ลองมาฟัง AIS นำ 5G มาช่วยแก้ปัญหา COVID-19 ได้อย่างไร

ลองมาฟัง AIS นำ 5G มาช่วยแก้ปัญหา COVID-19 ได้อย่างไร

13 เม.ย. 2020
ลองมาฟัง AIS นำ 5G มาช่วยแก้ปัญหา COVID-19 ได้อย่างไร /โดย ลงทุนแมน
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าอุตสาหกรรมโทรคมนาคม
กลายมาเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ท่ามกลางวิกฤติโรคระบาดที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก
หลายบริษัท ต้องเปลี่ยนวิธีการทำงาน
หลายคน ต้องเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวัน
หนึ่งในสิ่งที่เราเปลี่ยนไปอย่างชัดเจนที่สุดก็คือ “การสื่อสาร”
ตั้งแต่การทำงาน การประชุม การสั่งซื้อของ ซื้ออาหารเดลิเวอรี
ที่เราย้ายตัวเองเข้าไปสู่โลกออนไลน์เกือบจะ 100%
ลงทุนแมนได้มีโอกาสพูดคุยผ่าน Video Conference กับคุณสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ AIS ผู้ให้บริการโทรคมนาคมใหญ่สุดในประเทศไทย เกี่ยวกับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น
ตอนนี้ AIS ได้รับผลกระทบอะไรบ้าง
แล้วกำลังทำอะไรเพื่อคนไทย?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์ เจาะลึกแบบ deep content ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เริ่มจากภาพรวมปริมาณการใช้งานอินเทอร์เน็ตของคนไทยช่วงวิกฤติโรคระบาด
ที่คุณสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ระบุว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตบนสมาร์ทโฟน และเน็ตบ้าน เพิ่มขึ้นราว 20%
จากตรงนี้ เราก็อาจมองได้ว่าธุรกิจโทรคมนาคมน่าจะรอดตัวจากวิกฤตินี้
แต่จริงๆ แล้ว ก็ยังมีหลายส่วนของธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ อาทิ ช่องทางบริการ อย่าง AIS Shop
AIS ระบุว่ามาตรการที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจการให้บริการหน้าร้าน
จึงต้องเน้นไปที่บริการบน Online แทน เช่นเดียวกับธุรกิจอื่น
ทำให้ยอดการใช้งาน และการทำธุรกรรมของลูกค้าผ่านแอป และ Online store สูงขึ้นอย่างมาก
บริการเปิดเบอร์ใหม่ ซิมรายเดือน ก็ชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ
เพราะยังจำเป็นต้องมาจดทะเบียนซิมที่ Shop
ซึ่งก็เป็นเหมือนกันทั้งอุตสาหกรรมโทรคมนาคม
แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีข้อดี คือ การปิดเบอร์และการย้ายค่ายก็จะชะลอตัวลงเช่นกัน
AIS ยังมองว่าในระยะยาว หากพฤติกรรมคนไทย
สามารถปรับตัวเข้ากับบริการออนไลน์ได้มากขึ้น
ก็อาจส่งผลดีต่อการเติบโตของทุกภาคส่วน ที่จะ Go Online
จากเหตุการณ์นี้ จะเร่งให้คนเข้าสู่ดิจิทัลมากขึ้น
จากเดิมที่ต้องคอยทำการตลาดให้คนเข้ามาใช้
ไม่ว่าจะเป็น การจ่ายแบบไร้เงินสด หรือ การชอปปิงออนไลน์
ก็มีตัวเลขที่เติบโตขึ้นอย่างชัดเจน
นอกจากมุมมองต่อบริษัท และภาพรวมต่อบริษัทแล้ว
AIS กำลังทำอะไรอยู่ กับวิกฤติโรคระบาดรอบนี้?
เรื่องแรกก็คือ การปรับทัพรับมือ COVID-19 ภายในองค์กร ที่เริ่มทำมาตั้งแต่ก่อนหน้าที่รัฐบาลประกาศ พรก.ฉุกเฉิน นั่นก็คือ การวางรูปแบบการทำงานจากที่บ้าน การบริหารบุคลากรที่ยังต้องทำงานที่ออฟฟิศ
และเอไอเอสได้นำ Digital Infrastructure ที่เป็นแกนหลักของโครงสร้างดิจิทัลพื้นฐาน มาช่วยร่วมแก้ปัญหา COVID-19 ด้วย
โดย AIS ใช้งบประมาณกว่า 100 ล้านบาท นำเทคโนโลยี 5G
สนับสนุนบริการทางการแพทย์ และงานสาธารณสุข ประเทศไทย
ผ่าน 3 ภารกิจหลัก
เริ่มจากการวางเครือข่าย 5G ใน 20 โรงพยาบาล ที่รับการตรวจและรักษาผู้ป่วย COVID-19
และจะขยายเครือข่าย 5G ไปยังพื้นที่โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล 130 โรงพยาบาล และต่างจังหวัดอีก 8 โรงพยาบาล
รวมทั้งสิ้น 158 โรงพยาบาล ซึ่งจะเสร็จสิ้นทั้งหมดภายในเดือนนี้..
