แค่ 6 เดือน ทำไม KBank โตระเบิดได้ ในโลกการเงินดิจิทัล

แค่ 6 เดือน ทำไม KBank โตระเบิดได้ ในโลกการเงินดิจิทัล

22 มี.ค. 2023
แค่ 6 เดือน ทำไม KBank โตระเบิดได้ ในโลกการเงินดิจิทัล
KBank X ลงทุนแมน
ในช่วงที่ผ่านมา มีธนาคารไทยแห่งหนึ่งที่สร้างการเติบโตได้อย่างน่าเหลือเชื่อ
เมื่อมีจำนวนผู้ใช้ Application เพิ่มขึ้น 2 ล้านคน
และมียอดเงินธุรกรรมผ่าน Application สูงถึง 10 ล้านล้านบาท
ธนาคารที่เรากำลังพูดถึงคือ ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBank
โดยเมื่อ 6 เดือนที่แล้ว ได้ประกาศกลยุทธ์การผสานความเป็น “ชาเลนเจอร์แบงก์” เข้ามาในองค์กร หรือการเป็นธนาคารที่รวบรวมสุดยอดเทคโนโลยีทางการเงิน มาทำลายข้อจำกัดต่าง ๆ ทั้งในการทำธุรกิจ จนถึงบริการลูกค้า
ผลประโยชน์ก็ตกมาทั้ง 2 ฝ่าย คือ KBank สร้างการเติบโตแบบติดจรวดบนโลกการเงินดิจิทัล
ส่วนทางฝั่งลูกค้า ก็มีโอกาสเข้าถึงบริการของธนาคารได้สะดวกสบาย ทุกที่ ทุกเวลา
อีกทั้งยังขยายโอกาสไปยังลูกค้าที่ไม่เคยใช้บริการของธนาคาร ให้สามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ ๆ ง่ายขึ้น
ทำไม “ชาเลนเจอร์แบงก์” ถึงสร้างพลังได้อย่างมหาศาลในโลกการเงินดิจิทัล ?
จนทำให้ KBank เติบโตอย่างรวดเร็วในเวลา 6 เดือน
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ย้อนกลับไปเดือนกรกฎาคม ปีที่แล้ว KBank ได้เริ่มเดินหน้าเชิงกลยุทธ์ ในการผสานเอาดีเอ็นเอของ “ชาเลนเจอร์แบงก์” เข้ามาในแก่นขององค์กร
เพราะมองว่า เวลานี้ ธุรกิจการเงินไม่ได้จำกัดแค่ “ธนาคาร” อีกต่อไปเหมือนในอดีต
ดังจะเห็นได้ในหลายประเทศ เมื่อมีบริษัทที่ไม่เคยทำธุรกิจการเงินกระโดดเข้ามา และใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน ซึ่งเป็นเหมือนการ Disrupt ธุรกิจธนาคารแบบดั้งเดิม
KBank มองไปในอนาคตข้างหน้า และได้เริ่มยกระดับตัวเองในหลายมิติ ทั้ง Mindset ของพนักงาน จนถึงรวบรวมสุดยอดเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจของตัวเอง
ทำให้ KBank ตัดสินใจใช้งบประมาณลงทุนด้านเทคโนโลยีสูงถึง 22,000 ล้านบาท ในช่วงปี 2565-2567
แล้วการลงทุนครั้งนี้ เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ?
เรื่องที่ใกล้ตัวเรามากที่สุดก็คือ แอป K PLUS
ที่มีความเสถียรสูง ใช้งานได้อย่างลื่นไหล มาพร้อมสารพัดฟีเชอร์การใช้งานมากมาย จนทำให้เกิดกระแสบอกต่ออย่างกว้างขวาง
พร้อมสร้างฐานลูกค้าใหม่ ๆ ให้แก่ธนาคารอย่างรวดเร็ว
รู้หรือไม่ ในปี 2565 มีผู้ใช้งาน Application K PLUS เพิ่มขึ้น 2 ล้านคน
และมีมากกว่า 1 ล้านคน ที่เป็น User รายใหม่ ที่เพิ่งใช้บริการของธนาคารกสิกรไทยเป็นครั้งแรก
จนสร้างสถิติธุรกรรมการเงินใหม่ ๆ ให้แก่ตัวเองและธนาคารพาณิชย์เมืองไทย
- ธุรกรรมการเงินต่าง ๆ ของทาง KBank เป็นธุรกรรมที่ทำผ่านระบบออนไลน์ถึง 98%
- มียอดเงินการทำธุรกรรมผ่าน K PLUS แตะ 10 ล้านล้านบาท
- มีจำนวนธุรกรรมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประมาณ 1 ล้านรายการต่อชั่วโมง
การสวมบทบาท “ชาเลนเจอร์แบงก์” ไม่ได้สร้างประโยชน์แค่ลูกค้าอย่างเดียว
แต่ยังสร้าง ความแข็งแกร่ง ไปยังระบบเศรษฐกิจไทย อย่างที่เราอาจไม่เคยรู้มาก่อน
เรื่องแรกที่ถูกใจกลุ่มธุรกิจ SME ที่ทำธุรกิจระหว่างประเทศ
คือการที่ KBank เป็นธนาคารเดียวในเมืองไทย ที่ไม่หักค่าธรรมเนียมการโอนจากธนาคารตัวกลาง
สำหรับการโอนเงินจากประเทศไทย ไปยัง 32 ประเทศคู่ค้า
จึงช่วยให้ ผู้ประกอบการไทย และธุรกิจ SME มีต้นทุนการเงินที่ต่ำลง จากนโยบายนี้
หรือการสร้าง Impact ที่ทำลายข้อจำกัดการปล่อยสินเชื่อในอดีต..
