<ผู้สนับสนุน> รถม้าหายไปไหน

<ผู้สนับสนุน> รถม้าหายไปไหน

21 มี.ค. 2018
<ผู้สนับสนุน>
รถม้าหายไปไหน/ โดย ลงทุนแมน
รู้หรือไม่ว่า ม้าในประเทศสหรัฐอเมริกาในอดีตหายไปกี่ตัว
ปี ค.ศ.1910 มีม้าประมาณ 24 ล้านตัว
ปี ค.ศ.1930 มีม้าประมาณ 18 ล้านตัว
ปี ค.ศ.1960 เหลือม้าเพียง 3 ล้านตัว
ภายในระยะเวลาเพียง 50 ปี ม้าหายไปกว่า 21 ล้านตัว
เพราะอะไร?
ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบัน
เทคโนโลยีมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด
และมีส่วนสำคัญในการดำรงชีวิตของเรา
เรื่องราวการวิวัฒนาการของโมเดลธุรกิจสมัยใหม่
จะมาเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันของเราเป็นยังไง
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
บุคคลที่จุดประกายแนวคิดเรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างพลิกผัน หรือ Disruptive Technologies คือนาย Clayton M. Christensen
Disruptive Technologies มีนิยามสั้นๆ คือ
“เทคโนโลยีที่กระทบต่อการทำมาหากิน ธุรกิจ หรือชีวิตประจำวันของมนุษย์อย่างรุนแรง รวมถึงเปลี่ยนพฤติกรรรมของผู้บริโภค และสร้างแรงสะเทือนไปถึงอุตสาหกรรมอื่นๆ”
จริงๆแล้วการ Disruptive เกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีต
แต่เริ่มเห็นภาพชัดขึ้นเมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม หลังจากนั้นก็เกิดสิ่งประดิษฐ์ขึ้นมากมาย
รถยนต์คันแรกของโลกในปี ค.ศ. 1886 ประดิษฐ์โดยคาร์ล เบนซ์ แต่ก็ยังไม่นับว่าเป็นเทคโนโลยีที่เป็น Disruptive เพราะ มีราคาแพง ผลิตจำนวนน้อยซึ่งเข้าถึงได้ยาก
หลังจากนั้นประมาณ 30 ปี
Ford Model T ปฏิวัติการเดินทางมนุษย์ได้ เพราะสามารถคิดค้นวิธีการผลิตที่ทำให้ราคาถูกลงได้มาก หรือเรียกว่า Assembly Line
การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ สามารถเข้ามาแทนที่รถม้าได้อย่างสิ้นเชิง ซึ่งใครจะไปคิดว่า จุดนี้นับเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ถือว่า Disrupt ประชากรม้าบนโลกนี้
ปัจจุบัน มีอะไรบ้างที่เป็น Disruptive Technologies
และมันได้เปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตของเราไปมากแค่ไหน?
หลายสิบปีที่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นห้องเรียนหรือที่ทำงาน สิ่งที่เราขาดไม่ได้คือ ฟลอปปีดิสก์ หรือ ซีดีรอม เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูลเอกสารต่างๆ
ปัจจุบันเราเก็บสิ่งเหล่านั้นไว้ในอากาศ ผ่านเทคโนโลยี Cloud
และเมื่อต้องการค้นหาข้อมูลเราก็เข้าถึงได้ง่ายกว่าเมื่อก่อนมาก
ตัวอย่างคือ
วิวัฒนาการของสารานุกรม ซึ่งในอดีตที่แพง และเข้าถึงได้ยาก
แต่ตอนนี้สารานุกรมเปลี่ยนมาเป็น Wikipedia หรือสารานุกรมเสรีที่รองรับการใช้งานหลายภาษา มีเนื้อหากว่า 35 ล้านบทความ
การเปลี่ยนแปลงนี้ ความรู้ของเด็กๆทั่วโลกจะไม่ถูกจำกัดอีกต่อไป ซึ่งก็จะส่งผลถึงความเท่าเทียมกันของการศึกษาในที่สุด
นี่เป็นอีกหนึ่งปรากฏการณ์ที่ Disruptive
แล้วในอนาคต มีอะไรอีกที่เปลี่ยนไป?
