ปตท. รุกเข้าสู่ “Life Science” ธุรกิจผลิตยาและสุขภาพ ครบวงจร

ปตท. รุกเข้าสู่ “Life Science” ธุรกิจผลิตยาและสุขภาพ ครบวงจร

26 พ.ย. 2021
ปตท. รุกเข้าสู่ “Life Science” ธุรกิจผลิตยาและสุขภาพ ครบวงจร
ปตท. x ลงทุนแมน
ตั้งแต่ ปตท. ได้ดำเนินธุรกิจมา บริษัทก็ได้มีการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน
ทั้งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติมาอย่างต่อเนื่อง
แต่จากพฤติกรรมการใช้พลังงานของประชากรทั่วโลกที่มีแนวโน้มกำลังจะเปลี่ยนไปก็ได้ทำให้ปัจจุบัน บริษัทได้มองไปยังโอกาสในการเติบโตในธุรกิจใหม่
หนึ่งในนั้นก็คือกลุ่ม “Life Science” หรือก็คือกลุ่มธุรกิจในอุตสาหกรรมยาและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
แล้ว ปตท. เห็นโอกาสอะไรในธุรกิจกลุ่มนี้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราน่าจะเริ่มเห็นสัญญาณของบริษัทขนาดใหญ่ที่เริ่มมีการเข้าซื้อกิจการหรือการเข้าไปลงทุนในธุรกิจ
ตัวอย่างดีลทั้งหมดที่กล่าวมา ล้วนแล้วแต่เป็นการลงทุนเพื่อสร้างการเติบโตและสร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจในอนาคตทั้งสิ้น
และหากเรามามองที่กลุ่ม ปตท. บริษัทพลังงานแห่งชาติ ก็ได้มีการวางกลยุทธ์การเติบโตในระยะยาว เช่นกัน
กับธุรกิจที่จะเข้ามา “สร้างโอกาสใหม่” ให้กับบริษัท เรียกว่ากลุ่มธุรกิจ New S-Curve
สำหรับการหาช่องทางรายได้ใหม่นั้น นอกจากจะเน้นไปที่การต่อยอดธุรกิจพลังงานเดิมให้ใหญ่ขึ้น เช่น การผันตัวไปเป็นผู้จัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติระดับภูมิภาค หรือ Regional LNG Hub หรือการเข้าไปสร้างโอกาสในกลุ่มธุรกิจ Future Energy
แต่กลุ่ม ปตท. ก็ยังมีอีกกลยุทธ์ คือ “การจัดตั้งกลุ่มธุรกิจใหม่” ที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจพลังงานเลย จากการที่เล็งเห็นถึงโอกาสและศักยภาพที่จะเติบโตไปได้อีกมากในอนาคต
หนึ่งในนั้นก็คือกลุ่มธุรกิจ “Life Science” หรือ “วิทยาศาสตร์ชีวภาพ”
ที่จะเป็น New S-Curve ของ ปตท. โดยได้โฟกัสการลงทุนใน 4 กลุ่ม ได้แก่
1) ธุรกิจยา
จะเน้นไปที่การพัฒนา “ยาชีววัตถุ” ซึ่งทาง ปตท. มองว่ายาในกลุ่มนี้จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในอนาคต เพราะจริงอยู่ว่ายาเคมีแม้จะรักษาได้และเห็นผลเร็ว แต่ยาเคมีก็จะมีผลข้างเคียงที่มากกว่า เมื่อเทียบกับยาชีววัตถุ
จุดนี้เอง ก็ได้เป็นเหตุผลสนับสนุนที่ทำให้ยาชีววัตถุมีแนวโน้มจะเป็นวิวัฒนาการทางการแพทย์ในอีกหลายปีข้างหน้าและจะช่วยให้แพทย์รักษาคนไข้ได้ตรงจุดมากกว่ายาที่เรานิยมใช้กันในปัจจุบัน
โดยการลงทุนของ ปตท. จะเน้นไปยังกลุ่มยารักษาโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคมะเร็ง
ซึ่งเป็นโรคที่คร่าชีวิตผู้ป่วยในอัตราที่สูงและเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย
สำหรับความเชี่ยวชาญในการวิจัยพัฒนาโรคมะเร็งนั้น
ทางบริษัทก็ได้มีการเข้าไปลงทุนใน Lotus Pharmaceutical
บริษัทวิจัยพัฒนายารักษาโรคมะเร็ง ที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน
การลงทุนครั้งนี้ นับเป็นใบเบิกทางให้ ปตท. เข้าถึงเทคโนโลยีการผลิตยาจากบริษัทชั้นนำ ซึ่งก็จะทำให้ทั้ง 2 บริษัท มี Synergy ทางธุรกิจร่วมกันได้ในอนาคต