เมื่อคนทำงานฟรีแลนซ์ หรือคนทำงานไม่มีเงินเดือนประจำ จนถึงคนค้าขายตามตลาดนัด ร้านค้าขนาดเล็กต่าง ๆ
ที่จากผลสำรวจพบว่า มีถึงราว ๆ 30 ล้านคน ที่ในอดีตไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อธนาคารพาณิชย์
และเมื่อต้องใช้เงินด่วน ก็มักจะไปพึ่งพาเงินกู้นอกระบบ ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง และมักมีการทวงหนี้รุนแรง
KBank มองเห็นและเข้าใจแบบ Insight ในปัญหาเหล่านี้
จึงตัดสินใจร่วมมือกับ LINE เปิดบริการ LINE BK ธนาคารออนไลน์บนแอปโซเชียลมีเดีย
ที่ในมุมคนใช้งานทั่วไปคือ สามารถโอน-จ่าย ผ่านทางแช็ตไลน์ ที่แสนสะดวกได้แล้วนั้น
แต่ฟังก์ชันที่มาช่วยแก้ปัญหาหนี้นอกระบบก็คือ บริการสินเชื่อ
ที่ผู้ขอสินเชื่อไม่ต้องใช้เอกสารอะไรเลย โดยเฉพาะสลิปเงินเดือน เมื่อทาง LINE BK มีเทคโนโลยี AI ช่วยประเมินผู้ขอสินเชื่อ
พูดง่าย ๆ ว่า เป็นการช่วยให้คนกลุ่มนี้เข้าสู่ระบบธนาคาร และสร้างประวัติเครดิตการเงินในระบบให้แก่ผู้ขอสินเชื่อ
ที่สำคัญ เมื่ออนุมัติแล้วได้เงินทันที..
ทำให้ พนักงานที่ไม่มีเงินเดือนประจำ นำเงินไปแก้ปัญหาในชีวิตได้ทันเวลา
ส่วนผู้ประกอบการรายเล็ก ๆ ก็สามารถนำเงินไปต่อยอดขยายธุรกิจให้เติบโต
โดยไม่ต้องเผชิญกับสินเชื่อนอกระบบ ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง จนถึงการทวงหนี้ที่รุนแรง
เมื่อ LINE BK มาแก้ Pain Point ได้ตรงจุดสมบูรณ์แบบ ทำให้เมื่อเปิดบริการในช่วงกลางปีที่แล้ว จึงได้รับกระแสนิยมเกินคาด
โดยสิ้นปี 2565 มียอดสินเชื่อปล่อยกู้ผ่านกว่า 18,000 ล้านบาท
และมีจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มกว่า 1.4 ล้านคน
หากมองให้ลึกถึงแก่นแท้ กลยุทธ์ “ชาเลนเจอร์แบงก์” ก็คือ การ Disrupt ธุรกิจแบบเดิม ๆ ของธนาคาร จากโลกการเงิน Analog ที่ใช้ทำธุรกิจมายาวนาน ปรับเปลี่ยนมาสู่โลกการเงินดิจิทัล
ซึ่งธนาคารพาณิชย์รายอื่น ๆ ก็ต่าง Disrupt ตัวเองกันเกือบทั้งหมด
เพียงแต่ “ชาเลนเจอร์แบงก์” ของ KBank อาจจะแตกต่างกว่ารายอื่น ๆ
ตรงที่มันเป็นการ Disrupt ตัวเอง พร้อมสร้างประโยชน์ให้หลาย ๆ ฝ่ายที่อยู่ในวงจรธุรกิจตัวเอง
- ลูกค้า ที่เข้าถึงบริการทางการเงินต่าง ๆ ได้ง่าย สะดวกสบาย
- ระบบเศรษฐกิจไทย ที่แข็งแกร่งขึ้นกว่าเดิม จากการปล่อยสินเชื่อให้ผู้ประกอบการรายเล็ก ๆ ที่ในอดีตไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้
ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้ ก็เพราะมีเทคโนโลยีขั้นสูง มาทำลายข้อจำกัดในอดีต
และเมื่อทุกอย่างรอบข้างมันเติบโต..
KBank ก็จะเติบโตตามไปด้วย นั่นเอง
References
-ข่าวประชาสัมพันธ์ ธนาคารกสิกรไทย
-https://brandinside.asia/k-plus-the-8scape-mini-series/
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.