ข่าวประชาสัมพันธ์.. จะหนีการถูก Disrupt แค่ใหม่ไม่พอ ต้องไวด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์.. จะหนีการถูก Disrupt แค่ใหม่ไม่พอ ต้องไวด้วย

8 ก.ค. 2019
ข่าวประชาสัมพันธ์..
จะหนีการถูก Disrupt แค่ใหม่ไม่พอ ต้องไวด้วย!
วันนี้ลงทุนแมนได้ฟังพอดแคสต์จาก SEAC ว่าด้วยเรื่องของ Business Agility โดยเป็นการสัมภาษณ์คุณวิลเลียม มาเหล็ก (William Malek) Senior Executive Director for Leadership and Innovation ผู้เป็นอดีตซีอีโอ ที่ปรึกษาทางธุรกิจ และอาจารย์ที่มีประสบการณ์ในโลกธุรกิจที่เกี่ยวกับ Disruptive Innovation หรือนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ยังเป็นวิทยากรที่เน้นไปที่การสอนกลุ่มผู้บริหารระดับสูง และยังเคยร่วมงานกับผู้บริหารในบริษัทชั้นนำของ Fortune 500 ในสายงานธุรกิจต่างๆ มามากกว่า 45 บริษัท ครอบคลุม 5 ทวีป ใน 12 ประเภทอุตสาหกรรม อาทิ Chevron, IBM, Qualcomm, Cisco ฯลฯ
แค่อ่านประวัติก็น่าสนใจแล้ว แต่ต้องบอกว่าเนื้อหาในพอดแคสต์ก็น่าติดตามไม่แพ้กัน โดยลงทุนแมนจะมาสรุปบางส่วนมาให้ได้อ่านกันแบบสั้นๆ สำหรับคนที่อาจจะยังไม่มีเวลาฟังเต็มๆ
เริ่มกันที่ Business Agility คืออะไร คุณวิลเลียมได้พูดไว้ว่า Business Agility คือความสามารถที่เราจะคว้าโอกาสทางธุรกิจที่อยู่ตรงหน้า และความสามารถในการหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
การเปลี่ยนแปลงในยุคนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบ Exponential คือก้าวกระโดดเป็นหลายสิบเท่าในแต่ละครั้ง
เพราะฉะนั้นการทำงานแบบเดิมๆ ที่วางแผนล่วงหน้ากันเป็นปีคงทำไม่ได้อีกต่อไปแล้ว
คุณวิลเลียมยกตัวอย่างว่า บริษัทที่ใหญ่มากๆ อาจจะต้องเปลี่ยนแปลงการวางแผนเป็นทุกหกเดือน หรืออาจจะถึงขั้นวางแผนกันแบบสัปดาห์ต่อสัปดาห์ หรือเดือนต่อเดือนกันเลยทีเดียว
เพราะฉะนั้นแล้วรูปแบบการทำงานก็จะต้องเปลี่ยนไป ไม่ใช่การรอ CEO สั่งทุกอย่างลงมาจากด้านบน แต่เป็นการทำงานแบบ Agile ระบบการทำงานที่คล่องตัว ให้ความสำคัญในการสื่อสารกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และการปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์อยู่ตลอดเวลา เพื่อเป้าหมายสำคัญคือ “ตอบสนองผู้ใช้งาน”
เคสตัวอย่างที่คุณวิลเลียม ยกมาคือบริษัทไฮเออร์ Haier บริษัทจากประเทศจีน ที่เติบโตและประสบความสำเร็จอย่างมาก จากการปรับตัวอย่างรวดเร็ว และนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ตอบโจทย์ผู้บริโภค โดยมีหัวใจสำคัญคือ ทุกสิ่งที่ทำต้องตอบสนองผู้ใช้งานในทุกระดับ
คุณวิลเลียม สรุปส่งท้ายได้อย่างน่าสนใจว่า
“คุณไม่สามารถบริหารธุรกิจของคุณโดยมีวัฒนธรรมแบบเดียว หรือใช้แค่เครื่องมือเดียว แต่คุณต้องรู้ว่าจะนำธุรกิจของคุณไปใส่ในพื้นที่แบบไหน คุณต้องเอาแผนกแต่ละแผนกของคุณมาย่อยลงไปในบริบทธุรกิจของตัวเองที่แตกต่างกันไป เพื่อให้เกิดการสร้างนวัตกรรมขึ้นมา”
จริงๆ แล้วยังมีเนื้อหาที่น่าสนใจอีกมาก ถ้าอยากฟังเรื่องราวแบบเต็มๆ ตามไปฟังกันได้ที่นี่เลย
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.