเนินมาตรการขั้นเด็ดขาดต่อพนักงานที่ประพฤติตัวไม่เหมาะสม
ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ระดับใดก็ตาม
เขาได้ออกแถลงการณ์ว่า บริษัทกำลังดำเนินมาตรการขั้นเด็ดขาดต่อพนักงานที่ประพฤติตัวไม่เหมาะสม
ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ระดับใดก็ตาม
ซึ่งในช่วงปี 2016-2017 Google ก็ได้สั่งปลดพนักงานกว่า 48 ตำเเหน่ง
ในจำนวนนี้เป็นผู้บริหารระดับอาวุโสถึง 13 คน
ซึ่งเป็นผลจากการถูกกล่าวหาว่าได้กระทำพฤติกรรมที่เป็นการคุกคามหรือล่วงละเมิดทางเพศต่อเพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา
ในจำนวนนี้เป็นผู้บริหารระดับอาวุโสถึง 13 คน
ซึ่งเป็นผลจากการถูกกล่าวหาว่าได้กระทำพฤติกรรมที่เป็นการคุกคามหรือล่วงละเมิดทางเพศต่อเพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา
ยิ่งไปกว่านั้นบริษัทแม่ของ Google อย่าง Alphabet
ยังได้ตกลงที่จะอัปเดตหรือเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดและขั้นตอนเกี่ยวกับการลงโทษ พนักงานที่ประพฤติมิชอบทางเพศ และการคุกคามทางเพศอีกกว่า 80 ข้อกำหนด
ยังได้ตกลงที่จะอัปเดตหรือเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดและขั้นตอนเกี่ยวกับการลงโทษ พนักงานที่ประพฤติมิชอบทางเพศ และการคุกคามทางเพศอีกกว่า 80 ข้อกำหนด
ทั้งหมดนี้ก็เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่พนักงานของ Google ว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นอีก
จากกรณีของ Google แสดงให้เห็นว่า ปัญหาการคุกคามทางเพศในที่ทำงานไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย
หลายคนต้องทนทุกข์ทรมานอยู่กับการคุกคาม เพียงเพราะกลัวถูกไล่ออก
หรือบางคนก็ทนไม่ไหว จนขอลาออกไปเอง
และในท้ายสุดแล้ว หากองค์กรละเลยปัญหานี้ ก็อาจเกิดปัญหาใหญ่ตามมา เหมือนที่ Google เคยเจอในปี 2018
หลายคนต้องทนทุกข์ทรมานอยู่กับการคุกคาม เพียงเพราะกลัวถูกไล่ออก
หรือบางคนก็ทนไม่ไหว จนขอลาออกไปเอง
และในท้ายสุดแล้ว หากองค์กรละเลยปัญหานี้ ก็อาจเกิดปัญหาใหญ่ตามมา เหมือนที่ Google เคยเจอในปี 2018
สุดท้ายนี้ การคุกคามทางเพศไม่ควรจะเกิดขึ้นไม่ว่าจะกับใคร เพศไหน หรือว่าที่ใดก็ตาม
เพราะการกระทำเหล่านั้นอาจเป็นการสร้างบาดแผลในจิตใจของคนที่โดนคุกคามทางเพศไปตลอดชีวิต
เพราะการกระทำเหล่านั้นอาจเป็นการสร้างบาดแผลในจิตใจของคนที่โดนคุกคามทางเพศไปตลอดชีวิต
แล้วหากผู้นำยังปล่อยให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ
องค์กรอาจเสียพนักงานที่ดีไป หรือสูญเสียภาพลักษณ์ขององค์กร
เพียงเพราะมองข้ามปัญหา หรือซ่อนปัญหานั้นเอาไว้ ที่ใต้พรม..
องค์กรอาจเสียพนักงานที่ดีไป หรือสูญเสียภาพลักษณ์ขององค์กร
เพียงเพราะมองข้ามปัญหา หรือซ่อนปัญหานั้นเอาไว้ ที่ใต้พรม..
References
-https://www.inc.com/magazine/201804/minda-zetlin/sexual-harassment-workplace-policy-metoo.html
-https://whattobecome.com/blog/sexual-harassment-in-the-workplace-statistics/
-https://www.matichon.co.th/columnists/news_2276266
-https://www.cnbc.com/2020/09/29/googles-310-million-sexual-misconduct-settlement-details.html
-https://prachatai.com/journal/2020/06/87981
-https://www.usatoday.com/story/tech/2019/12/18/uber-sexual-harassment-investigation-me-too/2694091001/
-https://www.inc.com/magazine/201804/minda-zetlin/sexual-harassment-workplace-policy-metoo.html
-https://whattobecome.com/blog/sexual-harassment-in-the-workplace-statistics/
-https://www.matichon.co.th/columnists/news_2276266
-https://www.cnbc.com/2020/09/29/googles-310-million-sexual-misconduct-settlement-details.html
-https://prachatai.com/journal/2020/06/87981
-https://www.usatoday.com/story/tech/2019/12/18/uber-sexual-harassment-investigation-me-too/2694091001/