“เคเรตสึ” กลุ่มทุนใหญ่ ที่ครอบงำ เศรษฐกิจญี่ปุ่น

“เคเรตสึ” กลุ่มทุนใหญ่ ที่ครอบงำ เศรษฐกิจญี่ปุ่น

27 ก.ย. 2022
“เคเรตสึ” กลุ่มทุนใหญ่ ที่ครอบงำ เศรษฐกิจญี่ปุ่น /โดย ลงทุนแมน
เคยสงสัยไหมว่า ทำไมประเทศญี่ปุ่น ที่เคยโดนโจมตีด้วยระเบิดนิวเคลียร์ถึง 2 ลูก
ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว
จนสามารถก้าวขึ้นมา เป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด เป็นอันดับ 3 ของโลก
หลายคนอาจมีคำตอบในใจว่า สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ปลุกให้ญี่ปุ่นฟื้นคืนชีพ
แต่นั่นอาจเป็นข้อเท็จจริงเพียงด้านเดียว ของประวัติศาสตร์เท่านั้น
เพราะในความเป็นจริงแล้ว ยังมี “ตัวละครลับ”
ที่เรียกได้ว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของญี่ปุ่น
แล้วตัวละครลับเหล่านั้นเป็นใครบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
เริ่มกันที่ “ตระกูล Mitsui” และ “ตระกูล Sumitomo”
ซึ่งปัจจุบัน ได้ควบรวมกิจการธนาคารกันแล้ว กลายเป็นธนาคาร Sumitomo Mitsui
ทั้ง 2 ตระกูลมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจและการเมืองของญี่ปุ่น มาตั้งแต่สมัยยุคโชกุนโทกูงาวะแล้ว
โดยตระกูล Mitsui ทำธุรกิจค้าผ้าไหม และเป็นตัวแทนเก็บภาษีอากร
ส่วนตระกูล Sumitomo ทำธุรกิจเหมือง และส่งแร่เหล็กให้รัฐบาลนำไปผลิตอาวุธ
ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้น จากระบบโชกุนสู่ยุคการปฏิวัติเมจิ
ซึ่งถือเป็นการปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ของญี่ปุ่น เพื่อให้มีความเจริญทัดเทียมกับชาติตะวันตก ตั้งแต่ระบบการศึกษาไปจนถึงระบบเศรษฐกิจ
โดยมีการก่อตั้งรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ธนาคาร ตลาดหลักทรัพย์ การรถไฟ และการต่อเรือ แต่รัฐบาลไม่สามารถบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สุดท้าย จึงต้องมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ให้เอกชนเข้ามาดูแลธุรกิจเหล่านี้แทน
เรื่องนี้กลับมีความน่าสนใจตรงที่ว่า
กลุ่มทุนของเอกชนที่มีความพร้อม ทั้งในแง่เงินทุนและประสบการณ์ ยังคงเป็น 2 ตระกูลเดิมอย่าง Mitsui และ Sumitomo ที่เคยมีบทบาทสำคัญมาตั้งแต่ในอดีต
แต่จะมีอีก 2 ตระกูล เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในยุคนี้คือ “ตระกูล Mitsubishi” และ “ตระกูล Yasuda”
ซึ่ง 4 ตระกูลที่ว่านี้ ต่างก็เข้ามาซื้อกิจการที่เคยเป็นของรัฐ จนกลายเป็น 4 ตระกูลที่ทรงอิทธิพลต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นก่อนยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เรียกว่ากลุ่ม “ไซบัตสึ”
แม้ว่าตระกูลเหล่านี้จะร่ำรวยมากแค่ไหน
แต่ก็ยังมีเงินทุนไม่เพียงพอ ที่จะครอบครองธุรกิจทั้งหมดได้
อีกทั้งการหาแหล่งเงินทุนจากภายนอกก็ยังมีข้อจำกัด
กลุ่มไซบัตสึจึงเลือกบริหารในลักษณะพีระมิด
โดยจะมีการจัดตั้งบริษัทแม่ขึ้นมาเพื่อถือหุ้นบริษัทลูก ในสัดส่วนที่พอมีอำนาจควบคุมเท่านั้น ซึ่งจะไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทลูก 100%
ทำให้กลุ่มไซบัตสึสามารถระดมทุนได้มากขึ้น เพื่อครอบครองธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ
