ผู้สนับสนุน.. LTF และ RMF ใหม่ จาก บลจ. กรุงศรี

ผู้สนับสนุน.. LTF และ RMF ใหม่ จาก บลจ. กรุงศรี

13 พ.ย. 2018
ผู้สนับสนุน..
LTF และ RMF ใหม่ จาก บลจ. กรุงศรี / โดย ลงทุนแมน
ช่วงปลายปีมักจะเป็นเวลาที่หลายคนนิยมซื้อ
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) และ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
เพื่อนำมาลดหย่อนภาษีประจำปี
ซึ่งการซื้อกองทุน LTF และ RMF นอกจากผลประโยชน์ในเรื่องของการช่วยลดหย่อนภาษีแล้ว ยังถือเป็นการลงทุนเพื่อโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่มากกว่าการฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ไว้เฉยๆ
เมื่อเป็นแบบนี้ จึงถือเป็นทางเลือกในการลงทุนของหลายๆ คน และทำให้กองทุนทั้ง 2 แบบ ได้รับความนิยมและเติบโตขึ้นทุกปี
โดยถ้าดูจากมูลค่าทรัพย์สินของกองทุน LTF และ RMF ทั้งหมดในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน LTF
ปี 2558 มีมูลค่า 2.77 แสนล้านบาท
ปี 2559 มีมูลค่า 3.37 แสนล้านบาท
ปี 2560 มีมูลค่า 3.97 แสนล้านบาท
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน RMF
ปี 2558 มีมูลค่า 1.78 แสนล้านบาท
ปี 2559 มีมูลค่า 2.12 แสนล้านบาท
ปี 2560 มีมูลค่า 2.51 แสนล้านบาท
*ข้อมูล ณ สิ้นปี จากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน
เราจะเห็นได้ว่ามูลค่าทรัพย์สินสุทธิของทั้ง 2 กองทุนเพิ่มขึ้นทุกปี
แต่ด้วยระเบียบของการซื้อกองทุน LTF และ RMF ที่เราจะต้องถือหน่วยลงทุนระยะยาวหลายปี การดูนโยบายการลงทุนของแต่ละกองทุน จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญต่อการตัดสินใจ
ตัวอย่างเช่น ถ้าใครที่อยากได้แบบผลตอบแทนในหุ้นที่มีศักยภาพ โดยไม่กำหนดว่าจะเป็น ขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือ ขนาดใหญ่ ก็อาจจะเลือกเป็นกองทุนที่มีนโยบายเปิดกว้าง ลงทุนหุ้นได้ทุกกลุ่ม ซึ่งผู้จัดการกองทุนสามารถวิเคราะห์ และหาหุ้นที่มีศักยภาพให้เราได้
หรือถ้าเป็น RMF ที่จะมีให้เลือกหลากหลายนโยบายมากกว่า เราก็สามารถเลือกกองทุนที่ลงทุนในหุ้น หรือตราสารหนี้ หรือลงทุนต่างประเทศเลยก็ได้ โดยเราอาจจะมองหากองทุนที่ลงทุนในประเทศที่คาดว่าจะมีการเติบโตดี
ทางบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงศรี (บลจ.กรุงศรี) เล็งเห็นถึงความต้องการที่หลากหลาย จึงได้ออกกองทุน LTF และ RMF กองใหม่มานำเสนอทั้งหมด 5 กองทุน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่แตกต่างกัน
ซึ่งทั้ง 5 กองทุนนี้มาจากกองทุนที่ได้รับความนิยม แล้วนำนโยบายนั้นมาเปิดเป็น กองทุน LTF และ RMF เพื่อตอบโจทย์ผู้ลงทุนที่ต้องการลดหย่อนภาษีด้วย
1. กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นระยะยาวไดนามิค - ปันผล (KFLTFDNM-D)
2. กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นไดนามิคเพื่อการเลี้ยงชีพ (KFDNMRMF)
3. กองทุนเปิดกรุงศรีชีวิตดีเว่อร์เพื่อการเลี้ยงชีพ (KFGOODRMF)
4. กองทุนเปิดกรุงศรีแอคทีฟตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (KFAFIXRMF)
