
กรณีศึกษา กลยุทธ์ “One For One” ที่ทำให้แบรนด์รองเท้า TOMS เจอปัญหาการเงิน
2 เม.ย. 2022
กรณีศึกษา กลยุทธ์ “One For One” ที่ทำให้แบรนด์รองเท้า TOMS เจอปัญหาการเงิน | BrandCase
รู้หรือไม่ กลยุทธ์แบบ “One For One” หรือการซื้อสินค้า 1 ชิ้นเพื่อมอบสินค้าอีก 1 ชิ้นให้กับเด็กด้อยโอกาส
เป็นกลยุทธ์ที่แบรนด์รองเท้า TOMS ใช้มาตั้งแต่ปี 2006
และตัวแบรนด์ก็โด่งดังในตลาด เนื่องจากกิมมิกการตลาดนี้ไม่น้อย
เป็นกลยุทธ์ที่แบรนด์รองเท้า TOMS ใช้มาตั้งแต่ปี 2006
และตัวแบรนด์ก็โด่งดังในตลาด เนื่องจากกิมมิกการตลาดนี้ไม่น้อย
แต่รู้หรือไม่ว่า ในปี 2019 แบรนด์รองเท้า TOMS ได้ตัดสินใจครั้งสำคัญ ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์หลักของแบรนด์ที่ใช้มามากกว่า 10 ปี ไปเรียบร้อยแล้ว..
ต้องเล่าก่อนว่า แบรนด์รองเท้า TOMS ก่อตั้งโดยคุณ Blake Mycoskie
ซึ่งเขาคนนี้ได้แรงบันดาลใจ ขณะเดินทางผ่านอาร์เจนตินา แล้วได้เห็นความลำบากของเด็ก ๆ ที่ไม่มีรองเท้าใส่ ทำให้เขาเริ่มต้นทำแบรนด์ TOMS ขึ้นมา
ซึ่งเขาคนนี้ได้แรงบันดาลใจ ขณะเดินทางผ่านอาร์เจนตินา แล้วได้เห็นความลำบากของเด็ก ๆ ที่ไม่มีรองเท้าใส่ ทำให้เขาเริ่มต้นทำแบรนด์ TOMS ขึ้นมา
โดยกลยุทธ์ที่เขาใช้โปรโมตแบรนด์ก็คือ
“รองเท้า 1 คู่ที่ลูกค้าซื้อ ก็จะมีรองเท้าอีกคู่ ถูกมอบให้กับเด็ก ๆ ที่ขาดแคลนรองเท้า”
กลยุทธ์นี้จึงถูกเรียกว่า One for One นั่นเอง
“รองเท้า 1 คู่ที่ลูกค้าซื้อ ก็จะมีรองเท้าอีกคู่ ถูกมอบให้กับเด็ก ๆ ที่ขาดแคลนรองเท้า”
กลยุทธ์นี้จึงถูกเรียกว่า One for One นั่นเอง
นอกเหนือจากกลยุทธ์ที่เป็นเอกลักษณ์ในด้านการกุศลแล้ว
อีกส่วนที่ทำให้รองเท้า TOMS โด่งดัง คือการที่เหล่าคนดังในสหรัฐอเมริกา หยิบเอารองเท้า TOMS ไปใส่ จนทำให้รองเท้าผ้าธรรมดา ๆ นี้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
อีกส่วนที่ทำให้รองเท้า TOMS โด่งดัง คือการที่เหล่าคนดังในสหรัฐอเมริกา หยิบเอารองเท้า TOMS ไปใส่ จนทำให้รองเท้าผ้าธรรมดา ๆ นี้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
และที่ผ่านมา TOMS ก็ได้บริจาครองเท้าให้กับเด็กด้อยโอกาส ไปแล้วกว่า 94 ล้านคู่
อย่างไรก็ตามด้วยกลยุทธ์ลักษณะนี้ ส่งผลให้บริษัทประสบปัญหาด้านการเงินอย่างหนัก
เนื่องจากการบริหารด้านการเงินที่ผิดพลาด
ประกอบกับ TOMS เผชิญกับยอดขายที่ลดลง
เนื่องจากการบริหารด้านการเงินที่ผิดพลาด
