
กรณีศึกษา กลยุทธ์แตกหลายแบรนด์ เพื่อครองตลาด ของ P&G
3 มี.ค. 2022
กรณีศึกษา กลยุทธ์แตกหลายแบรนด์ เพื่อครองตลาด ของ P&G | THE BRIEFCASE
อยากผมนุ่มสลวย ต้อง Rejoice
อยากหมดปัญหารังแค ต้อง Head & Shoulders
อยากผมเงางาม ต้อง Pantene
อยากใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารสกัดธรรมชาติ ต้อง Herbal Essences
แต่ไม่ว่าจะเลือกอะไร ทุกแบรนด์ที่พูดมา มีเจ้าของเดียวกัน
นั่นก็คือ Procter & Gamble หรือ P&G
อยากหมดปัญหารังแค ต้อง Head & Shoulders
อยากผมเงางาม ต้อง Pantene
อยากใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารสกัดธรรมชาติ ต้อง Herbal Essences
แต่ไม่ว่าจะเลือกอะไร ทุกแบรนด์ที่พูดมา มีเจ้าของเดียวกัน
นั่นก็คือ Procter & Gamble หรือ P&G
แล้วทำไมผู้ผลิตเดียวกันถึงต้องทำหลายแบรนด์
แทนที่จะทำหลายสูตรแทน ?
THE BRIEFCASE จะสรุปให้ฟัง
แทนที่จะทำหลายสูตรแทน ?
THE BRIEFCASE จะสรุปให้ฟัง
กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ (Product Strategy) ถือเป็นสิ่งที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างมาก
และหนึ่งกลยุทธ์ที่บริษัทยักษ์ใหญ่เลือกใช้ ก็คือ กลยุทธ์การแตกแบรนด์ หรือที่เรียกว่า “Multi Branding Strategy”
และหนึ่งกลยุทธ์ที่บริษัทยักษ์ใหญ่เลือกใช้ ก็คือ กลยุทธ์การแตกแบรนด์ หรือที่เรียกว่า “Multi Branding Strategy”
อธิบายกลยุทธ์การแตกแบรนด์ง่าย ๆ คือ
บริษัทผู้ผลิตเดียวกัน แต่สร้างผลิตภัณฑ์โดยใช้ชื่อที่แตกต่างกัน
บริษัทผู้ผลิตเดียวกัน แต่สร้างผลิตภัณฑ์โดยใช้ชื่อที่แตกต่างกัน
ยกตัวอย่างเช่น แบรนด์แชมพู Rejoice, Head & Shoulders, Pantene และ Herbal Essences
หากดูที่ตัวผลิตภัณฑ์แล้วจะเห็นว่า แชมพูเหล่านี้มีจุดเด่น ในการแก้ปัญหาเส้นผม และหนังศีรษะที่แตกต่างกัน
หากดูที่ตัวผลิตภัณฑ์แล้วจะเห็นว่า แชมพูเหล่านี้มีจุดเด่น ในการแก้ปัญหาเส้นผม และหนังศีรษะที่แตกต่างกัน
แต่เมื่อดูที่ฉลากจะพบว่า แบรนด์แชมพูที่กล่าวมา เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท P&G ทั้งหมด
และไม่ใช่แค่ชื่อแบรนด์ หรือการแก้ปัญหาให้ลูกค้าเท่านั้น ที่สร้างความแตกต่าง เพราะสินค้าแต่ละแบรนด์ยังมีความแตกต่างในเรื่องของราคาอีกด้วย
ยกตัวอย่างเช่น
- Rejoice 450 มล. ราคา 149 บาท เท่ากับว่า 1 มล. ราคาประมาณ 0.33 บาท
- Herbal Essences 400 มล. 179 บาท เท่ากับว่า 1 มล. ราคาประมาณ 0.45 บาท
- Rejoice 450 มล. ราคา 149 บาท เท่ากับว่า 1 มล. ราคาประมาณ 0.33 บาท
- Herbal Essences 400 มล. 179 บาท เท่ากับว่า 1 มล. ราคาประมาณ 0.45 บาท
จึงแสดงให้เห็นว่า นอกจากการสร้างแบรนด์ ให้ตอบสนองทุกปัญหาของลูกค้าแล้ว ยังมีการตั้งราคาเพื่อให้เข้าถึงลูกค้าในแต่ละระดับของรายได้อีกด้วย
แล้วข้อดีของการแตกแบรนด์ คืออะไร ?