5. กองทุนเปิดกรุงศรีอินเดียอิควิตี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (KFINDIARMF)
ลงทุนแมนจะพาไปดูนโยบายของแต่ละกองทุนกัน
KFLTFDNM-D และ KFDNMRMF
ทั้งสองกองทุนมีความเสี่ยงอยู่ในระดับ 6 - สูง
กองทุน 2 กองนี้ เหมือนเป็นคู่แฝดลดหย่อนภาษี เพราะมีนโยบายการลงทุนแบบเดียวกัน แต่แค่จัดอยู่คนละประเภท เพื่อตอบโจทย์คนที่ชอบนโยบายนี้ สามารถเลือกซื้อได้ทั้ง 2 แบบ
ซึ่งกองทุน KFLTFDNM-D และ KFDNMRMF มีการลงทุนแบบเดียวกับ กองทุน KFDYNAMIC: Krungsri Dynamic Fund
โดยกองทุนกลุ่มที่มีชื่อ Dynamic มีจุดเด่นอยู่ที่หุ้นทั้งหมดในพอร์ตประมาณ 20 ตัวเท่านั้น เรียกได้ว่าผู้จัดการกองทุนจะลงทุนเน้นๆ ในหุ้นที่คัดเลือกมาแล้วว่าคุณภาพดีและมีโอกาสเติบโต โดยลงทุนได้ทั้งหุ้นเติบโต หุ้นขนาดใหญ่ หุ้นขนาดกลาง หุ้นขนาดเล็ก และหุ้นปันผล ทั้งใน SET และ MAI
กองทุนถือว่ามีความเสี่ยงสูง จากความผันผวนของราคาหุ้น และเมื่อดูผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุน KFDYNAMIC จะพบว่าให้ผลตอบแทนที่ดี
5 ปีย้อนหลัง ผลตอบแทน 12.52% ต่อปี (ผลตอบแทนรวมของ SET คือ 7.05%)
3 ปีย้อนหลัง ผลตอบแทน 18.94% ต่อปี (ผลตอบแทนรวมของ SET คือ 9.60%)
1 ปีย้อนหลัง ผลตอบแทน 9.79% ต่อปี (ผลตอบแทนรวมของ SET คือ 9.60%)
*ข้อมูล ณ วันที่ 31 ส.ค. 61 จากบลจ.กรุงศรี
กองทุน KFLTFDNM-D มีนโยบายการจ่ายปันผล ส่วนกองทุน KFDNMRMF ไม่มีนโยบายจ่ายปันผล เช่นเดียวกับ RMF ทุกกองทุน
KFGOODRMF
กองทุนที่มีความเสี่ยงอยู่ในระดับ 5 - เสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง
มีกลยุทธ์เหมือนกับ กองทุนเปิด KFGOOD ที่เปิดขายไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา คือเป็นกองทุนผสมที่สามารถลงทุนได้ทั้ง ตราสารหนี้ และ ตราสารทุน (หุ้น + REITs & INFRAs) เรียกว่าลงทุนได้ครบจบในกองทุนเดียว
ส่วนสัดส่วนการลงทุนจะขึ้นอยู่การพิจารณาของผู้จัดการกองทุนว่ามีมุมมองต่อตลาดเป็นอย่างไร
ตัวอย่างการจัดพอร์ตในแต่ละสภาวะตลาด
มุมมองเชิงลบต่อตลาดหุ้น: ตราสารหนี้ 100%
มุมมองปานกลาง: ตราสารหนี้ 60% และ ตราสารทุน 40%
มุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้น: ตราสารหนี้ และ ตราสารทุน อย่างละ 50%
จะเห็นได้ว่ากองทุนนี้จะมีการลงทุนในส่วนของตราสารหนี้ไม่น้อยกว่า 50% ซึ่งก็น่าจะสร้างความมั่นคงได้ระดับหนึ่ง และก็เปิดโอกาสให้ได้รับผลตอบแทนเพิ่มจากหุ้นในยามที่ผู้จัดการกองทุนมีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้น
กองทุนนี้น่าจะเหมาะกับคนที่ไม่ต้องการรับความเสี่ยงจากการลงทุนหุ้นเต็มร้อย แต่ก็อยากให้มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่มากกว่าการลงทุนในตราสารหนี้เพียงอย่างเดียว
KFAFIXRMF
กองทุนที่มีความเสี่ยงอยู่ที่ระดับ 4 - ปานกลางค่อนข้างต่ำ
เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ และภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยสามารถลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศได้สูงถึง 79% ของ NAV ทำให้มีโอกาสค้นหาตราสารที่ให้ผลตอบแทนดีได้ค่อนข้างกว้าง
