
รู้จัก Task Batching เทคนิคทำหลายงาน ให้ไม่หลุดโฟกัส
22 ม.ค. 2022
รู้จัก Task Batching เทคนิคทำหลายงาน ให้ไม่หลุดโฟกัส | THE BRIEFCASE
บริษัทหลายแห่งโดยเฉพาะบริษัทที่ยังมีขนาดเล็ก มักชอบพนักงานที่ทำงานแบบ Multitask หรือก็คือ พนักงานคนหนึ่ง สามารถทำงานได้หลากหลาย
ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่าบริษัทต้องการใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด ไม่จำเป็นต้องใช้คนเยอะ ช่วยประหยัดเวลา และงบประมาณ
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพก็เช่น
พนักงานคนหนึ่งอาจรับผิดชอบตั้งแต่เข้าร่วมประชุม ออกไปพบลูกค้า ตอบอีเมลลูกค้า กลับมาทำรายงาน คุยงานกับฝ่ายขายและฝ่ายผลิต เรียกว่า ทำงานนี้เสร็จแล้วก็โดดไปทำงานนั้นต่อ
พนักงานคนหนึ่งอาจรับผิดชอบตั้งแต่เข้าร่วมประชุม ออกไปพบลูกค้า ตอบอีเมลลูกค้า กลับมาทำรายงาน คุยงานกับฝ่ายขายและฝ่ายผลิต เรียกว่า ทำงานนี้เสร็จแล้วก็โดดไปทำงานนั้นต่อ
อย่างไรก็ตาม มีการศึกษามากมายที่บอกว่า การทำงานแบบ Multitask อาจไม่ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพมากนัก
เพราะจริง ๆ แล้ว สมองของคนเราสามารถโฟกัสกับงานได้เพียงทีละอย่าง มากกว่าที่ต้องทำหลายอย่างไปพร้อม ๆ กัน
และการทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน อาจทำให้เกิดความผิดพลาด ความล่าช้า มากกว่าที่เราคิด
และการทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน อาจทำให้เกิดความผิดพลาด ความล่าช้า มากกว่าที่เราคิด
จึงมีแนวคิดอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถช่วยแก้ปัญหาที่ว่า นั่นคือ เทคนิคการทำงานแบบ Task Batching เกิดขึ้นมา
แล้วการทำงานแบบนี้เป็นอย่างไร ?
THE BRIEFCASE จะสรุปให้ฟัง
THE BRIEFCASE จะสรุปให้ฟัง
การทำงานแบบ Task Batching คือ การที่เราพยายามจัดตารางเวลาในแต่ละวัน หรือแต่ละช่วงเวลา เพื่อทำงานตามกลุ่มที่ได้แบ่งไว้ (Task)
โดยงานแต่ละกลุ่มจะถูกแบ่งตามความคล้ายคลึงของลักษณะงาน
โดยงานแต่ละกลุ่มจะถูกแบ่งตามความคล้ายคลึงของลักษณะงาน
ถ้าดูแบบนี้ เราจะเห็นว่า จริง ๆ แล้วการทำงานแบบ Task Batching เราก็ไม่ได้ทำงานอย่างเดียว
แต่เราทำการรวบรวมงานที่คล้าย ๆ หรือใกล้เคียงกันไว้ด้วยกัน
แต่เราทำการรวบรวมงานที่คล้าย ๆ หรือใกล้เคียงกันไว้ด้วยกัน
ซึ่งจะแตกต่างจากกรณีการทำงานแบบ Multitasking ที่เป็นการทำงานหลายอย่าง
โดยที่แต่ละอย่างนั้นมักจะแตกต่างกัน
โดยที่แต่ละอย่างนั้นมักจะแตกต่างกัน
ลองดูตัวอย่างของการทำงานแบบ Task Batching เช่น
- งานที่ต้องติดต่อกับลูกค้า ไม่ว่าจะทางโทรศัพท์ อีเมล แช็ต หรือแม้แต่ออกไปพบลูกค้า ควรจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
- งานที่ต้องค้นคว้าหาข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ทำพรีเซนเทชัน ทำรายงานการประชุม ควรจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
