ล่าสุด เงินเฟ้อลาว 23% สูงที่สุดในรอบ 22 ปี

ล่าสุด เงินเฟ้อลาว 23% สูงที่สุดในรอบ 22 ปี

14 ก.ค. 2022
ล่าสุด เงินเฟ้อลาว 23% สูงที่สุดในรอบ 22 ปี
ในช่วงที่ผ่านมา ลาวเผชิญปัญหา “ขาดดุลแฝด” หรือ Twin Deficits ซึ่งเป็นการขาดดุลทั้งบัญชีคลัง และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด พร้อม ๆ กัน
- การขาดดุลบัญชีคลัง เกิดจาก รัฐบาลมีการใช้จ่ายมากกว่ารายรับ
- การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เกิดจาก การขาดดุลสุทธิของดุลการค้า รวมถึงดุลบัญชีบริการ
โดยลาวมีการลงทุนในเมกะโปรเจกต์จำนวนมาก ซึ่งทำให้ต้องก่อหนี้เป็นสกุลเงินต่างประเทศมากถึง 500,000 ล้านบาท แต่เงินทุนสำรองระหว่างประเทศกลับร่อยหรอลงเรื่อย ๆ จากเศรษฐกิจที่ซบเซาลงในช่วงวิกฤติโควิด 19 จึงทำให้เงินกีบอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง
หากเทียบต่อการแลก 1 ดอลลาร์สหรัฐ
เดือนกรกฎาคม ปี 2021 ต้องใช้ 9,500 กีบ
เดือนกรกฎาคม ปี 2022 ต้องใช้ 15,000 กีบ
คิดเป็นการอ่อนค่าลงถึง 58%
จากเหตุผลด้านราคาพลังงานในตลาดโลกที่สูงอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา เมื่อรวมกับค่าเงินกีบที่อ่อนค่าลงอย่างรุนแรง จึงทำให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายนพุ่งสูงถึง 23%
ขึ้นจากเดือนพฤษภาคมที่ 12.8%
โดยราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น 107.1% เทียบกับปีที่แล้ว หรือพูดง่าย ๆ ก็คือแพงขึ้นหนึ่งเท่าตัว สำหรับราคาสินค้าอื่น ๆ ทั้งสินค้าเครื่องใช้ภายในบ้าน โรงแรม ร้านอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟ ต่างก็เพิ่มขึ้นมากกว่า 20% ในทุกหมวด
ในขณะที่เศรษฐกิจในประเทศก็ยังไม่ฟื้น แต่อัตราเงินเฟ้อกลับสูงขึ้นและรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ
เรียกได้ว่าธนาคารกลางแห่งประเทศลาว กำลังเจอโจทย์ที่ท้าทายมากเลยทีเดียว..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.