นอกจากนี้ กลุ่มไซบัตสึยังเป็นกำลังสนับสนุนหลัก ให้กองทัพญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย
เช่น กลุ่ม Mitsubishi ก็เคยเป็นผู้ผลิตเครื่องบินรบซีโร่ เครื่องบินขับไล่ชั้นยอดของญี่ปุ่นในสมัยนั้น
ต่อมาเมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2
สหรัฐอเมริกาต้องการจำกัดอิทธิพลของกลุ่มทุน ที่ให้การสนับสนุนกองทัพญี่ปุ่น
โดยการยึดทรัพย์สิน ปรับโครงสร้างองค์กร และแยกธุรกิจลูกบางแห่งออกมา
แต่ว่าสหรัฐอเมริกาสามารถจำกัดอิทธิพลของไซบัตสึได้แค่บางส่วนเท่านั้น
เพราะอีกฝั่งหนึ่ง สหรัฐอเมริกาก็ต้องต่อสู้กับภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์
สหรัฐอเมริกาจึงเลือกที่จะวางหมากให้ญี่ปุ่นเป็นกำลังหลัก เพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ในเอเชีย
โดยการสร้างอุตสาหกรรมหนัก เพื่อพัฒนาประเทศ และสร้างความกินดีอยู่ดีให้แก่ชาวญี่ปุ่น
ซึ่งผู้เล่นสำคัญ ในการพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก ก็เป็นใครไปไม่ได้ นอกจากกลุ่มไซบัตสึ
ในเวลาต่อมา กลุ่มทุนใหม่ก็ได้เกิดขึ้น มารวมตัวกับกลุ่มทุนใหญ่ที่เหลือรอด
รวมกันเรียกว่า “เคเรตสึ”
ซึ่งประกอบไปด้วยตระกูล Mitsui, Sumitomo และ Mitsubishi
และตระกูลใหม่ที่เพิ่มเข้ามาคือ Fuyo, Sanwa และ Dai-Ichi Kangyo
พอมายุคนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทแม่ และบริษัทลูกได้เปลี่ยนไป
โดยบริษัทต่าง ๆ เริ่มมีการถือหุ้นระหว่างกันลดน้อยลง
แต่มีความสัมพันธ์กันแบบ การทำธุรกิจร่วมกันแทน เช่น การปล่อยเงินกู้ การรับซื้อสินค้าไปขายต่อ หรือแม้แต่การสนับสนุนเทคโนโลยีระหว่างกัน
ซึ่งการร่วมมือกันภายในกลุ่มเคเรตสึในยุคสงครามเย็น ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นสามารถฟื้นตัวหลังยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้อย่างรวดเร็ว
จนเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “Japanese Economic Miracle”
ถึงตรงนี้ เรื่องราวของเคเรตสึก็นับเป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาที่น่าสนใจ
บางครั้งการรวมกลุ่มกันของธุรกิจจนมีขนาดใหญ่ ก็อาจทำให้เกิดความไม่เท่าเทียม และการผูกขาดในบางธุรกิจ
แต่ในอีกมุมหนึ่ง กลุ่มทุนใหญ่เหล่านี้ ก็อาจเป็นเครื่องยนต์ช่วยทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตได้อย่างรวดเร็ว แบบที่รัฐบาลทำเองไม่ได้ เหมือนกรณี เคเรตสึ ของญี่ปุ่น นั่นเอง..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
- https://www.britannica.com/biography/Asano-Soichiro
- https://www.newworldencyclopedia.org/entry/Zaibatsu
- https://corporate.findlaw.com/corporate-governance/zaibatsu-and-keiretsu-
- https://www.investopedia.com/articles/economics/09/japanese-keiretsu.asp
- https://www.smithsonianmag.com/innovation/how-eight-conglomerates-dominate
- https://wkuwire.org/bitstream/20.500.12540/500/1/wku_etd001_cbpm01_000460.pdf
- https://corporatefinanceinstitute.com/resources/knowledge/strategy/keiretsu/
- https://www.academia.edu/49580304/
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.