มอง (การณ์) ไกล ในแบบ ยูนิเวนเจอร์ จากธุรกิจเคมีภัณฑ์ สู่อสังหาหมื่นล้าน

มอง (การณ์) ไกล ในแบบ ยูนิเวนเจอร์ จากธุรกิจเคมีภัณฑ์ สู่อสังหาหมื่นล้าน

5 ส.ค. 2018
ผู้สนับสนุน..
มอง (การณ์) ไกล ในแบบ ยูนิเวนเจอร์ จากธุรกิจเคมีภัณฑ์ สู่อสังหาหมื่นล้าน
ถ้าให้พูดถึง Holding Company ที่มีประวัติน่าสนใจ หนึ่งในนั้นต้องมี บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน)
เพราะใครจะเชื่อว่าบริษัทแห่งนี้ เริ่มต้นจากธุรกิจเล็กๆ ที่ผลิตและขายสังกะสี ออกไซด์ ในปี พ.ศ. 2523 แต่ปัจจุบันแปรเปลี่ยนสถานะเป็นบริษัทมหาชน ทำรายได้ปีที่ผ่านมา 21,076 ล้านบาท และมีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 13,096 ล้านบาท
อีกทั้งยังเป็นผู้ให้กำเนิดอาคารออฟฟิศเกรดเอแห่งแรกของกรุงเทพฯ อย่าง Park Ventures Ecoplex ในปี พ.ศ.2557 พร้อมกับการเป็นอาคารสำนักงานให้เช่าราคาแพงที่สุดในกรุงเทพฯ และยังมี Capacity เต็ม 100% ตลอดเวลา
และอีกหนึ่งธุรกิจที่ทุกคนน่าจะรู้จักกันดีก็คือ คอนโดมิเนียม หลากหลายทำเล ของบริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด (GRAND UNITY) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือที่สร้างรายได้โดดเด่นอยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน)
ความสำเร็จทั้งหมด ไม่ได้มาง่ายๆ และรวดเร็วเพียงแค่ชั่วข้ามคืน แต่มาจากการสั่งสมประสบการณ์ และความสำเร็จที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาเกือบ 40 ปี...
ลงทุนแมน ได้มีโอกาสพูดคุยกับ คุณวรวรรต ศรีสอ้าน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ยูนิเวนเจอร์ ที่มาบอกเล่าถึงจุดเริ่มต้น จุดพลิกผัน จนถึง ณ วันนี้ที่ ยูนิเวนเจอร์ กลายเป็น Holding Company ชั้นนำของประเทศไทย
คุณวรวรรต เล่าให้ฟังว่าบริษัทแรกเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2523 มีชื่อว่า –ยูนิไทยอ๊อกไซด์ จำกัด ทำธุรกิจผลิต และขาย ผงสังกะสีออกไซด์ โดยกิจการเติบโตต่อเนื่องจนเข้าจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2531
จนมาถึงจุดเปลี่ยนช่วงปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง ส่งผลกระทบให้ค่าเงินบาทลอยตัวจาก 25 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐ เป็น 50 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐ
เมื่อเรื่องเป็นเช่นนี้ ทำให้บริษัทที่กู้เงินมาจากสถาบันการเงินต่างชาติต้องประสบปัญหาด้านการเงินรุนแรง ที่หลายคนจำกันได้ก็คือกลุ่มบริษัทไฟแนนซ์ 58 บริษัทที่ต้องปิดกิจการ
“ตอนนั้นเราทำธุรกิจใช้เงินทุนหมุนเวียนไม่ได้ใช้เงินกู้ ทำให้มีความสามารถซื้อหนี้เสียต่างๆ ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ เป็นการมองเห็นโอกาสทางธุรกิจ ในช่วงวิกฤติ แต่เราเองก็ไม่มีประสบการณ์ในธุรกิจนี้เลย”
เมื่อเป็นธุรกิจที่ตัวเองไม่มี Know How ติดมือมาแม้แต่น้อย ทางออกที่ดีที่สุดก็คือการหาพันธมิตรที่เชี่ยวชาญในธุรกิจนี้
ทำให้ในตอนนั้นบริษัทตัดสินใจจับมือกับพันธมิตรบริษัทอสังหาริมทรัพย์รายหนึ่งเป็นพาร์ตเนอร์ในการทำธุรกิจคอนโดมิเนียม ตั้งเป็นบริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด ในปี 2544
และในปี พ.ศ. 2555 เมื่อทุกอย่างลงตัว จากการสะสมประสบการณ์ที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ พร้อมและมั่นใจในการเข้าถือหุ้นบริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด 100% เต็ม และเริ่มทำธุรกิจคอนโดมิเนียมอย่างจริงจัง