นอกจากนี้ กลุ่ม ปตท. ก็ได้มีการร่วมมือกับองค์การเภสัชกรรมเพื่อจัดตั้งโรงงานผลิตยารักษามะเร็งแห่งแรกของไทย ที่นิคมอุตสาหกรรมวนารมย์ อ.บ้านฉาง จังหวัดระยอง
2) ธุรกิจอาหารสุขภาพ โภชนาการ
สำหรับธุรกิจกลุ่มนี้ กลุ่ม ปตท. ได้มองไปยังการลงทุนวิจัยพัฒนาอาหารที่มีคุณค่าและสามารถสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย มากกว่าการลงทุนในธุรกิจอาหารเสริม
โดยทางบริษัทก็ได้ระบุว่าคอนเซปต์ของธุรกิจจะเป็นการศึกษาและวิจัยพัฒนาในเชิงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหลัก ซึ่งจะเน้นไปที่การพัฒนาอาหารให้มีคุณค่าต่อหน่วยบริโภคเพิ่มขึ้น
เช่น อาหารเพื่อสุขภาพ ที่สามารถลดการเกิดโรคแก่ผู้บริโภคได้
3) ธุรกิจอุปกรณ์และวัสดุทางการแพทย์
ก่อนหน้านี้ ประเทศไทยเรียกได้ว่าจำเป็นต้องนำเข้าอุปกรณ์และวัสดุทางการแพทย์จำนวนมาก
ทำให้ กลุ่ม ปตท. มองว่าจริง ๆ แล้ว ประเทศไทยเอง ก็มีศักยภาพในการต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่เดิมทีผลิตอยู่แล้ว ไปสร้างมูลค่าเพิ่ม
จุดนี้เอง กลุ่ม ปตท. จึงได้มีการร่วมมือกับผู้นำธุรกิจปิโตรเคมีในประเทศไทย ได้แก่
- บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC
ซึ่งกลุ่มบริษัท ก็จะร่วมมือกันต่อยอดวัตถุดิบเดิมให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์
เช่น ผ้า Melt Blown ซึ่งมีวัตถุดิบเป็นเม็ดพลาสติกโพรพิลีน
การผลิตยางสังเคราะห์ NBL หรือไนไทรล์บิวทาไดอีนลาเท็กซ์ ที่เป็นวัตถุดิบตั้งต้นของถุงมือยาง
4) ธุรกิจระบบวินิจฉัยโรค
ธุรกิจระบบวินิจฉัยโรคจะเน้นไปที่การร่วมมือกับสตาร์ตอัป
เพื่อร่วมกันวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมทางการแพทย์
โดยทั้ง 4 ธุรกิจที่ถูกจัดอยู่ในกลยุทธ์การเติบโตระยะยาวในกลุ่ม “Life Science”
จะขับเคลื่อนโดยบริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด ที่กลุ่ม ปตท. ได้จัดตั้งขึ้น
โดยทางบริษัทก็ได้คาดการณ์ว่าช่องทางรายได้ใหม่จากกลุ่มธุรกิจ Life Science จะเข้ามาสร้างรายได้เป็นสัดส่วน ราว 10 ถึง 20% ในธุรกิจ New S-Curve ของ ปตท. เลยทีเดียว
จากเทรนด์การลงทุนและการเข้าซื้อกิจการของบริษัทยักษ์ใหญ่ชั่วโมงนี้
สะท้อนให้เห็นถึงภาพของการต่อยอดทั้งธุรกิจเดิมให้แข็งแกร่งขึ้น
รวมไปถึงการลงทุนเพื่อแสวงหาโอกาส การเติบโตใหม่ ๆ นอกเหนือจากธุรกิจดั้งเดิมของบริษัท
สำหรับ ปตท. หนึ่งในบริษัทใหญ่ของประเทศไทย ก็ได้วางหนึ่งในกลยุทธ์การลงทุน
ไปที่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมทางการแพทย์และสุขภาพ หรือ “Life Science” เพื่อแสวงหาโอกาสการลงทุนทางธุรกิจใหม่ ๆ
นอกจากในมุมของบริษัทแล้ว การรุกเข้าสู่การเป็นผู้ผลิตยาและนวัตกรรมทางการแพทย์ของ ปตท. ก็เรียกได้ว่าเป็นการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ
ให้เปลี่ยนจากเดิมที่ประเทศไทยเป็นเพียงแต่ผู้นำเข้า
กลายมาเป็นผู้ที่สามารถผลิตเองได้อย่างมีมาตรฐาน
ผลิตเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของประชากรในประเทศ
รวมถึงให้เราสามารถส่งออกเพื่อไปแข่งขันกับต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นเอง..
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.