- งานที่ต้องติดต่อกับหน่วยงานภายในบริษัท เช่น ฝ่ายขาย ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดซื้อ ควรจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
- งานที่ต้องติดต่อกับลูกค้า ไม่ว่าจะทางโทรศัพท์ อีเมล แช็ต หรือแม้แต่ออกไปพบลูกค้า ควรจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
- งานที่ต้องค้นคว้าหาข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ทำพรีเซนเทชัน ทำรายงานการประชุม ควรจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
- งานที่ต้องติดต่อกับหน่วยงานภายในบริษัท เช่น ฝ่ายขาย ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดซื้อ ควรจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
โดยขั้นตอนของการทำ Task Batching ก็เริ่มจาก
1. ลิสต์รายการงานที่ต้องทำและจัดเรียงความสำคัญ
อันดับแรกเลยคือ เราต้องลิสต์งานที่เรารับผิดชอบออกมาให้หมดก่อน
หลังจากนั้น จึงค่อยมาดูว่า งานแบบไหนที่สามารถมอบหมายให้คนอื่นทำได้ งานแบบไหนที่สามารถใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย โดยที่เราไม่ต้องทำเอง ด้วยการจัดเรียงความสำคัญของแต่ละงาน
หลังจากนั้น จึงค่อยมาดูว่า งานแบบไหนที่สามารถมอบหมายให้คนอื่นทำได้ งานแบบไหนที่สามารถใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย โดยที่เราไม่ต้องทำเอง ด้วยการจัดเรียงความสำคัญของแต่ละงาน
เมื่อเราแบ่งแยกงานที่ไม่ต้องทำเอง และงานที่ต้องทำเองเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปก็คือ ลงลึกในรายละเอียดของงานที่เราต้องทำเอง ด้วยการจัดแบ่งประเภทของงานเหล่านั้น
2. แบ่งประเภทงานตามฟังก์ชันของงานแต่ละอย่าง
เมื่อรู้แล้วว่า งานที่เราต้องทำเองมีอะไรบ้าง
ต่อมาให้เราทำการจัดงานที่มีลักษณะคล้าย ๆ กันมาอยู่ในกลุ่มเดียวกัน
หลังจากนั้นก็ค่อย ๆ จัดเรียงความสำคัญของงานแต่ละประเภท ว่างานไหนที่เร่งด่วน งานไหนไม่เร่งด่วน งานไหนต้องใช้พลังงานและสมาธิมาก
ต่อมาให้เราทำการจัดงานที่มีลักษณะคล้าย ๆ กันมาอยู่ในกลุ่มเดียวกัน
หลังจากนั้นก็ค่อย ๆ จัดเรียงความสำคัญของงานแต่ละประเภท ว่างานไหนที่เร่งด่วน งานไหนไม่เร่งด่วน งานไหนต้องใช้พลังงานและสมาธิมาก
นอกจากนี้ เราอาจใช้เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือสี เพื่อบอกว่างานที่ต้องทำนั้นมีความสำคัญ หรือใช้สมาธิมากน้อยแค่ไหน
เช่น งานที่ต้องค้นคว้าหาข้อมูล เขียนบทความส่งบริษัท เป็นงานสำคัญหรืองานที่ต้องใช้สมาธิมาก เราก็อาจใช้เครื่องหมายดอกจัน (*****) 5 ดอก
หรืองานที่ไม่ต้องใช้สมาธิมาก เช่น ตอบอีเมล ตอบแช็ตลูกค้า ไปร่วมงานแต่งงานของเพื่อนร่วมงาน เราก็อาจใช้เครื่องหมายดอกจัน (***) 3 ดอก
3. สร้างตารางการทำงาน
