
กลยุทธ์ IKEA โปรโมตองค์กร โดยให้พนักงาน มาเล่าให้ฟัง
29 มิ.ย. 2022
กลยุทธ์ IKEA โปรโมตองค์กร โดยให้พนักงาน มาเล่าให้ฟัง | BrandCase
สมัยนี้การเล่า หรือสื่อสารเกี่ยวกับเรื่องราววัฒนธรรมองค์กร ถือเป็นเรื่องสำคัญ
เพราะไม่ใช่แค่จะช่วยเสริมภาพลักษณ์ที่ดูดีให้องค์กร แต่ยังทำให้คนเก่ง ๆ อยากเข้ามาร่วมงานด้วยอีกต่างหาก
เพราะไม่ใช่แค่จะช่วยเสริมภาพลักษณ์ที่ดูดีให้องค์กร แต่ยังทำให้คนเก่ง ๆ อยากเข้ามาร่วมงานด้วยอีกต่างหาก
แต่การที่องค์กรจะออกมาเล่าเอง ว่าที่นี่เราดีแบบนั้น ดีแบบนี้ มันก็มีอีกวิธีที่ทำได้ และดูจริงใจมากกว่า
นั่นคือ ให้ “พนักงานขององค์กร” เป็นคนเล่าเอง
ซึ่งกรณีของ IKEA ก็คือตัวอย่างหนึ่ง ของการใช้กลยุทธ์แบบที่ว่านี้
นั่นคือ ให้ “พนักงานขององค์กร” เป็นคนเล่าเอง
ซึ่งกรณีของ IKEA ก็คือตัวอย่างหนึ่ง ของการใช้กลยุทธ์แบบที่ว่านี้
ประกอบกับตลอดเดือนมิถุนายนนี้ หลายคนคงได้เห็นสีสันจากงาน “Pride Month” ที่ส่งเสริมความเท่าเทียมของ ทุกเพศ ทุกวัย ทุกความต่าง
IKEA ก็เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่มีการเฉลิมฉลองให้กับแคมเปญความหลากหลายและความเท่าเทียมนี้
ภายใต้แฮชแทกที่มีชื่อว่า “IKEAforeveryone”
ภายใต้แฮชแทกที่มีชื่อว่า “IKEAforeveryone”
ซึ่งหนึ่งในแคมเปญของ IKEA ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้
คือ “มารู้จัก IKEA ผ่านสายตาของพนักงาน IKEA”
คือ “มารู้จัก IKEA ผ่านสายตาของพนักงาน IKEA”
โดยแต่ละคนก็จะมาเล่าเรื่องราวในลักษณะของการตอบคำถาม
เช่น
- มาร่วมงานกับ IKEA ได้อย่างไร ?
- การทำงานแต่ละวันใน IKEA เป็นอย่างไร ?
- หน้าที่ ที่สร้างแรงบันดาลใจให้มากที่สุด คืออะไร ?
- วัฒนธรรมและค่านิยมหลักของ IKEA ที่ชอบที่สุด คืออะไร ?
- สิ่งที่อยากบอกกับองค์กร และคำแนะนำถึง คนที่อยากสมัครงาน ?
เช่น
- มาร่วมงานกับ IKEA ได้อย่างไร ?
- การทำงานแต่ละวันใน IKEA เป็นอย่างไร ?
- หน้าที่ ที่สร้างแรงบันดาลใจให้มากที่สุด คืออะไร ?
- วัฒนธรรมและค่านิยมหลักของ IKEA ที่ชอบที่สุด คืออะไร ?
- สิ่งที่อยากบอกกับองค์กร และคำแนะนำถึง คนที่อยากสมัครงาน ?
ซึ่งพนักงานที่ออกมาเล่าในแคมเปญนี้ ก็มีตั้งแต่ พนักงานเพศทางเลือก, พนักงานอาวุโส หรือพนักงานต่างชาติ ต่างศาสนา
และมีการพูดถึงความคิดเห็นแง่บวกของแต่ละคน ต่อความหลากหลายและความเท่าเทียม
และมีการพูดถึงความคิดเห็นแง่บวกของแต่ละคน ต่อความหลากหลายและความเท่าเทียม
และเมื่อหลายคนได้อ่านโพสต์เรื่องราวของพนักงานเหล่านี้ ต่างก็เข้าไปแสดงความคิดเห็นชื่นชมในความใจกว้างของแบรนด์ และมีบางส่วนก็ออกมาบอกว่าอยากร่วมงานกับบริษัท IKEA
นอกจากนั้น IKEA ยังมีการขายสินค้าใหม่ ที่เกาะเทรนด์ Pride Month แฝงตัวมาด้วยแบบเนียน ๆ
เช่น ถุงหิ้วสีรุ้ง STORSTOMMA ใบใหญ่ในราคา 99 บาท และเสื้อคอลเลกชันพิเศษลายรุ้ง Make the World Everyone's Home
ซึ่งสินค้าก็ถูกสวมใส่โดยพนักงานของ IKEA เอง
ซึ่งสินค้าก็ถูกสวมใส่โดยพนักงานของ IKEA เอง
สรุปคือ การโปรโมตองค์กรด้วยพนักงานของตัวเองในครั้งนี้
น่าจะสร้างความประทับใจให้คนที่เห็นได้ไม่น้อย
และทำให้หลายคน ตกหลุมรัก IKEA ได้มากขึ้นไปอีก
น่าจะสร้างความประทับใจให้คนที่เห็นได้ไม่น้อย
และทำให้หลายคน ตกหลุมรัก IKEA ได้มากขึ้นไปอีก
และการที่แบรนด์ไม่ได้เลือกโปรโมตวัฒนธรรมองค์กรของตัวเองแบบตรง ๆ แต่ใช้วิธีให้พนักงานทุกเพศ ทุกวัย ทุกความหลากหลาย มาเล่าให้ฟัง
ก็คงเสริมภาพลักษณ์ว่าแบรนด์มีความจริงใจต่อพนักงาน และดูแลพนักงานอย่างดี
ก็คงเสริมภาพลักษณ์ว่าแบรนด์มีความจริงใจต่อพนักงาน และดูแลพนักงานอย่างดี
ซึ่งมันก็คงมีส่วนทำให้คนเก่ง ๆ หลายคน อยากมาร่วมงานกับ IKEA มากขึ้น ได้อีกด้วย..