
ทำไม CP ต้องมีแบรนด์กาแฟ ถึง 9 แบรนด์
20 มี.ค. 2022
ทำไม CP ต้องมีแบรนด์กาแฟ ถึง 9 แบรนด์ | BrandCase
ข้อมูลจากสถาบันอาหารระบุว่า ภาพรวมตลาดกาแฟในประเทศไทยปี 2561 อยู่ที่ 23,727 ล้านบาท ส่วนในปี 2563 อยู่ที่ 60,000 ล้านบาท
จากตัวเลขนี้เราจะเห็นได้ว่าตลาดกาแฟมีมูลค่ามหาศาล และคาดว่าจะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ
เนื่องจากพฤติกรรมของคนไทยนั้น มีการดื่มกาแฟมากขึ้น ทำให้แบรนด์เล็กแบรนด์ใหญ่ อยากจะเข้ามาแย่งส่วนแบ่งในตลาดนี้
โดยเครือ CP เองก็คือหนึ่งในนั้น
เนื่องจากพฤติกรรมของคนไทยนั้น มีการดื่มกาแฟมากขึ้น ทำให้แบรนด์เล็กแบรนด์ใหญ่ อยากจะเข้ามาแย่งส่วนแบ่งในตลาดนี้
โดยเครือ CP เองก็คือหนึ่งในนั้น
แต่คำถามคือ แล้วทำไม CP ถึงต้องมีแบรนด์กาแฟ ถึง 9 แบรนด์
ทำไมไม่ทำแบรนด์เดียวแล้วขยายสาขาไปทั่วไทย ?
ลองมาดูแบรนด์กาแฟที่อยู่ในมือของ CP
All Café, KUDSAN, กาแฟมวลชน, ARABITIA, Jungle, TrueCoffee, Bellinee’s Bake & Brew, Star Coffee และ Chester’s Coffee
ทำไมไม่ทำแบรนด์เดียวแล้วขยายสาขาไปทั่วไทย ?
ลองมาดูแบรนด์กาแฟที่อยู่ในมือของ CP
All Café, KUDSAN, กาแฟมวลชน, ARABITIA, Jungle, TrueCoffee, Bellinee’s Bake & Brew, Star Coffee และ Chester’s Coffee
โดยเหตุผลหลัก ๆ ที่ CP ต้องมีแบรนด์กาแฟ ถึง 9 แบรนด์ ก็คือ ต้องการเข้าถึงผู้บริโภคให้ครบทุกกลุ่มรายได้
- All Café แบรนด์กาแฟหลักของ CP ALL ที่เน้นกลุ่มลูกค้าระดับเริ่มต้น
- KUDSAN เพิ่มความพรีเมียมขึ้นมาเล็กน้อย ด้วยการใช้เครื่องชงกาแฟแบบทำมือ
และเน้นความเป็นไลฟ์สไตล์คาเฟขึ้นมา ด้วยการขายเบเกอรีร่วมด้วย
และเน้นความเป็นไลฟ์สไตล์คาเฟขึ้นมา ด้วยการขายเบเกอรีร่วมด้วย
แต่ทั้ง 2 แบรนด์ ก็มีช่องทางจัดจำหน่ายที่สะดวกสบาย และเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างง่าย ๆ คือ ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ซึ่งเรื่องนี้ก็ทำให้ CP ประหยัดต้นทุนเรื่องพื้นที่ทำเลในการตั้งร้านค้า และส่งผลให้กาแฟมีราคาที่ถูกลง
นอกจากนี้ การขยายสาขาก็สามารถทำได้แบบติดเทอร์โบ
เพียงแค่ใช้ฐานทัพ 7-Eleven ที่มีมากกว่า 13,000 สาขาทั่วประเทศไทย
นอกจากนี้ การขยายสาขาก็สามารถทำได้แบบติดเทอร์โบ
เพียงแค่ใช้ฐานทัพ 7-Eleven ที่มีมากกว่า 13,000 สาขาทั่วประเทศไทย
- กาแฟมวลชน แบรนด์ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อบุกตลาด คอนวีเนียน คอฟฟี หรือเพิ่มความสะดวกให้กับกลุ่มคนทำงาน ไม่ได้ตอบโจทย์ลูกค้าแค่เครื่องดื่ม แต่ยังมีสินค้าอื่น ๆ อีก เช่น อาหาร เบเกอรี และสินค้าชุมชน
อีกทั้ง CP ก็เห็นช่องว่างในการขยายร้านกาแฟในรูปแบบแฟรนไชส์ จึงได้ตั้งแบรนด์กาแฟมวลชนขึ้นมานั่นเอง
และกาแฟมวลชนยังเน้นความสะดวกรวดเร็ว ด้วยเครื่องชงกาแฟอัตโนมัติ เพื่อให้ได้รสชาติที่คงที่ และมีราคาถูก ทำให้กลุ่มลูกค้าหลักที่เป็นคนทำงาน สามารถซื้อได้วันละหลาย ๆ แก้ว
