ข้อเข่าเสื่อม โรคร้ายที่ใกล้ตัวเรา มากกว่าที่คิด

ข้อเข่าเสื่อม โรคร้ายที่ใกล้ตัวเรา มากกว่าที่คิด

8 ม.ค. 2022
ผู้สนับสนุน..
ข้อเข่าเสื่อม โรคร้ายที่ใกล้ตัวเรา มากกว่าที่คิด
นิสัยของโรคร้ายที่น่ากลัวที่สุดอย่างหนึ่ง
คือ เรามักจะไม่รู้สึกตัวเมื่อเรากลายเป็นผู้ป่วยในระยะแรก
จะมารู้ตัวอีกที ก็คือความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นกับร่างกายเรา
อาการป่วยแบบนี้มักจะพบใน โรคหัวใจ, โรคมะเร็ง, โรคกระเพาะ และอีกสารพัดโรค
หนึ่งในนั้นก็คือ โรคข้อเข่าเสื่อม เพราะในช่วงแรกที่เริ่มป่วย เรายังเดินได้ตามปกติ
จนเมื่อเริ่มมีอาการปวดเข่าเล็ก ๆ เวลาเคลื่อนไหว บางคนอาจคิดว่าเดี๋ยวก็อาจหายไปเอง
หลายคนยอมไปหาหมอก็ต่อมาเมื่อปวดจนทนไม่ไหว
และหากรุนแรงไม่ได้รับการรักษาถูกวิธี และทันเวลาสุดท้ายกระดูกอาจถูกทำลายจนถึงขั้นพิการ
ที่น่าสนใจ คือในบ้านเราสถิติผู้ป่วยโรคนี้กำลังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี
แล้วเราจะมีวิธีการป้องกันอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ข้อมูลจาก กรมการแพทย์ เปิดเผยว่า
ปี 2555 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม 4 ล้านคน
ปี 2561 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม 6 ล้านคน
ในเวลา 6 ปี จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 50%
เหตุผลที่ทำให้จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นก็คือประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงวัย
เพราะรู้หรือไม่ว่าคนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในเมืองไทยมีถึง 40% ที่ป่วยด้วยโรคนี้
โดยจำนวนผู้ป่วยหญิงจะมากกว่าชาย 2 -3 เท่าเลยทีเดียว
จากข้อมูลตรงนี้พอสรุปได้ว่าหากประเทศไทยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 10 ล้านคน
จะมีผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมประมาณ 4 ล้านคน
และใน 4 ล้านคนนี้ จะเป็นเพศหญิงอายุ 60 ปีขึ้นไปราว ๆ 2 - 3 ล้านคน
แล้วโรคนี้มันเกิดจากอะไร?
เมื่อกระดูกอ่อนผิวข้อเสื่อมสภาพสึกหรอ จะทำให้กระดูกข้อต่อเสียดสีกันจนเนื้อกระดูกเสื่อมสภาพ ในทางการแพทย์ ได้แบ่งออกเป็น 2 สาเหตุหลัก ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้
ข้อแรกคือ การเสื่อมสภาพที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่ยากจะหลีกเลี่ยง
รู้หรือไม่ว่า เมื่อเราอายุมากขึ้นผิวกระดูกก็จะค่อย ๆ เริ่มเสื่อมสภาพ
ส่วนใหญ่อาการนี้จะเริ่มต้นกับคนอายุ 40 ปีขึ้นไป
ขณะที่คนที่มีน้ำหนักตัวมาก ๆ ก็มีความเสี่ยงมากตามไปด้วย เมื่อข้อเข่าต้องรับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น การนั่งในท่าคุกเข่า, พับเพียบ, ขัดสมาธิ เป็นเวลานานและบ่อยครั้ง
ข้อสองก็คือ การเสื่อมสภาพที่เกิดขึ้นจากตัวเราเอง
หากเราต้องทำงาน ในท่าที่มีผลต่อการรับน้ำหนักของข้อเข่าโดยตรง เช่น จำเป็นต้องแบก หรือยกของหนักเป็นประจำ หรือต้องยืนเป็นระยะเวลานาน
อาจทำให้ข้อเข้าเสื่อมก่อนเวลาอันควร หรืออาจเกิดอุบัติเหตุที่มีผลต่อกระดูกข้อเข่า
