ตลาดหุ้น NASDAQ ผู้ชนะในวิกฤติ โควิด-19

ตลาดหุ้น NASDAQ ผู้ชนะในวิกฤติ โควิด-19

7 ก.ค. 2020
ตลาดหุ้น NASDAQ ผู้ชนะในวิกฤติ โควิด-19 /โดย ลงทุนแมน
วิกฤติเศรษฐกิจในปีนี้กำลังส่งผลกระทบรุนแรง
ต่อหลายบริษัททั่วทุกมุมโลก
ผลกระทบที่เกิดขึ้นสะท้อนไปยังความผันผวนในตลาดหุ้นทั่วโลก
ที่ล้วนปรับตัวลดลงตั้งแต่ต้นปี
LSE ตลาดหุ้นสหราชอาณาจักร -18%
NYSE ตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา -13%
SET ตลาดหุ้นประเทศไทย -13%
HKEK ตลาดหุ้นฮ่องกง -8%
JPX ตลาดหุ้นญี่ปุ่น -7%
แต่รู้หรือไม่ว่ายังมีตลาดหุ้นชื่อว่า NASDAQ
ที่กำลังเติบโตสวนทางกับตลาดหุ้นทั่วโลก
โดยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมาแล้วราว 15% นับตั้งแต่ต้นปี
และกำลังทำลายสถิติจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ไม่เว้นแต่ละวัน
แล้วเพราะอะไรถึงเป็นแบบนั้น?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
อยากรู้ความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก ต้องเข้าใจอดีต
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
สั่งซื้อได้ที่ (รับส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
NASDAQ ถูกก่อตั้งขึ้นมาเมื่อปี 1971 หรือเมื่อ 49 ปีก่อน ที่สหรัฐอเมริกา
ซึ่งเกิดขึ้นก่อนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือ SET เพียง 4 ปี
ตลาดหุ้นแห่งนี้เป็นตลาดหลักทรัพย์แห่งแรกของโลกที่มีการซื้อขายด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
โดยช่วงแรกก่อตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นแหล่งระดมทุนของบริษัทขนาดเล็ก
หลังจาก NASDAQ ก่อตั้งขึ้นมา 9 ปี
โลกของเราก็เริ่มเข้าสู่ยุครุ่งเรืองของเทคโนโลยี
ทำให้ธุรกิจเทคโนโลยีขนาดเล็กที่ยังไม่มีกำไร
ไม่มีคุณสมบัติมากพอที่จะจดเข้าตลาดหุ้นใหญ่อย่าง NYSE
เลือกที่จะเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้น NASDAQ
และนั่นเป็นเหตุผลที่ว่าบริษัทเทคโนโลยีใหม่ๆ จะจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งนี้
ซึ่งในยุคบุกเบิกก็มีตั้งแต่ Cisco, Dell, Oracle, Microsoft และ Apple
แล้วตอนนี้ บริษัทใหญ่สุด 5 อันดับแรกใน NASDAQ มีใครบ้าง?
Apple มูลค่าบริษัท 50 ล้านล้านบาท
Microsoft มูลค่าบริษัท 49 ล้านล้านบาท
Amazon.com มูลค่าบริษัท 47 ล้านล้านบาท
Alphabet มูลค่าบริษัท 31 ล้านล้านบาท
Facebook มูลค่าบริษัท 22 ล้านล้านบาท
สิ่งที่น่าสนใจก็คือทั้ง 5 บริษัทนอกจากจะใหญ่ที่สุดใน NASDAQ แล้ว
บริษัทเหล่านี้ก็ยังเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกเช่นกัน
นอกเหนือจาก 5 บริษัทนี้ NASDAQ ก็ยังประกอบไปด้วยบริษัทที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมอีกหลายแห่ง เช่น Tesla, Adobe, Nvidia, Netflix, Gilead, Zoom รวมถึงบริษัทเทคโนโลยีจากประเทศจีนอย่าง Baidu และ JD.com
จะเห็นได้ว่าหากเราเอ่ยชื่อบริษัทเหล่านี้
หลายแห่งเป็นเจ้าของเทคโนโลยี
หรือ สินค้าที่เราใช้ในชีวิตประจำวันหลายอย่าง
และเมื่อเรามองจากภาพรวมวิกฤติในปีนี้
ไม่ว่าชีวิตจะเผชิญกับความวุ่นวายรูปแบบไหน
ผู้คนก็ไม่ได้เลิกใช้ Facebook
ไม่ได้เลิกค้นหาใน Google
ไม่ได้เลิกทำงานบน Microsoft Excel
ไม่ได้เลิกแต่งรูปบน Photoshop ของ Adobe
และไม่ได้เลิกดูซีรีส์บน Netflix..
เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่าวิกฤติโรคระบาดที่กำลังเล่นงานบริษัทหลายแห่ง
ในขณะเดียวกันกลับกลายเป็น “ตัวเร่ง” ให้พฤติกรรมของเราหันเข้าหาเทคโนโลยีเหล่านี้มากขึ้น
แล้วตอนนี้ NASDAQ ใหญ่ขนาดไหน?
เรามาดูมูลค่าตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก
NYSE (สหรัฐอเมริกา) ก่อตั้งมา 228 ปี
มีมูลค่า 653 ล้านล้านบาท
NASDAQ (สหรัฐอเมริกา) ก่อตั้งมา 49 ปี
มีมูลค่า 430 ล้านล้านบาท
JPX (ญี่ปุ่น) ก่อตั้งมา 142 ปี
มีมูลค่า 177 ล้านล้านบาท
SSE (จีน) ก่อตั้งมา 30 ปี
มีมูลค่า 152 ล้านล้านบาท
HKEX (ฮ่องกง) ก่อตั้งมา 129 ปี
มีมูลค่า 136 ล้านล้านบาท
จะเห็นได้ว่าแม้ NASDAQ จะก่อตั้งมาไม่นาน
แต่ตอนนี้กลายมาเป็นตลาดหลักทรัพย์
ที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับที่ 2 ของโลก
ถึงตรงนี้ ถ้าถามว่า ผู้ชนะ
ท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 ในปีนี้คือใคร
หนึ่งในนั้น คงต้องมีชื่อนี้
NASDAQ..
----------------------
อยากรู้ความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก ต้องเข้าใจอดีต
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
สั่งซื้อได้ที่ (รับส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
----------------------
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://www.slickcharts.com/nasdaq100
-https://www.londonstockexchange.com/indices?tab=ftse-indices
-https://www.bloomberg.com/
-https://www.jpx.co.jp/english/markets/indices/realvalues/index.html
-https://www.tradinghours.com/exchanges/
-Bloomberg
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.