คำตอบคือ เพื่อจับกลุ่มลูกค้าได้หลากหลาย และเสนอทางเลือกหลาย ๆ ทางให้ลูกค้า
ที่เป็นแบบนี้ ก็เพราะวลีที่ว่า “One size fits all” หรือของแบบเดียวตอบโจทย์ทุกคน มันเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับธุรกิจ โดยเฉพาะสินค้าอุปโภค อย่างแชมพู ที่ลูกค้ามีความต้องการที่หลากหลายมาก
เพราะฉะนั้น หากบริษัทมีแบรนด์ที่สามารถตอบสนองความต้องการ ที่หลากหลายของลูกค้าได้ยิ่งหลากหลายเท่าไร ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าได้มากเท่านั้น
การสร้างแบรนด์ที่หลากหลาย และวางจำหน่ายในตลาดเดียวกัน จะช่วยให้บริษัทเข้าถึงหรือมีส่วนแบ่งทางการตลาดได้ในทุก ๆ กลุ่มลูกค้า
ลองคิดดูว่า ถ้าหากบริษัทผลิตเพียงแค่แชมพูขจัดรังแคเท่านั้น ก็คงจะได้ลูกค้าแค่กลุ่มเดียว ซึ่งก็คือลูกค้าที่มีปัญหารังแค
แต่หากบริษัทผลิตสินค้าออกมาได้ครอบคลุมทุกปัญหาที่เกี่ยวกับเส้นผมและหนังศีรษะ ก็จะสามารถเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดได้มากขึ้นนั่นเอง
เช่น
- Rejoice เน้นจุดขายเรื่องช่วยให้ผมนุ่มสลวย
- Head & Shoulders เน้นจุดขายเรื่องช่วยแก้ปัญหารังแค
- Pantene เน้นจุดขายเรื่องช่วยให้ผมเงางาม
- Herbal Essences เน้นจุดขายเรื่องใช้สารสกัดธรรมชาติ
- Rejoice เน้นจุดขายเรื่องช่วยให้ผมนุ่มสลวย
- Head & Shoulders เน้นจุดขายเรื่องช่วยแก้ปัญหารังแค
- Pantene เน้นจุดขายเรื่องช่วยให้ผมเงางาม
- Herbal Essences เน้นจุดขายเรื่องใช้สารสกัดธรรมชาติ
อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์การแตกแบรนด์แบบนี้ ก็มีข้อเสียอยู่เหมือนกัน
เพราะหากแบรนด์ใหม่ที่สร้างขึ้นมายังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก อาจต้องใช้เวลาและมีค่าใช้จ่ายในการโฆษณาที่มากขึ้น เพื่อโปรโมตแบรนด์ และสร้างการรับรู้ไปยังลูกค้า ส่งผลให้ต้นทุนของผลิตภัณฑ์สูงขึ้น
เพราะหากแบรนด์ใหม่ที่สร้างขึ้นมายังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก อาจต้องใช้เวลาและมีค่าใช้จ่ายในการโฆษณาที่มากขึ้น เพื่อโปรโมตแบรนด์ และสร้างการรับรู้ไปยังลูกค้า ส่งผลให้ต้นทุนของผลิตภัณฑ์สูงขึ้น
เนื่องจากการทำเช่นนี้ มีค่าใช้จ่ายทั้งในเรื่องของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การออกแบบแบรนด์ และการโฆษณาที่สูง จึงมีเพียงบริษัทใหญ่ ๆ เท่านั้น ที่นิยมใช้กลยุทธ์การแตกแบรนด์เพื่อขายในตลาดเดียวกัน
แต่สำหรับ P&G ที่เป็นบริษัทใหญ่ระดับโลก ก็คงไม่มีปัญหาเรื่องนี้เท่าไรนัก
แต่สำหรับ P&G ที่เป็นบริษัทใหญ่ระดับโลก ก็คงไม่มีปัญหาเรื่องนี้เท่าไรนัก
ซึ่งคู่แข่งคนสำคัญในสมรภูมิแชมพูของ P&G อย่าง Unilever ก็ใช้กลยุทธ์การแตกแบรนด์แบบนี้เหมือนกัน
รู้ไหมว่า แชมพู Sunsilk, Clear, Dove ก็มีเจ้าของเดียวกัน คือ Unilever
รู้ไหมว่า แชมพู Sunsilk, Clear, Dove ก็มีเจ้าของเดียวกัน คือ Unilever
สรุปแล้ว การพัฒนาหรือสร้างแบรนด์ให้เข้าถึงลูกค้าทุกกลุ่ม ก็เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ ที่ช่วยให้บริษัทสามารถครองตลาดได้
เพราะนอกจากจะจับกลุ่มลูกค้าได้อย่างครอบคลุมแล้ว ยังเป็นการเพิ่มความหลากหลายให้ผู้บริโภคด้วย
จนหลายคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำ ว่าสินค้าต่างแบรนด์ที่เลือกซื้อมา มักมีเจ้าของเป็นคนเดียวกัน..
จนหลายคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำ ว่าสินค้าต่างแบรนด์ที่เลือกซื้อมา มักมีเจ้าของเป็นคนเดียวกัน..
References
-http://www.bablog.mju.ac.th/Pusanisa/wp-content/uploads/2010/12/ch.6-Product-Strategy.pdf
-https://www.indeed.com/career-advice/career-development/multi-brand-strategy
-https://www.longtunman.com/12375
-https://companiesmarketcap.com/procter-and-gamble/marketcap/
-https://companiesmarketcap.com/unilever/marketcap/
-http://www.bablog.mju.ac.th/Pusanisa/wp-content/uploads/2010/12/ch.6-Product-Strategy.pdf
-https://www.indeed.com/career-advice/career-development/multi-brand-strategy
-https://www.longtunman.com/12375
-https://companiesmarketcap.com/procter-and-gamble/marketcap/
-https://companiesmarketcap.com/unilever/marketcap/