ผู้สนับสนุน.. โอกาสลงทุนในธุรกิจ Innovative Healthcare เมกะเทรนด์ของโลก

ผู้สนับสนุน.. โอกาสลงทุนในธุรกิจ Innovative Healthcare เมกะเทรนด์ของโลก

18 มี.ค. 2019
ผู้สนับสนุน..
โอกาสลงทุนในธุรกิจ Innovative Healthcare เมกะเทรนด์ของโลก / โดย ลงทุนแมน
“ผมคิดว่านวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่สุดในศตวรรษที่ 21
คือการหลอมรวมกันระหว่างชีวภาพ และเทคโนโลยี
เมื่อวันนั้นมาถึง โลกของเราก็จะก้าวเข้าสู่ยุคใหม่”
คำกล่าวนี้เป็นของ Steve Jobs ผู้ก่อตั้งบริษัท Apple
ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอนาคตของความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่ไม่สิ้นสุด
เมื่อมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเสริมประสิทธิภาพ
แล้วตอนนี้โลกเราก้าวมาถึงจุดนั้นหรือยัง..
ลองมาดูอย่างของ Biotechnology
ถ้าพูดถึงโรคที่หลายคนกลัวมากที่สุด
น่าจะต้องมีชื่อของโรคมะเร็ง
มะเร็งเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติในการแสดงออกของยีน
และส่งผลให้เกิดเซลล์มะเร็งในเวลาต่อมา
ซึ่งยารักษาในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นการทำลายเซลล์มะเร็งรวมไปถึงเซลล์ปกติของร่างกาย
แต่ไม่ได้แก้ไขยีน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความผิดปกติ
เพราะว่า การที่จะแก้ไขยีนในร่างกายมนุษย์แบบเฉพาะเจาะจงนั้นยังคงทำได้ยาก
และถึงแม้จะทำได้ ก็จะตามมาด้วยค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาล
เวลาผ่านไป.. เทคโนโลยีได้ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ
จนในที่สุดตอนนี้ การรักษาด้วยการแก้ไขยีนที่ผิดปกติ
กลายเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ ภายใต้ต้นทุนที่มีราคาไม่แพงเหมือนสมัยก่อนอีกต่อไป
เมื่อเป็นแบบนี้แล้ว บริษัทจำนวนมากจึงเข้ามาวิจัยเกี่ยวกับการตัดต่อยีน
ด้วยความหวังที่จะค้นพบวิธีการรักษาโรค
เพราะถ้าสามารถทำได้สำเร็จก็จะกลายเป็นเงินมูลค่ามหาศาลทันที
ล่าสุดมีรายงานของ Bloomberg ที่คาดการณ์ว่า
40% ของประชากรทั่วโลก มีโอกาสเป็นโรคมะเร็ง และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยจนกลายเป็น 70% ในอีก 20 ปีข้างหน้า ซึ่งค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากโรคมะเร็งจะสูงถึง 28.64 ล้านล้านบาทต่อปี หรือเป็น 2 เท่าของ GDP ไทยทั้งประเทศ..
