รู้จัก “โรคย้ำคิดย้ำทำ” ที่ส่งผลต่อ การทำงานและชีวิตของเรา

รู้จัก “โรคย้ำคิดย้ำทำ” ที่ส่งผลต่อ การทำงานและชีวิตของเรา

23 มิ.ย. 2021
รู้จัก “โรคย้ำคิดย้ำทำ” ที่ส่งผลต่อ การทำงานและชีวิตของเรา | THE BRIEFCASE
โรค OCD ย่อมาจาก Obsessive Compulsive Disorder
ถ้าเรียกภาษาไทยง่าย ๆ ก็คือ “โรคย้ำคิดย้ำทำ”
ซึ่งโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัยไม่ว่าจะเป็น นักศึกษา พนักงานออฟฟิศ เจ้าของกิจการ หรือ คนที่เกษียณอายุแล้วก็ตาม
คนดังระดับโลกอย่าง David Beckham, Donald Trump หรือ Leonardo DiCaprio ทุกคนต่างก็เคยเผยว่า มีอาการย้ำคิดย้ำทำ ที่แตกต่างกันไป เช่นกัน
แล้วโรค OCD คืออะไร ?
มันใกล้ตัวเราขนาดไหน ?
วันนี้เราจะมาหาคำตอบกัน
ต้องบอกก่อนเลยว่า โรคย้ำคิดย้ำทำนั้นถือเป็นโรคที่อันตรายมาก ถ้าเราไม่ทำความรู้จักโรคนี้ให้ดีพอ
เพราะมันจะส่งผลต่อการทำงานของเราได้
โดยอาการของโรค OCD นั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. อาการย้ำคิด (Obsession)
2. อาการย้ำทำ (Compulsion)
Obsession หรืออาการย้ำคิด เป็นความรู้สึกหรือจินตนาการ ที่มักจะผุดขึ้นมาในหัวเราอยู่บ่อยครั้ง
อาการย้ำคิดเกิดขึ้นได้จากที่ทำงาน หรือการทำงานมากเกินไป
ยกตัวอย่างเช่น
- การมีความคิดในในแง่ลบต่อเพื่อนร่วมงานหรือเจ้านายของเราอยู่บ่อยครั้ง
- การกลัวที่จะโดนคนอื่นติ หรือว่าเราเรื่องการทำงานของเรา จนทำให้เราไม่สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้
- การกำหนดเวลาตายตัวจนเกินไป ถ้ามีอะไรมาเปลี่ยนแปลงจากแผนที่เราว่างไว้ เราก็จะหงุดหงิด
- การกลัวว่าของจะหายอยู่ตลอดเวลา ทำให้เราต้องตรวจเช็กอยู่เรื่อย ๆ
Compulsion คือ การทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ หรือ การย้ำทำ ที่เกิดเนื่องจากความย้ำคิด (Obsession) ของเรา
โดยการที่เราย้ำคิดเรื่องอะไรอยู่ มันก็สะท้อนลงไปที่พฤติกรรมที่เราแสดงออกมา
ยกตัวอย่างเช่น
- การที่เรากลัวว่าของเราจะหาย เราก็จะพยายามเช็กมันตลอดเวลา
- การที่เรากลัวว่าสิ่งที่เราจับนั้นสกปรก เราจะล้างมือบ่อยครั้ง หรือ รักษาความสะอาดจนเกินไป
- การที่เราอคติต่อคนรอบตัวเรา เราก็จะทำพฤติกรรมที่ไม่สมควรออกไป
ซึ่งบ้างครั้งพฤติกรรมเหล่านี้ สามารถกินเวลาชีวิตของเราได้จนเราไม่สามารถทำงานได้
ยกตัวอย่างเช่น
บางคนต้องอาบน้ำถึง 3 ชั่วโมง เพราะกลัวว่าจะไม่สะอาด
บางคนต้องจัดของบนโต๊ะตลอดเวลา เพราะอยากให้ทุกอย่างเข้าที่
บางคนต้องคิดวนไปวนมา จนไม่สามารถทำอะไรในวันนั้นได้เลย
โดยโรค OCD นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 7 ประเภท คือ
1. Contamination Obsessions - โรคกลัวความสกปรก
2. Harm Obsession - โรคขี้ระแวง
3. Symmetry and Exactness Obsession - โรคสมมาตรและเที่ยงตรง
4. Harm Obsession - โรคเกี่ยวกับความรุนแรง
5. Checking Obsession - โรคที่ต้องตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา
6. Repeating Ritual Obsession - โรคที่ต้องพิถีพิถันซ้ำ ๆ
7. Hoarding Obsession - โรคชอบสะสมของ
โดยสาเหตุของโรค OCD ที่ว่านี้
ก็จะเกิดขึ้นได้จากหลากหลายปัจจัย
เช่น กรรมพันธุ์ของครอบครัว และความเครียดสะสม
ซึ่งถ้าเราไม่แก้หรือพยายามเข้าใจมัน โรคนี้จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการใช้ชีวิตและการทำงาน
และอาจทำให้คนรอบตัว หรือเพื่อนร่วมงานของเรานั้น เกิดความรำคาญจากนิสัยย้ำคิดย้ำทำของเราได้
คำถามสำคัญคือ ถ้าเรารู้ตัวว่ากำลังเป็นโรคนี้ เราจะมีวิธีจัดการกับมันอย่างไร ?