พอรู้อย่างนี้ ก็ต้องบอกว่าโรคข้อเข่าเสื่อมเป็นอะไรที่ใกล้ตัวกว่าที่เราคิดไว้เยอะ
หากรุนแรงที่สุดอาจส่งผลให้เนื้อกระดูกเสื่อมสภาพยากเกินจะเยียวยา
วิธีป้องกันที่ดีที่สุดก็คือการไม่นำตัวเองไปเสี่ยงกับโรคนี้จากสาเหตุที่บอกมาข้างต้น
แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยวิถีชีวิตการทำงานของหลาย ๆ คน การหลีกเลี่ยงปัจจัยของโรคอาจเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก
ก็คงต้องมองหาวิธีรักษา และบรรเทาอาการจากโรคนี้จากหนักให้เป็นเบา
ทางเลือกที่นิยมที่สุด ก็คือการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม
จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 80,000 บาทในระบบหลักประกันสุขภาพ
วิธีนี้ต้องใช้เวลาพักฟื้น 2 - 6 เดือนขึ้นอยู่กับสภาพกระดูกเดิมและร่างกายของผู้ป่วย
ที่น่าสนใจแม้หลังผ่าตัดจนหายดีแล้ว แต่ก็ไม่สามารถออกกำลังกายที่ส่งผลกระทบต่อข้อเข่า
อีกวิธีก็คือการรักษาด้วยตัวเอง
วิธีนี้สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องขยันออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อต้นขาแข็งแรงมากขึ้น
ขณะเดียวกันต้องประคับประคองลดแรงกดตรงกระดูกข้อเข่า
จากนั้นร่างกายก็จะค่อย ๆ ซ่อมแซมส่วนของข้อที่เสื่อม
วิธีสุดท้ายก็คือการรับประทานอาหารเสริม
ซึ่งก็ต้องบอกว่ามีอาหารเสริมในท้องตลาดมากมายให้เลือก
แต่หนึ่งในอาหารเสริมที่น่าสนใจ และมีประสิทธิภาพ คือ UC-II
UC-II ก็คือโปรตีนคอลลาเจนชนิดที่ 2 ผลิตขึ้นภายใต้สิทธิบัตรจากประเทศสหรัฐอเมริกา
มีผลงานวิจัยรับรองตั้งแต่ปีค.ศ. 2009 - 2013
แล้ว UC-II ดีต่อการช่วยบรรเทาโรคข้อเข่าเสื่อมอย่างไร?
ก็ต้องบอกว่ามีการใช้วัตถุดิบธรรมชาติปลอดภัยมากมายผสมอยู่
โดยเฉพาะการสกัดคอลลาเจนจากกระดูกอ่อนตรงอกไก่ ในอุณหภูมิที่ต่ำไม่ใช้เอนไซม์
ทำให้ได้คอลลาเจนที่ไม่เสื่อมสลายคงสภาพสมบูรณ์ที่สุด
โดย UC-II จะช่วยลดอัตราการอักเสบจากกระดูกข้อต่อที่เสื่อมสภาพ
และสร้างสภาวะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างกระดูกอ่อนขึ้นมาใหม่
อีกทั้งยังเป็นสารอาหารที่เหมาะแก่ทุกเพศทุกวัย
ที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือจากผลวิจัยพบว่า UC-II มีประสิทธิภาพช่วยบำรุงกระดูกมากถึง 2 เท่า
หากเทียบกับ กลูโคซามีน และ คอนดรอยติน
โดยปริมาณที่ทางแพทย์แนะนำในการรับประทาน คือวันละ 40 กรัม
ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลที่ทำให้เราเตรียมพร้อม และรับมือกับโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งมันอาจจะเป็นโรคร้ายที่ใกล้ตัวเรา มากกว่าที่คิด แต่ก็ไม่ใช่ว่าเราจะไม่มีทางบรรเทาอาการได้ เพราะมีทั้งการผ่าตัด และทานยา แต่สำหรับคนที่เริ่มมีอาการ ก็อยากให้ใช้วิธีบริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรงขึ้น หรือปรับการใช้งานข้อเข่าของเราให้น้อยลง เพื่อที่จะให้ร่างกายของเรา ค่อย ๆ รักษาด้วยตัวเอง..
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.