นโยบายการลงทุนจะเป็นแบบเชิงรุก และยืดหยุ่น เพราะผู้จัดการกองทุนสามารถปรับพอร์ตตามความเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น
โดยมีปัจจัยในการคัดเลือกการลงทุนของกองทุนนี้ คือ
- ประเทศที่ลงทุน
- คุณภาพของตราสารที่ลงทุน
- อายุของตราสารที่ลงทุน
ซึ่งกองทุนนี้จะสามารถลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำเพื่อผลตอบแทนที่สูงขึ้นได้ แต่จะต้องไม่เกิน 20% ของพอร์ต
ความเสี่ยงของกองทุนอยู่ที่เรื่องการผิดนัดชำระหนี้ของผู้ออกตราสารหนี้ และ ความเสี่ยงเรื่องความผันผวนของหน่วยลงทุน
KFINDIARMF
กองทุนที่มีความเสี่ยงอยู่ในระดับ 6 - สูง
จากชื่อก็ชัดเจนว่ากองทุนนี้ลงทุนในประเทศอินเดีย โดยเป็นการลงทุนในตราสารทุนผ่านกองทุนหลัก First State Indian Subcontinent Fund
โดยทางกองทุนหลักจะมีนโยบายการลงทุนอย่างน้อย 70% ของสินทรัพย์ ในหุ้นของบริษัทในประเทศอินเดียเป็นหลัก และบางส่วนในประเทศปากีสถาน ศรีลังกา และบังกลาเทศ
ทำไมถึงต้องเป็นกองทุนอินเดีย?
เพราะอินเดียถือเป็นประเทศที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนสูงจากปัจจัยพื้นฐานที่ดี การเติบโตของเศรษฐกิจ ระดับการบริโภคที่เพิ่มขึ้น และการปฏิรูปของภาครัฐ
นอกจากนี้ระดับราคาของหุ้น เมื่อเทียบกับศักยภาพภายในประเทศ ผู้จัดการกองทุนวิเคราะห์ว่าอยู่ในระดับที่น่าสนใจ
สำหรับคนที่ลงทุนใน LTF อยู่แล้วทุกปี อาจจะทำให้มีพอร์ตการลงทุนในหุ้นไทยอยู่แล้วในระดับหนึ่ง
การกระจายความเสี่ยงไปลงทุนต่างประเทศ ก็อาจจะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ แต่ก็ต้องมองเรื่องความเสี่ยงของประเทศที่ลงทุน และมีระยะเวลาลงทุนที่นานสัก 5 ปีขึ้นไป ถ้าใครที่ใกล้จะเกษียณแล้ว รับความเสี่ยงได้น้อยก็อาจไม่เหมาะกับกองทุนนี้
ทั้งหมดนี้เป็นกองทุนใหม่ที่ทาง บลจ. กรุงศรี กำลังจะเสนอขายครั้งแรก วันที่ 12-21 พฤศจิกายน 2561 เริ่มต้นลงทุนเพียง 2,000 บาท เท่านั้น
ถ้าใครสนใจสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: http://bit.ly/5newLTF_RMF
หรือสอบถามข้อมูลกองทุน บลจ.กรุงศรี โทร. 02 6575757 หรือธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขา หรือดูรายชื่อตัวแทนสนับสนุนการขาย: http://bit.ly/Agentlist
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลดำเนินการในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต และ LTF เป็นกองทุนที่ส่งเสริมการลงทุนระยะยาวในหุ้น และ RMF ลงทุนเพื่อเกษียณอายุ
กองทุน KFINDIARMF ลงทุนในกองทุนหลักที่มีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศอินเดีย ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย กองทุนจะไม่ใช้เครื่องมือปัองกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ จึงอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน และ/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.