
แบรนด์ได้อะไร จากการจับมือแบรนด์อื่น ออกคอลเลกชันใหม่ ?
19 มี.ค. 2022
แบรนด์ได้อะไร จากการจับมือแบรนด์อื่น ออกคอลเลกชันใหม่ ? | BrandCase
ในช่วงที่ผ่านมา เราคงได้มีโอกาสเห็นหลาย ๆ แบรนด์ ต่างพากันไปจับมือกับแบรนด์ต่าง ๆ
อย่างเช่น แบรนด์ Pepsi ที่มาจับมือกับ Blackpink ทำกระป๋องลวดลายพิเศษ
หรือ Nike กับ Louis Vuitton ออกรองเท้าลวดลายใหม่ บนรองเท้ารุ่น Air Force 1
อย่างเช่น แบรนด์ Pepsi ที่มาจับมือกับ Blackpink ทำกระป๋องลวดลายพิเศษ
หรือ Nike กับ Louis Vuitton ออกรองเท้าลวดลายใหม่ บนรองเท้ารุ่น Air Force 1
แล้วการทำแบบนี้ ส่งผลดีต่อแบรนด์ อย่างไร ? ลองมาวิเคราะห์ประโยชน์หลัก ๆ ที่แบรนด์จะได้รับกัน
1. กระตุ้นยอดขายสินค้า สร้างกระแสนิยมให้ลูกค้าติดตาม
การทำเช่นนี้ช่วยให้เกิดสถานการณ์ win-win ทั้งสองแบรนด์ที่มาจับมือกัน
เพราะการออกสินค้าใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน จะทำให้คนอยากมาจับจองเป็นเจ้าของ ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดได้
เพราะการออกสินค้าใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน จะทำให้คนอยากมาจับจองเป็นเจ้าของ ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดได้
นอกจากนี้ การร่วมมือหรือจับมือกับแบรนด์ต่าง ๆ มักทำออกมาในรูปแบบ คอลเลกชันพิเศษที่ของมีจำนวนจำกัดนั้น
จะช่วยดึงความสนใจให้ลูกค้าอยากซื้อสินค้ามากขึ้น เพราะอาจมองว่าเป็นการสะสม และไม่ได้ทำออกมาขายบ่อย ๆ
จะช่วยดึงความสนใจให้ลูกค้าอยากซื้อสินค้ามากขึ้น เพราะอาจมองว่าเป็นการสะสม และไม่ได้ทำออกมาขายบ่อย ๆ
ยกตัวอย่างก็เช่น เครื่องดื่มเป๊ปซี่ ที่ออกคอลเลกชันเป็นลวดลายศิลปิน Blackpink
นอกจากจะช่วยดึงยอดขายจากฐานแฟนคลับแล้ว ยังทำให้กลุ่มลูกค้าที่ชอบสะสมนั้น ก็อยากซื้อให้ครบทั้ง 4 ศิลปินในวง Blackpink
นอกจากจะช่วยดึงยอดขายจากฐานแฟนคลับแล้ว ยังทำให้กลุ่มลูกค้าที่ชอบสะสมนั้น ก็อยากซื้อให้ครบทั้ง 4 ศิลปินในวง Blackpink
เท่ากับว่าจากเดิมที่ปกติอาจจะซื้อเพื่อดื่มเพียงกระป๋องเดียว ก็อาจจะเปลี่ยนมาซื้อ 4 กระป๋อง เพื่อสะสมให้ครบทุกลายที่มีในคอลเลกชันนั้น ๆ
อย่างไรก็ตาม แบรนด์ที่มาจับมือกันแล้วได้ผลตอบรับที่ดี อาจต้องมีภาพลักษณ์ที่เป็นแบรนด์ “ระดับเดียวกัน” และทำการบ้านเรื่องจุดแข็งของแต่ละฝ่ายมาเป็นอย่างดี
เพื่อให้แคมเปญที่จะออกมา ถูกใจฐานแฟน ๆ ของแต่ละฝ่ายมากที่สุด
เพื่อให้แคมเปญที่จะออกมา ถูกใจฐานแฟน ๆ ของแต่ละฝ่ายมากที่สุด
2. สร้างฐานลูกค้าใหม่ ให้แก่กันและกัน
อย่างในกรณีแบรนด์ The North Face จับมือกับแบรนด์หรู Gucci
หากมาลองวิเคราะห์ดูแล้ว The North Face ดูเป็นแบรนด์ที่เป็นสไตล์ outdoor ที่ไม่ได้เป็นกระแสแฟชั่นเสียเท่าไรนัก ทำให้กลุ่มลูกค้าเดิมนั้นอาจอยู่ในกลุ่มผู้ใหญ่ หรือคนที่ชอบทำกิจกรรม
หากมาลองวิเคราะห์ดูแล้ว The North Face ดูเป็นแบรนด์ที่เป็นสไตล์ outdoor ที่ไม่ได้เป็นกระแสแฟชั่นเสียเท่าไรนัก ทำให้กลุ่มลูกค้าเดิมนั้นอาจอยู่ในกลุ่มผู้ใหญ่ หรือคนที่ชอบทำกิจกรรม
ในขณะที่ Gucci เอง มีความเป็นแบรนด์หรู ที่มีฐานแฟน ๆ ค่อนข้างกว้างทั่วโลก
ทีนี้ เมื่อทั้งสองแบรนด์มาร่วมจับมือกัน สิ่งที่ได้ก็คือ The North Face ก็ได้ฐานลูกค้าเพิ่มมากขึ้น เพราะได้ความเป็น “ของมันต้องมี” มาจากแบรนด์หรูอย่าง Gucci
ส่วน Gucci ก็ได้ฐานลูกค้าใหม่ ๆ ที่เป็นลูกค้าเดิมของ The North Face แต่ต้องการความทันสมัย และความหรูหราในแบบฉบับแบรนด์หรูมากขึ้น
3. มีโอกาสทำกำไรเพิ่มขึ้น
เนื่องจากเป็นสินค้าพิเศษที่ไม่ได้ผลิตออกมาบ่อย ๆ จึงทำให้แบรนด์ สามารถตั้งราคาสินค้าในคอลเลกชันพิเศษให้มีราคาที่สูงขึ้นกว่าได้
และหากสามารถสร้างยอดขายได้น่าพอใจ จนครอบคลุมต้นทุนในการทำแคมเปญ
แบรนด์ก็มีโอกาสทำกำไรเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
แบรนด์ก็มีโอกาสทำกำไรเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นว่า การทำธุรกิจในยุคนี้ ไม่จำเป็นต้องมีใครได้ประโยชน์ หรือเสียประโยชน์ แบบ Win-Loss situation เสมอไป
เพราะแบรนด์สามารถฝใช้กลยุทธ์การร่วมจับมือกับแบรนด์อื่น ๆ
ให้สามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจแบบ Win-Win
เกื้อหนุนกันทั้งสองฝ่าย ให้เติบโตไปพร้อม ๆ กันได้ นั่นเอง..
ให้สามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจแบบ Win-Win
เกื้อหนุนกันทั้งสองฝ่าย ให้เติบโตไปพร้อม ๆ กันได้ นั่นเอง..