ผีน้อย กำลังตกที่นั่งลำบาก

ผีน้อย กำลังตกที่นั่งลำบาก

2 มี.ค. 2020
ผีน้อย กำลังตกที่นั่งลำบาก /โดย ลงทุนแมน
จากข้อมูลล่าสุด จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นจนมีจำนวนเกือบ 5,000 คนแล้ว
โดยมีศูนย์กลางการระบาดอยู่ที่เมืองแทกู ซึ่งเป็นเมืองอุตสาหกรรมสิ่งทอที่สำคัญของประเทศ
การระบาดส่งผลให้ต้องปิดโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่ง
รวมไปถึงภาคบริการต่างๆ เช่น ร้านค้าและร้านอาหาร
แต่มีคนไทยอยู่กลุ่มหนึ่ง ที่น่าจะได้รับผลกระทบมากกว่าใคร
คนกลุ่มนี้ถูกเรียกว่า “ผีน้อย”
ผีน้อยคืออะไร?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit ที่สุดของแอปมีสาระ
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนอื่น มาดูข้อมูลโดยทั่วไปของเศรษฐกิจเกาหลีใต้กันสักนิด
เกาหลีใต้ หรือ สาธารณรัฐเกาหลี มีระบบเศรษฐกิจที่จัดอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว
ด้วยภาคเศรษฐกิจที่หลากหลาย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เคมีภัณฑ์
ต่อเรือ และการท่องเที่ยว
ปี 2019 GDP เกาหลีใต้ สูงเป็นอันดับที่ 12 ของโลก คิดเป็นมูลค่า 51 ล้านล้านบาท
หากหารด้วยจำนวนประชากร 51.7 ล้านคน แต่ละคนจะมี GDP ต่อหัว 986,000 บาทต่อปี
GDP ต่อหัวที่สูง ทำให้แรงงานมีค่าแรงขั้นต่ำสูงตามไปด้วย
อัตราค่าแรงขั้นต่ำ อยู่ที่ 225 บาทต่อชั่วโมง
หรือหากเป็นสถานประกอบการ ที่มีสัญญาจ้างทำงาน 44 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
แรงงานจะได้รับค่าจ้างขั้นต่ำเดือนละประมาณ 51,000 บาท..
แต่ปัญหาหนึ่ง ที่ประเทศพัฒนาแล้วประสบกันมากก็คือ
แรงงานที่มีการศึกษาสูง ปฏิเสธที่จะทำงานที่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่น ในโรงงาน หรือภาคเกษตรกรรม
ประกอบกับอัตราการเกิดของประชากรต่ำ จึงนำมาสู่การขาดแคลนแรงงานในด้านนี้
เศรษฐกิจของเกาหลีใต้จึงจำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานต่างชาติเป็นจำนวนกว่า 1.4 ล้านคน
ถึงแม้จะเป็นค่าแรงขั้นต่ำ แต่ก็ยังเป็นจำนวนเงินที่สูงมาก
หากเทียบกับค่าครองชีพของประเทศที่พัฒนาน้อยกว่า
ประกอบกับแรงงานต่างชาติจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเทียบเท่ากับชาวเกาหลี
ซึ่งรวมไปถึงการประกันจากอุบัติเหตุต่างๆ และประกันสุขภาพจากนายจ้าง
ข้อดีเหล่านี้ล้วนดึงดูดกลุ่มแรงงานจากประเทศกำลังพัฒนาในทวีปเอเชีย
โดยเฉพาะ ไทย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ให้เข้าไปทำงานในเกาหลีใต้
เดือนมกราคม ปี 2020 มีแรงงานชาวไทยในเกาหลีใต้โดยถูกกฎหมาย 22,257 คน
แต่การเข้าประเทศเกาหลีใต้โดยถูกกฎหมาย จำเป็นที่จะต้องมีกระบวนการคัดเลือก
แรงงานที่มีประสบการณ์การทำงาน มีคะแนนทดสอบภาษาเกาหลี
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ และใช้ระยะเวลาพอสมควร
ด้วยข้อจำกัดเหล่านี้
ทำให้เกิดกระบวนการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายขึ้น
รู้หรือไม่ว่า ด้วยการที่ไทยเคยส่งทหารเข้าไปร่วมรบช่วยเกาหลีใต้ นั่นจึงเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้ คนไทยไม่ต้องขอวีซ่า ถ้าจะไปเที่ยวที่เกาหลีใต้
ผู้ถือพาสปอร์ตไทยทุกคน สามารถไปเที่ยวเกาหลีได้ระยะเวลา 90 วัน..