ที่น่าสนใจคือการทำธุรกิจคอนโดมิเนียมของ แกรนด์ ยูนิตี้ เป็นอะไรที่แตกต่างจากรายอื่น
“ยูนิเวนเจอร์ มีบริษัทในเครือที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ 6 บริษัท ที่คอยสนับสนุน GRAND UNITY ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ”
ตัวอย่างเช่น การมี บริษัท เซนเซส พร็อพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด ที่จะบริหารส่วนนิติบุคคลทุกโครงการหรือ บริษัท สโตนเฮ้นจ์ อินเตอร์ จำกัด (มหาชน) ที่จะดูแลบริหารงานโครงการและบริหารงานก่อสร้าง
ซึ่งการมีบริษัทที่คอยซับพอร์ตอย่างแข็งแกร่งทำให้ GRAND UNITY สามารถขยายคอนโดมิเนียมได้ครบทุก Segment ตั้งแต่ Economy จนถึง Super Luxury อย่าง ANIL สาทร12 ที่ราคา 260,000 บาท ต่อตารางเมตร
การทำให้ธุรกิจคอนโดมิเนียมของตัวเองไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น เป็นการ ลดความเสี่ยง เนื่องจากทุกอย่างอยู่ในการควบคุมในมือตัวเองทั้งหมด บวกกับวิสัยทัศน์ของนักลงทุนอย่างยูนิเวนเจอร์ ที่มองเห็นโอกาสทางธุรกิจ นำไปสู่การพัฒนาคอนเซ็ปต์ โครงการที่น่าสนใจ อย่าง ANIL สาทร 12 คอนโดระดับ Super Luxury ที่มองความหรูหราในมุมมองใหม่ คือการลงทุนในสุขภาพที่ดี ผ่านคอนเซ็ปต์ และมาตรฐาน WELL Building StandardTM
ยิ่งเมื่อบวกกับ 5 กลยุทธ์หลักที่เป็นแบบแผนสร้างการเติบโตทำให้ บริษัทในกลุ่ม ยูนิเวนเจอร์ สามารถยืนแถวหน้าอยู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์เมืองไทย
1. Optimization : ความหลากหลายในการดำเนินธุรกิจ
2. Diversification : การขยายธุรกิจนอกเหนือจากพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เช่น การบริหารจัดการสินทรัพย์ ประเภทโบรคเกอร์ในการดูแลปล่อยเช่า เป็นต้น
3. Supply Chain : มองหาโอกาสต่อยอดและสร้างความแข็งแกร่งตลอดระยะเส้นทางการดำเนินธุรกิจ
4. Synergy : การผนึกกำลังกับบริษัทต่างๆ ภายในกลุ่ม ยูนิเวนเจอร์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
5. Opportunistic Investment : มองหาโอกาสในการเข้าไปลงทุนในบริษัทที่สามารถทำกำไร
อย่างไรก็ตาม ยูนิเวนเจอร์ เองไม่ได้ทอดทิ้งธุรกิจที่ดำเนินการมาตั้งแต่แรกเริ่ม คือ การผลิต และจำหน่ายสังกะสีออกไซด์ รวมไปถึงธุรกิจพลังงาน ที่เวลานี้มี 3 บริษัทในเครือ ซึ่งยังสามารถทำรายได้เติบโตต่อเนื่องได้ดีไม่แพ้กัน โดยคิดเป็นรายได้รวม 30% ของรายได้ทั้งหมดในบริษัท
ขณะที่ในวันนี้ ที่ ยูนิเวนเจอร์ มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบริษัทในเครือ ทำให้สัดส่วนของรายได้ทางธุรกิจเปลี่ยนไป แต่ คุณวรวรรต กลับมองว่านี่คือโอกาส ในการลงทุนสู่ธุรกิจใหม่ๆ ที่เขามองไกลกว่าเดิม
“เพราะโลกของธุรกิจในวันพรุ่งนี้ เป็นของคนที่มีวิสัยทัศน์ ที่มีความสามารถในการรับปรับเปลี่ยนได้ทันเวลา
หากวันใดวันหนึ่งธุรกิจใดมีการปรับเปลี่ยนไปจากปัจจัยภายนอกที่อยู่เหนือการควบคุม ธุรกิจอื่นก็จะมาช่วยหล่อเลี้ยงบริษัทให้มีกำไรต่อเนื่อง หรือที่เราเรียกกันว่า กระจายความเสี่ยงนั่นเอง”
ทั้งหมดนี้ ถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ เป็นการบริหารความเสี่ยงได้อย่างสมบูรณ์แบบ และนับเป็นวิธีการทำธุรกิจให้ยั่งยืนได้อย่างแท้จริง..
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.