ในมุมมองของลงทุนแมน การเปลี่ยนแปลงสำคัญที่จะเกิดขึ้นในอนาคตคือเรื่อง “พลังงานและการคมนาคม”
เช่น การนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในชีวิตประจำวัน หรือ การพัฒนาแบตเตอรี่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อมาทดแทนพลังงานจากถ่านหินหรือน้ำมันซึ่งนับวันมีแต่จะหมดไปจากโลก จึงไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันที่เราจะได้เห็นการเพิ่มจำนวนของรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น เช่นเดียวกันกับการที่ยานพาหนะแบบไร้คนขับหรือ Self-Driving car ซึ่งจะเข้ามาเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่ช่วยลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการขับขี่ของคนเรา
สิ่งหนึ่งที่เป็นบทพิสูจน์แนวโน้มเรื่องกระแสดิสรัปทีฟในด้านพลังงานและการคมนาคมได้ดี เห็นได้ชัดจากราคาหุ้นของบริษัท Tesla ที่เติบโตด้วยโมเดลดังกล่าว ส่งผลให้ราคาหุ้นของ Tesla เพิ่มขึ้นมากถึง 7.8 เท่าตลอด 5 ปีที่ผ่านมา
ในขณะที่ General Motor ยักษ์ใหญ่แห่งวงการ แทบไม่มีการเติบโต ในช่วงเวลาเดียวกัน
เรื่องของ “ไลฟ์สไตล์” เป็นอีกหนึ่งอย่างที่ถูกเปลี่ยนไป โดยบางทีเราอาจไม่รู้ตัว
ตัวอย่างง่ายๆ เช่น สมัยก่อนเราดูละครในทีวี ฟังเพลงผ่านเครื่องเล่น MP3 และเล่นเกมส์ตามตู้เกมส์ในห้าง
ปัจจุบันสื่อบันเทิงเหล่านี้ถูกนำเสนอออกมาในรูปแบบออนไลน์มีเดีย
หลายๆ คนอาจจะไม่เคยรู้ว่า ประชากรกว่า 2 เท่าของประเทศไทย หรือประมาณ 120 ล้านคน เป็นสมาชิกของ Netflix ผู้ให้บริการ การเข้าชมรายการทีวี ภาพยนตร์ รวมถึงสารคดีบน Platform เดียวกัน
การปฏิวัติธุรกิจบันเทิงดังกล่าว ส่งผลให้ราคาหุ้นของ Netflix เติบโตมากถึง 56 เท่าตลอด 10 ปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ประสบการณ์ในการรับสื่อก็เป็นเรื่องสำคัญ
ความแปลกใหม่สามารถตอบโจทย์ชีวิตคนในยุคปัจจุบันได้อย่างดีเยี่ยม
หลักฐานสำคัญคือ ความนิยมในการใช้ VR (Virtual Reality)
ในกิจกรรมต่างๆที่หลากหลายมากขึ้น นอกเหนือจากเกม VR แล้ว VR ยังก้าวไกลไปถึงการเป็นตัวช่วยในเลือกซื้อสินค้า นำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับ Smartphone Map เป็น Virtual Home Office รวมถึงในวงการกีฬาก็มีการนำไปใช้เพื่อพัฒนาการฝึกซ้อมได้อีกด้วย
โดยในปี 2020 มูลค่าทางการตลาดของ VR ทั่วโลกถูกคาดการณ์ไว้ที่ 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 1.25 ล้านล้านบาท
กระแสดิสรัปทีฟที่เกิดขึ้นในธุรกิจแขนงต่างๆ นี้ ไม่ใช่กระแสวูบวาบที่จะเกิดขึ้นแล้วจบไป แต่ยิ่งเทคโนโลยีพัฒนาได้เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นแรงผลักดันให้ธุรกิจต่างๆ ต้องเร่งพัฒนาโมเดลธุรกิจของตนเองขึ้นมาเพื่อเป็น “ผู้ชนะ” (Disruptor) และครองความสำเร็จในธุรกิจนั้นๆ
และชัยชนะ ของ Disruptor ก็ย่อมหมายถึงโอกาสสำหรับการลงทุนที่น่าสนใจด้วยเช่นกัน
คำถามสำคัญคือ
จะดีกว่าไหม ถ้าเรามีโอกาสลงทุนกับบริษัท Disruptor เหล่านี้โดยมีทีมงานมืออาชีพคอยดูแล
แล้วมีกองทุนอะไรบ้างที่ลงทุนในบริษัท Disruptor เหล่านี้?