การลงทุนในธุรกิจ Healthcare จึงกลายเป็นที่จับตามองของนักลงทุนในตอนนี้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) เพราะเกี่ยวข้องกับการรักษาในระดับยีน
ซึ่งการตัดต่อยีนเองก็ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแต่โรคมะเร็งเท่านั้น เพราะยังสามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคอื่นๆ ได้อีกด้วย
โดยเฉพาะโรคติดต่อทางพันธุกรรมที่ถูกค้นพบกว่า 7,000 โรค แต่มีเพียง 5% ที่สามารถรักษาได้ในขณะนี้
และถ้าดูจากการเติบโตของยอดขายยาตั้งแต่ปี 2011 จนถึง 2018 โดยอ้างอิงข้อมูลจาก EvaluatePharma World Preview 2018 ณ เดือนพฤษภาคม
ยาที่พัฒนาจาก Biotechnology เติบโต 85%
ในขณะที่ยาที่พัฒนาจาก Conventional Technology เติบโต 3%
นอกเหนือจากเรื่องเทคโนโลยีชีวภาพแล้ว อีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่น่าสนใจก็คือ Digital Healthcare
หรือก็คือ ธุรกิจที่นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยให้ครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นในด้านการคิดค้นพัฒนา, การรักษา และการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการให้สูงขึ้น
ซึ่งทุกวันนี้เราก็อาจจะเคยได้ยินกันมาบ้างแล้ว เช่น การใช้คอมพิวเตอร์หรือมือถือเป็นตัวช่วยในการให้เราเจอหมอหรือหมอเฉพาะทางได้ง่ายขึ้น ซึ่งก็จะทำให้เรามีความจำเป็นต้องไปโรงพยาบาลด้วยตัวเองน้อยลง หรือการผ่าตัดในยุคใหม่ที่ถึงหมอจะไม่อยู่โรงพยาบาลก็สามารถผ่าตัดให้คนไข้ผ่านหุ่นยนต์ผ่าตัดได้
ถึงแม้ว่าเรื่องนี้ ฟังแล้วจะดูน่าสนใจสำหรับการลงทุน
แต่การลงทุนในธุรกิจกลุ่มนี้ คงไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับทุกคน..
เพราะอะไรถึงไม่ใช่เรื่องง่าย?
ถ้าสมมติว่ามีโมเลกุลยาที่ถูกนำมาวิจัยทั้งหมด 100 ตัว
โอกาสที่โมเลกุลยาเหล่านั้นจะผ่านไปจนถึงขึ้นตอนการขายจะมีเพียงแค่ประมาณ 10 ตัวเท่านั้น
และใน 10 ตัวนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีประสิทธิภาพที่ดีจนแข่งขันในตลาดได้เช่นกัน
แปลว่า การลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้ จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน รวมถึงความเข้าใจในบริษัทและอุตสาหกรรมที่ดีนั่นเอง
แล้วแบบนี้เราจะลงทุนในธุรกิจกลุ่มนี้ได้อย่างไร?
เมื่อเร็วๆ นี้ทางแอสเซทพลัส (Asset Plus) ได้เปิดตัวกองทุนที่ลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรม Healthcare โดยมีนโยบายการลงทุนที่มีเอกลักษณ์แตกต่างจากกองทุนอื่นๆ
เพราะจะเน้นลงทุนในกลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) และดิจิทัล เฮลธ์แคร์ (Digital Healthcare)
ภายใต้ชื่อว่า “กองทุนเปิด แอสเซทพลัส อินโนเวทีฟ เฮลท์แคร์ (ASP-IHEALTH)”
ASP-IHEALTH จะแบ่งเงินลงทุนออกเป็น 2 ส่วน ลงทุนต่อในกองทุนต่างประเทศ
50% ในกองทุน Janus Henderson Horizon Biotechnology Fund
และ 50% ในกองทุน Global Digital Health Equity Fund ของ Credit Suisse
สำหรับกองทุน Janus Henderson Horizon Biotechnology Fund ดูแลโดยทีมลงทุนที่มีความรู้และประสบการณ์สูง ทั้งด้านการลงทุน การแพทย์ และเทคโนโลยีชีวภาพ จากบริษัท Janus Henderson Investors
ซึ่งการลงทุนจะเน้นไปในส่วนของเทคโนโลยีชีวภาพสูงถึงประมาณ 60% ของมูลค่ากองทุน