โดยงบลงทุนนี้เป็นส่วนเพิ่มเติมจากของเดิม เพื่อนำมาช่วยเหลือประเทศในสถานการณ์ COVID-19
ซึ่งไม่ได้กระทบการลงทุนเครือข่าย 5G เดิมที่มีแผนอยู่แล้ว ให้ล่าช้าออกไป
AIS ยังระดมนักพัฒนาที่เชี่ยวชาญด้านดิจิทัล ตั้งทีม AIS Robotic Lab
เพื่อวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ทางการแพทย์ 5G Telemedicine และโซลูชันงานบริการทางการแพทย์
โดยทำงานร่วมกับโรงพยาบาล เพื่อรับโจทย์ มาพัฒนาหุ่นยนต์ให้ตอบรับการใช้งานเฉพาะของแต่ละโรงพยาบาล
ต่อเนื่องด้วย การทยอยส่งมอบหุ่นยนต์ทางการแพทย์ 5G เวอร์ชันใหม่ AIS ROBOT FOR CARE จำนวน 23 ตัว ให้กับโรงพยาบาล 22 แห่งที่รับตรวจและรักษาผู้ป่วย COVID-19 ที่ส่งมอบไปแล้วเรียบร้อย คือ รพ. จุฬาลงกรณ์, รพ. ราชวิถี และ รพ. ศิริราช
หุ่นยนต์ 5G นี้จะประจำการที่วอร์ดผู้ป่วยโควิด
ทำหน้าที่เข้าไปดูแลผู้ป่วยโควิดภายในห้องพักของผู้ป่วย แทนหมอ และพยาบาล
โดยที่ตัวหุ่นยนต์ สามารถตรวจวัดอุณหภูมิในร่างกาย ผ่าน Thermoscan
และมีระบบปรึกษาทางไกลระหว่างคนไข้ และหมอผ่าน Video Call
โดยที่หมอกับคนไข้ไม่ต้องอยู่ในห้องเดียวกัน หรือสัมผัสใกล้กัน
ช่วยแบ่งเบาภาระ ลดเสี่ยงติดเชื้อทั้งผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์
นับเป็นการนำศักยภาพ Digital Infrastructure ที่แข็งแกร่ง ด้วยคลื่น 5G ที่มีจำนวนมากที่สุด
มาสร้างประโยชน์ ร่วมแก้วิกฤติประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม ถูกที่ ถูกเวลา (และถูกโรค)
เป็น “5G ที่จับต้องได้ สำหรับทุกชีวิต”
ด้วยพลานุภาพของ 5G ทั้งในแง่ของอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
ตอบสนองต่อการสั่งการได้รวดเร็วแทบจะทันที หรือที่เรียกว่า ความหน่วงต่ำ
พร้อมรองรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ที่หลากหลาย
จึงมีความเหมาะสมอย่างยิ่ง ที่จะนำมาประยุกต์ใช้
เป็นโครงข่ายหลักสำคัญ ต่อการปฏิบัติงานทางการแพทย์
ส่วนเรื่องคำถาม COVID-19 จะทำให้การขยายโครงข่าย 5G ล่าช้าหรือไม่
AIS ตอบว่าอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะนำเข้ามาไม่ได้รับผลกระทบใดๆ
แต่สิ่งที่กระทบ คือการออกไปติดตั้งหรือ ซ่อมบำรุงเครือข่ายจะมีอุปสรรคบ้าง แต่ที่ผ่านมาก็มีการประสานงานกับทางหน่วยงานรัฐมาโดยตลอด และคิดว่าไม่น่ามีปัญหาอะไร
ซึ่งพอจบการสนทนา ลงทุนแมนก็คิดได้ว่า
ตอนนี้ ภาคเอกชนกำลังช่วยกันแก้ปัญหาวิกฤติที่เกิดขึ้น
และ AIS เป็นตัวอย่างของผู้นำที่ริเริ่มความคิดในการใช้ 5G และเทคโนโลยีต่างๆ
มาช่วยคนไทยในวิกฤติ COVID-19 ได้อย่างโดดเด่น
การเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม นอกจากจะคำนึงถึงเรื่องรายได้ที่เติบโตขึ้นแล้ว สิ่งสำคัญก็คือการช่วยเหลือสังคม และรู้จักนำความรู้ความเชี่ยวชาญขององค์กรที่มีอยู่มาช่วยทำให้สังคมดีขึ้น
ซึ่งเมื่อเราผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้ เราคนไทยก็น่าจะคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น
และน่าจะใกล้ชิดกันมากกว่าเดิม หลังจากที่พวกเราถูกทำให้ห่างกันมานาน..
----------------------
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์ เจาะลึกแบบ deep content ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
----------------------
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.