ประกอบกับ TOMS เผชิญกับยอดขายที่ลดลง
บริษัทต้องดิ้นรนชำระหนี้ที่บริษัทก่อขึ้นเป็นจำนวนมาก จนในที่สุดบริษัทก็ต้องขอเจรจาเรื่องปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ ในปี 2019
ทีมบริหารชุดใหม่ของ TOMS จึงเปลี่ยนกลยุทธ์ จากเดิมที่เป็นแบบ One for One
เป็นการ นำเอา “1 ใน 3 ของผลกำไรที่บริษัททำได้” ไปบริจาคให้กับองค์กรต่าง ๆ แทน
โดยจะเน้นบริจาคให้กับองค์กรการกุศลที่ดูแลเรื่องสุขภาพจิต, ต่อต้านการใช้ความรุนแรง และองค์กรที่ส่งเสริมด้านการเข้าถึงโอกาสของคนในสังคม
เป็นการ นำเอา “1 ใน 3 ของผลกำไรที่บริษัททำได้” ไปบริจาคให้กับองค์กรต่าง ๆ แทน
โดยจะเน้นบริจาคให้กับองค์กรการกุศลที่ดูแลเรื่องสุขภาพจิต, ต่อต้านการใช้ความรุนแรง และองค์กรที่ส่งเสริมด้านการเข้าถึงโอกาสของคนในสังคม
ที่บริษัทเลือกทำแบบนี้ก็เพื่อให้กระบวนการการทำงานง่ายขึ้น และช่วยบรรเทาปัญหาทางการเงินของแบรนด์ด้วย
เรื่องของรองเท้า TOMS จึงเป็นอีกกรณีที่น่าจับตามองว่า หลังจากที่บริษัทปรับเปลี่ยนกลยุทธ์
บริษัทจะทำให้ตัวเองกลับมาเติบโตได้เท่าเดิม หรือเติบโตมากกว่าในอดีตได้หรือไม่
บริษัทจะทำให้ตัวเองกลับมาเติบโตได้เท่าเดิม หรือเติบโตมากกว่าในอดีตได้หรือไม่
แต่สิ่งหนึ่งที่เราปฏิเสธไม่ได้จากกรณีนี้ก็คือ แม้ว่าโมเดลของ TOMS จะดีแค่ไหน แต่ในการทำธุรกิจ
ต้องคำนึงถึงผลกำไรด้วย
ต้องคำนึงถึงผลกำไรด้วย
เพราะแม้ว่า ลูกค้าจะไม่ชอบบริษัทที่เอาแต่แสวงหาผลกำไร และพยายามมองหาแบรนด์ที่ทำอะไรคืนให้สังคมบ้าง
แต่ในแง่มุมของแบรนด์ การทำการกุศลที่ดี ก็ควรเป็นการกุศล ที่ช่วยทั้งสังคม และช่วยให้บริษัทเติบโตได้ด้วย..
References
-https://www.forbes.com/sites/davidhessekiel/2021/04/28/the-rise-and-fall-of-the-buy-one-give-one-model-at-toms
-https://www.businessinsider.com/rise-and-fall-of-toms-shoes-blake-mycoskie-bain-capital-2020-3
-https://retailwire.com/discussion/toms-finds-one-for-one-charitable-model-doesnt-add-up-for-its-business/
-https://www.forbes.com/sites/davidhessekiel/2021/04/28/the-rise-and-fall-of-the-buy-one-give-one-model-at-toms
-https://www.businessinsider.com/rise-and-fall-of-toms-shoes-blake-mycoskie-bain-capital-2020-3
-https://retailwire.com/discussion/toms-finds-one-for-one-charitable-model-doesnt-add-up-for-its-business/