ที่น่าสนใจคือ กองทุนหลักนี้ไม่ได้มีผู้ดูแลที่มีความรู้แค่ในเรื่องการเงินการลงทุนเพียงอย่างเดียว เพราะมีทีมลงทุนที่จบด้านการแพทย์และเทคโนโลยีชีวภาพจากมหาวิทยาลัยอันดับต้นๆ ของโลกอยู่ด้วย เรียกได้ว่าเป็นทีมที่มีความเข้าใจและความรู้เฉพาะทางสำหรับการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้เป็นอย่างดี
ตัวอย่างบริษัทที่ลงทุน เช่น
illumina เป็นบริษัทอเมริกันซึ่งทำการพัฒนา ผลิต รวมไปถึงการทำตลาด สำหรับการวิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมและชีวภาพ
Gilead เป็นบริษัทอเมริกันซึ่งวิจัยและพัฒนายาเกี่ยวการรักษาโรคเอดส์ โรคตับ และโรคมะเร็งเป็นหลัก
Celgene เป็นบริษัทอเมริกันซึ่งวิจัยและพัฒนายาเกี่ยวการรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของยีน
เช่น มะเร็ง
ส่วนกองทุน Global Digital Health Equity Fund จะมีนโยบายการลงทุนที่แตกต่างจากของ Janus Henderson คือ เน้นไปที่ธุรกิจ Digital Healthcare เป็นหลัก โดยจะเลือกบริษัทที่มีวิวัฒนาการจากการพัฒนาขึ้นของนวัตกรรม มีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาพัฒนาต่อยอดตั้งแต่ในส่วนของผลิตภัณฑ์ การวิจัยค้นคว้า และการเพิ่มประสิทธิภาพของบริการในอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
กองทุนนี้ดูแลโดย Credit Suisse หนึ่งในผู้ให้บริการด้านบริหารทรัพย์สินระดับโลกจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งมองเห็นการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ และเลือกลงทุนด้วยธีม Digital Healthcare เป็นกองทุนแรก
ตัวอย่างบริษัทที่ลงทุน เช่น
Medidata เป็นบริษัทผู้ให้บริการ Cloud-based Platform ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลทางการแพทย์เช่น ข้อมูลคนไข้ เพื่อใช้ในการปฏิบัติการทางการแพทย์
Teladoc เป็นบริษัทผู้ให้บริการการเข้าถึงแพทย์แบบ Virtual Care เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพได้ทุกที่ทุกเวลา
กองทุนนี้เหมาะกับใคร?
กองทุน ASP-IHEALTH เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนระยะกลางถึงระยะยาวในกลุ่มอุตสาหกรรมสุขภาพ ซึ่งอาจหมายถึงนักลงทุนที่มีความเข้าใจในด้านนี้อยู่แล้ว หรือจะเป็นนักลงทุนทั่วไปที่สนใจเรื่องเทคโนโลยีด้านสุขภาพอย่างเช่น Biotechnology ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และมีการคาดการณ์ว่าจะเติบโตต่อไปในอนาคต
ในแง่ของความเสี่ยง กองทุนนี้มีระดับความเสี่ยงสูงที่ระดับ 7 และมีปัจจัยเสี่ยงจากการลงทุนในต่างประเทศ เนื่องจากกองทุนมีสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศต้ังแต่ 80% ขึ้นไป จึงอาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจได้
ส่วนความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน โดยปกติแล้ว กองทุนนี้จะทำการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเกือบทั้งหมดในอัตราไม่น้อยกว่า 90% ของมูลค่าเงินลงทุนต่างประเทศ แต่ในบางกรณี อาจพิจารณาป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
มาถึงตรงนี้เราจะเห็นว่ากองทุน ASP-IHEALTH น่าจะเป็นหนึ่งการลงทุนที่น่าสนใจ สำหรับผู้ที่กำลังมองหาช่องทางการลงทุนในบริษัทชั้นนำที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านการแพทย์ได้เป็นอย่างดี..
กองทุน ASP-IHEALTH จะทำการเสนอขายครั้งแรกในระหว่างวันที่ 14 ถึง 27 มีนาคม 2562
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แอสเซท พลัส จำกัด
Customer Care 02-672-1111 โทรสาร 02-672-1180
www.assetfund.co.th
คำเตือน
ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.