“Economic Moat” แนวคิดป้อมปราการธุรกิจ ของวอร์เรน บัฟเฟตต์

“Economic Moat” แนวคิดป้อมปราการธุรกิจ ของวอร์เรน บัฟเฟตต์

29 ม.ค. 2023
“Economic Moat” แนวคิดป้อมปราการธุรกิจ ของวอร์เรน บัฟเฟตต์ /โดย ลงทุนแมน
ความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจ ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยให้ธุรกิจนั้นเติบโต และประสบความสำเร็จ
ซึ่ง “วอร์เรน บัฟเฟตต์” นักลงทุนชื่อดังของโลก ได้กล่าวถึงความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจว่า ต้องดูกันที่ธุรกิจมี “Economic Moat” หรือ “คูเมืองทางเศรษฐกิจ” แข็งแกร่งหรือไม่
แล้ว Economic Moat คืออะไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
Economic Moat เปรียบเหมือนปราการที่เป็นคูน้ำล้อมรอบปราสาท ทำหน้าที่ป้องกันปราสาท จากการบุกรุกของศัตรู เหมือนกับสิ่งที่ปกป้องธุรกิจจากคู่แข่ง ให้เข้ามาแข่งขันด้วยยาก
เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น เราลองมาดูตัวอย่างของ Economic Moat ของธุรกิจกันว่ามีอะไรบ้าง
1. ความได้เปรียบด้านต้นทุน (Cost Advantage)
ธุรกิจที่มีต้นทุนต่ำกว่าคู่แข่ง เกิดมาจากหลายปัจจัย อย่างเช่น
- มีอำนาจต่อรองกับซัปพลายเออร์
- มีธุรกิจอยู่ในต้นน้ำและปลายน้ำของอุตสาหกรรม
- มีประสิทธิภาพในการผลิตที่เหนือกว่าคู่แข่ง
ซึ่งหากมีความได้เปรียบเรื่องต้นทุน ก็จะทำให้ธุรกิจมีอัตรากำไรสูงกว่าคู่แข่ง หรือหากมีสงครามราคาในอุตสาหกรรมเกิดขึ้น ธุรกิจก็ยังมีความได้เปรียบ โดยสามารถลดราคาลงมาสู้กับคู่แข่งได้อีกด้วย
2. ความได้เปรียบด้านขนาด (Size Advantage)
ธุรกิจที่มีขนาดใหญ่จะมีความได้เปรียบ ด้านการประหยัดต่อขนาด หรือ Economies of Scale หมายความว่า เมื่อธุรกิจผลิตสินค้าหรือบริการได้มากขึ้น ก็จะทำให้ต้นทุนต่อหน่วย ต่ำกว่าคู่แข่ง
สมมติว่า ถ้าเราทำธุรกิจร้านสะดวกซื้อ และมีงบค่าโฆษณาต่อปี 10,000,000 บาท
หากร้านสะดวกซื้อมีจำนวน 100 สาขา หมายความว่า ค่าโฆษณาต่อสาขาจะเท่ากับ 100,000 บาท
แต่ถ้าร้านสะดวกซื้อมีจำนวน 1,000 สาขา หมายความว่า ค่าโฆษณาต่อสาขาจะเท่ากับ 10,000 บาทเท่านั้นเอง
3. ความได้เปรียบด้านสินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Advantage)
หลายครั้งความได้เปรียบทางธุรกิจก็อาจมาจากสินทรัพย์ไม่มีตัวตน อย่างเช่น
- สิทธิบัตร และใบอนุญาตต่าง ๆ
- ความจงรักภักดีต่อแบรนด์ของลูกค้า
- ความสามารถของผู้บริหารและพนักงาน
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ก็คงต้องนึกถึง Louis Vuitton ที่มีการสร้างการรับรู้ในแบรนด์ได้อย่างยอดเยี่ยม จนเป็นแบรนด์หรูแบรนด์แรก ๆ ที่ผู้บริโภคนึกถึง
4. ต้นทุนของผู้บริโภคในการเปลี่ยนไปใช้สินค้าและบริการอื่นมีสูง (High Switching Costs)
การที่ผู้บริโภคมีต้นทุนในการเปลี่ยนไปใช้สินค้าหรือบริการของคู่แข่งสูง ทำให้ผู้บริโภคไม่อยากเปลี่ยนไปใช้แบรนด์อื่น ซึ่งอาจเกิดจาก
- รู้สึกว่าการดำเนินการยุ่งยาก
- ไม่อยากเปลี่ยนพฤติกรรมที่คุ้นเคยอยู่แล้ว
ตัวอย่างเช่น แอปพลิเคชันสื่อสารและโซเชียลมีเดียอย่าง เฟซบุ๊ก และไลน์ ที่มีคนจำนวนมากใช้งาน จนเกิดเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “Network Effect” จนทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ ไม่เปลี่ยนไปใช้แอปพลิเคชันอื่น ๆ
หรืออย่างกรณีของ Microsoft Office ก็ถือว่ามี Switching Cost ที่สูง เพราะคนส่วนมากมักใช้โปรแกรมนี้ในการทำงาน
ดังนั้น การที่จะย้ายไปใช้โปรแกรมอื่น ก็อาจทำให้ประสบกับความยุ่งยากในการทำงานเช่นกัน
สุดท้ายแล้ว หากเรากำลังมองหาธุรกิจที่จะลงทุน ก็ควรตรวจสอบว่า ธุรกิจนั้นมี Economic Moat เป็นอย่างไรบ้าง
ซึ่งหากธุรกิจนั้นไม่มี Economic Moat ก็คงยากที่จะอยู่รอดได้ในระยะยาว..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.investopedia.com/ask/answers/05/economicmoat.asp
-https://www.morningstar.com/invglossary/economic_moat.aspx
-https://www.wallstreetprep.com/knowledge/economic-moat/
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.