เมื่อเร็วๆ นี้ มีการเปิดตัวกองทุนที่ไปสู่โอกาสการลงทุนกับกระแสดิสรัปทีฟ
นั่นคือ กองทุนเปิด แอสเซทพลัส ดิสรัปทีฟ ออพพอร์ทูนิตี้ส์ (ASP-DISRUPT)
ซึ่งแนวทางการลงทุนน่าสนใจ โดยนโยบายการลงทุนจะเน้นไปที่การลงทุนในหุ้นของบริษัททั่วโลกที่ได้ประโยชน์จากกระแสดิสรัปทีฟ และครอบคลุม 3 กลุ่มธุรกิจหลัก คือ
ธุรกิจพลังงานและการคมนาคมขนส่งแห่งอนาคต จะเน้นการลงทุนในเทคโนโลยีการกักเก็บพลังงานสมัยใหม่ พลังงานสะอาด รถยนต์ไฟฟ้า การพัฒนายานยนต์แบบไร้คนขับ
ธุรกิจที่เกี่ยวกับกระแสดิสรัปทีฟในเชิงไลฟ์สไตล์ ทั้งสื่อบันเทิง นวัตกรรมทางการแพทย์และการดูแลสุขภาพ รวมไปถึงการศึกษา ฯลฯ
นอกจากนี้ ยังลงทุนครอบคลุมไปถึงธุรกิจเกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ซึ่งเป็นอีกกลุ่มธุรกิจที่มีกระแสดิสรัปทีฟโดดเด่น
กองทุนนี้เป็นกองทุนหุ้น สไตล์การบริหารเป็นเชิงรุก (Active Fund) เน้นการผสมผสานทั้งการลงทุนตรงในหุ้น ลงทุนผ่าน ETF และลงทุนผ่านกองทุนรวมในต่างประเทศ โดยสัดส่วนการลงทุนในเบื้องต้นจะแบ่งออกเป็น
1. การลงทุนในกองทุน Active Fund ในต่างประเทศประมาณ 0 - 40%
ซึ่งจะเน้นการลงทุนในกองทุน AXA World Funds Framlington Digital Economy เพื่อครอบคลุมธีมที่เกี่ยวข้องกับ Digital Economy โดยกองทุนนี้ที่มีผลตอบแทน 11.26% ใน 3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (MSCI AC World Net Total Return) ที่ให้ผลตอบแทนเพียง 2.84% (ที่มา: AXA Investment Managers ณ 28 ก.พ. 2561)
2. การลงทุนในกองทุน ETF หรือกองทุนเปิดที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ 0 - 30%
โดยมีตัวอย่างผลการดำเนินงานของ ETF ที่คาดว่าจะลงทุน เช่น
The Global X Lithium & Battery Tech (LIT)
The Global X FinTech ETF (FINX)
ซึ่งในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา มีผลตอบแทน 36% และ 45% ตามลำดับ
3. การลงทุนโดยตรงในตราสารทุน 0 - 30%
โดยจะเน้นการลงทุนในบริษัทชั้นนำทั่วโลกที่มีศักยภาพในการเติบโตเป็น Disruptor ในอนาคต
เช่น Tesla GEELY Amazon NVIDIA Alibaba Netflix หรือ TENCENT
หากพูดกันในแง่ของสัดส่วนย่อยตามกลุ่มอุตสาหกรรม
ในเบื้องต้น ASP-DISRUPT จะเน้นน้ำหนักไปที่ธุรกิจกลุ่ม เศรษฐกิจดิจิทัล ร้อยละ 50 ของมูลค่าโครงการ และที่เหลือจะนำไปลงทุนในกลุ่มพลังงาน อุตสาหกรรมรถยนต์ และไลฟ์สไตล์ในสัดส่วนที่เท่าๆ กัน
กองทุนนี้เหมาะกับใคร
กองทุน ASP-DISRUPT เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนระยะกลางถึงระยะยาวในกลุ่มอุตสาหกรรม เศรษฐกิจดิจิทัล รถยนต์ และ ธุรกิจบันเทิงในตลาดต่างประเทศ ที่มีแนวโน้มการเติบโตสูง และมีแนวคิดของธุรกิจที่เป็น Disruptive Innovation
ในแง่ความเสี่ยง กองทุนมีระดับความเสี่ยงสูงที่ระดับ 6 ซึ่งเป็นความเสี่ยงในกลุ่มกองทุนหุ้น โดยทั่วไป และมีมีปัจจัยเสี่ยงจากการลงทุนในต่างประเทศ จำพวกข้อจำกัดการนำเงินลงทุนกลับประเทศเนื่องจากร้อยละ 80 ของเงินลงทุนเป็นการลงทุนในตลาดต่างประเทศ ความเสี่ยงด้านการเมือง และความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งกองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
ปรัชญาการลงทุนหลักของกองทุนนี้คือ
การวิเคราะห์จากพื้นฐานเป็นปัจจัยโดยมีสมมุติฐานที่ว่า ตลาดปัจจุบันยังไม่ได้สะท้อนราคาที่แท้จริงของบริษัทเหล่านี้ รวมถึง การกระจายการลงทุนเพื่อลดความผันผวนของผลการดำเนินงานในช่วงวิกฤต
กองทุน ASP-DISRUPT จึงถือเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่มองเห็นโอกาสจากกระแสดิสรัปทีฟ ซึ่งถ้าหากสนใจเป็นผู้ลงทุนและมั่นใจในกองทุนนี้ ก็สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แอสเซท พลัส จำกัด ติดต่อ Asset Plus Customer Care 0 2672 1111 หรือศึกษาข้อมูลทาง https://www.assetfund.co.th/ASP-DISRUPT_AD.html
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า(กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลงานในอนาคต กองทุนมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจเกิดขึ้นกับการลงทุนในต่างประเทศ กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ทั้งนี้ เนื่องจากมิได้ป้องกันความเสี่ยงทั้งจำนวน ผู้ลงทุนจึงอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.