หลังจากที่เราทำการลิสต์รายการงานที่ต้องทำและจัดเรียงความสำคัญ พร้อมทั้งแบ่งประเภทงานตามฟังก์ชันของงานแต่ละงานเรียบร้อยแล้ว ต่อมาให้เรามาสร้างตารางการทำงาน ซึ่งเราอาจเขียนลงในสมุดส่วนตัว
สมาร์ตโฟน หรือโน้ตบุ๊ก
สมาร์ตโฟน หรือโน้ตบุ๊ก
ซึ่งในกรณีของสมาร์ตโฟน หรือโน้ตบุ๊ก เราอาจใช้เครื่องมือ เช่น ปฏิทิน (Calendar) เป็นตัวช่วยง่าย ๆ เพื่อระบุว่า ในแต่ละวันงานที่ถูกจัดเป็น Task Batching มีอะไรบ้าง
นอกจากนี้ เราอาจใช้เทคนิคที่ชื่อว่า “Time Blocking” เข้ามาเสริมระหว่างที่สร้างตารางการทำงาน
ซึ่งเทคนิคนี้คือ การที่เรานั้นจัดสรรเวลาไว้เลยตั้งแต่แรกว่า ในแต่ละวันนั้น เราจะทำอะไรบ้าง ทำตอนไหน และทำนานเท่าไร
ซึ่งการจัดตารางการทำงานให้เป็นระบบและระเบียบนั้น ไม่เพียงแต่ช่วยให้เราเห็นตารางงานของตัวเอง
แต่ยังรวมไปถึงเพื่อนร่วมงาน คนในทีม รวมทั้งหัวหน้า ก็จะได้เห็นหรือจะได้รู้ว่าเราทำงานตอนไหน เวลาไหนที่ควรมาคุย หรือไม่ควรมารบกวน
โดยเฉพาะถ้าเป็นเรื่องไม่จำเป็น ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถโฟกัส และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้สมาธิมาก ๆ นั่นเอง
แต่ยังรวมไปถึงเพื่อนร่วมงาน คนในทีม รวมทั้งหัวหน้า ก็จะได้เห็นหรือจะได้รู้ว่าเราทำงานตอนไหน เวลาไหนที่ควรมาคุย หรือไม่ควรมารบกวน
โดยเฉพาะถ้าเป็นเรื่องไม่จำเป็น ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถโฟกัส และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้สมาธิมาก ๆ นั่นเอง
อ่านมาถึงตรงนี้ เราจะเห็นว่า การทำงานแบบ Task Batching นั้นน่าสนใจ
และก็มีประโยชน์ไม่น้อย เพราะจะช่วยเพิ่มสมาธิ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
ซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานที่มีลักษณะคล้าย ๆ กันอย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาเหมือน Multitask จนมีโอกาสที่จะขาดสมาธิในการทำงาน
และก็มีประโยชน์ไม่น้อย เพราะจะช่วยเพิ่มสมาธิ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
ซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานที่มีลักษณะคล้าย ๆ กันอย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาเหมือน Multitask จนมีโอกาสที่จะขาดสมาธิในการทำงาน
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเทคนิคการทำงานแบบ Task Batching จะช่วยแบ่งเวลาที่แน่นอนไปให้กับงานที่ถูกจัดกลุ่มไว้เรียบร้อยแล้ว
แต่บางครั้งเราอาจเจองานด่วนที่เข้ามาแทรก และเราไม่สามารถจัดไปอยู่ในกลุ่มที่เราจัดไว้ก่อนหน้า เราก็ต้องปรับเปลี่ยนเวลา และรูปแบบการทำงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์จริง ๆ ด้วย
เพราะต้องไม่ลืมว่า ชีวิตการทำงานที่ประสบความสำเร็จนั้น นอกจากจะต้องทำตามระเบียบแบบแผนที่วางไว้แล้ว
เราก็ต้องมีความยืดหยุ่น และความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไปตลอดเวลาด้วยเช่นกัน..