อันดับแรกเลยก็คือ เราต้องเข้าใจก่อนว่า OCD คือโรคอะไร แล้วเรามีพฤติกรรมหรือความคิดที่เข้าข่ายการเป็นโรค OCD แบบไหนกันแน่ แล้วเปิดใจและยอมรับมัน
ขั้นต่อมาคือ การฝึกไม่ให้ย้ำคิดย้ำทำ
โดยอาจเริ่มจาก การจดความคิดของเราบนกระดาษ แล้วลิสต์ออกมาเป็นข้อๆ เพื่อเราจะได้รู้ว่าเราคิดเรื่องนี้ไปแล้ว มันมีทางแก้ไข ที่ทำให้ไม่ต้องมาย้ำคิดย้ำทำอีกไหม
เช่น ถ้าเราคิดว่าของที่เราจะจับนั้นสกปรก เราสามารถเช็ดของที่สกปรกด้วยเจลแอลกอฮอล์
พอของนั้นสะอาดเราสามารถลองจับมันอีกครั้ง
ทำแบบนี้ เพื่อที่จะฝึกสมองของเราให้รับรู้ว่า ของชิ้นนั้นมันไม่ได้สกปรกแล้ว
ถ้าเรามีความอคติกับเพื่อนร่วมงานหรือคนใกล้ตัวเรา ให้เราลองพูดคุยกับเขาตรง ๆ เพราะว่าการพูดคุยมักจะช่วยให้เราสามารถปรับความเข้าใจ เข้าหากันได้ โดยไม่ต้องมาย้ำคิดย้ำทำเรื่องนั้นอยู่ซ้ำ ๆ
หรือถ้าเราย้ำคิดเรื่องที่เรารู้สึกผิดอยู่บ่อย ๆ จนไม่เป็นอันทำงาน เราอาจลองกำหนดเวลา 30 นาทีต่อวัน สำหรับเอาไว้ย้ำคิดเรื่องนั้นอย่างเต็มที่ และพอหมดเวลาตรงนั้นก็จะไม่คิดเรื่องนั้นอีก
หรือหากใครที่รู้ตัวว่า กำลังมีอาการย้ำคิดย้ำทำค่อนข้างรุนแรง ก็อาจลองปรึกษาคนใกล้ตัวเรา หรือปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อขอความช่วยเหลืออย่างตรงจุดได้
แต่สำคัญที่สุดก็คือ ถ้าเราเข้าใจและเปิดใจศึกษาโรคนี้
ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ของการเอาชนะ โรคย้ำคิดย้ำทำ..
References
-https://www.treatmyocd.com/education/different-types-of-ocd
-https://med.mahidol.ac.th/ramamental/generaldoctor/06052015-1417
-https://www.psychiatry.org/patients-families/ocd/what-is-obsessive-compulsive-disorder
-https://www.ocduk.org/ocd/famous-people-with-ocd/
-https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/obsessive-compulsive-disorder/diagnosis-treatment/drc-20354438
-http://www.psychiatry.or.th/JOURNAL/62-2/04_Rungtip.pdf
© 2024 BrandCase. All rights reserved. Privacy Policy.