ช่องว่างนี้ ทำให้เกิดการลักลอบเข้าไปทำงาน ทั้งที่เดินทางเข้าไปในฐานะนักท่องเที่ยว
ซึ่งแรงงานที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานเหล่านี้จะถูกเรียกว่า “ผีน้อย” ซึ่งมาจากคำว่าต้องอยู่แบบหลบๆ ซ่อนๆ
ซึ่งสถานะของผีน้อยก็คือ อาศัยอยู่แบบไม่มีการคุ้มครองทางกฎหมาย ส่วนใหญ่เข้ามาเพื่อเป็นแรงงานในโรงงาน แรงงานในภาคการเกษตร และบริการ โดยเฉพาะร้านนวด
จากการคาดการณ์ของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเกาหลีใต้
คาดว่ามี ผีน้อยไทย อยู่ประมาณ 140,000 คน
ในสถานการณ์ปกติ เหล่าผีน้อย ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในวัยแรงงาน ต่างก้มหน้าก้มตาทำงานเก็บเงิน เพื่อเป้าหมายที่แตกต่างกันไป
แต่ในสถานการณ์ที่เกิดโรคระบาดเช่นนี้
เหล่าผีน้อย กำลังตกที่นั่งลำบาก..
หากเลือกที่จะอาศัยแบบหลบๆ ซ่อนๆ ต่อไป ก็ต้องกังวลว่าจะใช้ชีวิตอย่างไร
โรงงาน และร้านอาหารที่ปิดลงชั่วคราว ย่อมหมายถึง รายได้ที่ลดลง
ในขณะที่โรคโควิด-19 กำลังระบาดไปทั่วเกาหลีใต้ หากพวกเขาติดเชื้อ ก็ไม่มีสวัสดิการในการรักษา นั่นหมายถึง พวกเขาจะต้องจ่ายค่ารักษาที่สูงมาก ซึ่งเมื่อพวกเขาเข้าโรงพยาบาลแล้วก็จะถูกจับได้ว่าลักลอบทำงานโดยผิดกฎหมายอีกด้วย
แต่หากตัดสินใจเดินทางกลับประเทศไทย เพื่อหนีภัยโรคระบาด
ก็จะถูกด่านตรวจของเกาหลีใต้พบว่า ได้ลักลอบเข้ามาทำงาน
ซึ่งผลกระทบสำหรับผีน้อยก็คือ อาจทำให้ไม่สามารถกลับมาทำงานที่เกาหลีใต้ได้อีก
ขณะนี้สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย
ยังเป็นการระบาดในระยะที่ 2
ซึ่งเบากว่าเกาหลีใต้ ที่เป็นระยะที่ 3 แล้ว โดยมีการแพร่ระบาดภายในประเทศเกาหลีใต้เป็นวงกว้าง
การที่จะมี “ผีน้อย” อย่างน้อยสัก 1 คน ติดเชื้อโควิด-19 จากเกาหลีใต้
จึงมีความเป็นไปได้พอสมควร
ประเด็นที่น่าคิดต่อไปก็คือ
หากพวกเขาเดินทางกลับมาประเทศไทยแล้ว ยังไม่มีอาการแสดงของโรค ก็จำเป็นที่จะต้องกักตัวเองเพื่อเฝ้าดูระยะเวลาฟักตัวของโรค อย่างต่ำก็เป็นระยะเวลา 14 วัน
แต่ด้วยจำนวน ผีน้อย กว่า 140,000 คน
ถ้าพวกเขา ตัดสินใจเดินทางกลับประเทศไทยพร้อมกันหมด
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.