- แบรนด์ ARABITIA และแบรนด์ Jungle Café ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าระดับ B+ ที่ชอบความพรีเมียมขึ้นมาอีกนิด
กลุ่มลูกค้าระดับ B+ หรือกลุ่มลูกค้าพรีเมียมขึ้นมาหน่อย และมักจะใช้ชีวิตในย่านทำเลที่มีคนเยอะ ๆ
ทาง CP จึงแตกเป็นแบรนด์ ARABITIA ที่เน้นเปิดร้านในทำเลทอง เช่น โรงพยาบาล
และแบรนด์ Jungle Café ที่มาจับตลาดกาแฟ Mass และขายใน Lotus’s go fresh และ CP Freshmart
ทาง CP จึงแตกเป็นแบรนด์ ARABITIA ที่เน้นเปิดร้านในทำเลทอง เช่น โรงพยาบาล
และแบรนด์ Jungle Café ที่มาจับตลาดกาแฟ Mass และขายใน Lotus’s go fresh และ CP Freshmart
- แบรนด์ Bellinee’s Bake & Brew สร้างมาเพื่อกลุ่มลูกค้าระดับพรีเมียม
แบรนด์ Bellinee’s Bake & Brew จะมาตอบโจทย์ลูกค้าระดับพรีเมียม ด้วยการใช้กาแฟสดระดับพรีเมียมจากอิตาลี ที่คิดค้นและสร้างสรรค์เมนูขนมต่าง ๆ เพื่อให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยปาตีซีเย (Patisserie) หรือก็คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำขนมฝรั่งเศส ระดับมืออาชีพ
- แบรนด์ TrueCoffee สร้างขึ้นมาเพื่อให้เป็นคอมมิวนิตี มากกว่าร้านกาแฟ
ซึ่งนอกจาก คอนเซปต์เรื่องการจับกลุ่มลูกค้าให้ครอบคลุมทุกระดับแล้ว CP ยังได้เน้นกลยุทธ์ร้านกาแฟที่เป็นมากกว่าสถานที่ขายกาแฟอีกด้วย นั่นก็คือกลยุทธ์ “ดิจิตอล ไลฟ์สไตล์ คาเฟ” ของ TrueCoffee
TrueCoffee จะเน้นความเป็นสถานที่พบปะ ให้ลูกค้ามาจิบกาแฟแก้วโปรดคู่กับขนมอร่อย เพลิดเพลินกับอินเทอร์เน็ตฟรีไม่มีสะดุด ในการนั่งทำงานหรืออ่านหนังสือ
ดังนั้น TrueCoffee จึงเน้นทำเลไปที่อาคารสำนักงาน มหาวิทยาลัย หรือตามห้างสรรพสินค้าที่มีคนพลุกพล่าน
นอกจากนี้ TrueCoffee ยังตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ยุคดิจิทัลด้วย TrueCoffee App ให้ลูกค้าชำระเงินผ่านแอปพลิเคชัน พร้อมรับคะแนนสะสม เพื่อแลกรับสิทธิพิเศษต่าง ๆ
- Star Coffee และ Chester’s Coffee แบรนด์ที่มาเพื่อเสริม Ecosystem ให้ร้านอาหารในเครือ CP เช่น ร้าน Chester’s ซึ่งก็มีกลุ่มเป้าหมายเป็นลูกค้าที่มาทานอาหารในร้านอยู่แล้วนั่นเอง
สรุปก็คือ การแตกแบรนด์กาแฟออกเป็นหลาย ๆ แบรนด์นั้น ก็เพื่อให้สามารถครอบคลุมกลุ่มลูกค้าให้ได้หลากหลายกลุ่มมากที่สุด
และถึงแม้ว่าบางแบรนด์จะดูเป็นแบรนด์เล็ก ๆ
แต่เมื่อนำสาขาของทุกแบรนด์ในอาณาจักร CP มารวมกันจะพบว่า มีจำนวนมากกว่า 7,500 สาขาเลยทีเดียว
แต่เมื่อนำสาขาของทุกแบรนด์ในอาณาจักร CP มารวมกันจะพบว่า มีจำนวนมากกว่า 7,500 สาขาเลยทีเดียว
ซึ่งกลยุทธ์การแตกหลาย ๆ แบรนด์
ก็มีส่วนสำคัญทำให้ CP ในตอนนี้ สามารถครองส่วนแบ่งตลาดกาแฟได้เป็นอันดับต้น ๆ ของไทย..
ก็มีส่วนสำคัญทำให้ CP ในตอนนี้ สามารถครองส่วนแบ่งตลาดกาแฟได้เป็นอันดับต้น ๆ ของไทย..