dtac ปรับตัวอย่างไรท่ามกลางวิกฤติในปีนี้ ลงทุนแมน พูดคุยกับ คุณชารัด เมห์โรทรา CEO ของ dtac

dtac ปรับตัวอย่างไรท่ามกลางวิกฤติในปีนี้ ลงทุนแมน พูดคุยกับ คุณชารัด เมห์โรทรา CEO ของ dtac

30 ก.ค. 2020
dtac ปรับตัวอย่างไรท่ามกลางวิกฤติในปีนี้
ลงทุนแมน พูดคุยกับ คุณชารัด เมห์โรทรา CEO ของ dtac
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ลงทุนแมนมีโอกาสพูดคุยกับคุณชารัด เมห์โรทรา
CEO ของบริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ dtac
ปีนี้ เป็นปีที่ธุรกิจโทรคมนาคมในประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านอีกครั้ง
หลังจากในเดือนกุมภาพันธ์ เราประสบความสำเร็จในการประมูลคลื่นความถี่ 5G
เรื่องนี้ส่งผลให้ ประเทศไทยมีความพร้อม และสามารถวางรากฐานการพัฒนาเทคโนโลยีแห่งอนาคตได้อย่างรวดเร็วเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
แต่แล้ว วิกฤติโรคระบาดโควิด-19 ก็ได้เกิดขึ้น
ส่งผลให้ธุรกิจในหลายอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบ
ไม่เว้นแม้แต่ผู้ให้บริการเครือข่ายอย่าง dtac
แล้วครึ่งปีที่แรกผ่านมา
dtac รับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไร
และปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจอะไรบ้าง?
ข้อเท็จจริงจากวิกฤติโรคระบาดที่เกิดขึ้น
สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศที่สามารถรับมือกับโรคระบาดโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม เมื่อเรามาดูภาพรวมในแง่ของเศรษฐกิจประเทศไทยที่ต้องพึ่งพารายได้จากทั้งการส่งออก และท่องเที่ยวเป็นหลัก
นั่นจึงทำให้เศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวช้ากว่าที่คิด
พอเรื่องเป็นแบบนี้คุณชารัด CEO ของ dtac
ได้ให้ความเห็นว่าเมื่อรายได้ส่วนใหญ่ของคนไทยหายไป
อำนาจในการจับจ่ายใช้สอยของเราจะลดลง
ประกอบกับรายงานจาก World Bank คาดการณ์ว่าประชากรไทยกว่า 8.3 ล้านคนมีความเสี่ยงต่อการตกงาน และมีแนวโน้มว่าแรงงานดังกล่าวไหลกลับสู่ภูมิลำเนาอย่างมีนัยสำคัญ
เรื่องนี้สะท้อนมาจากปริมาณการใช้งานอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ภูมิลำเนาเติบโตสูงกว่ากรุงเทพฯ ถึง 5 เท่าในช่วงที่ผ่านมา
ในขณะเดียวกัน เมื่อโรคระบาดทำให้เศรษฐกิจภาคปกติหดตัวลงมันจึงกลายมาเป็นตัวเร่งให้ทั้งเรา และองค์กรหลายแห่ง หันเข้าหาเทคโนโลยี และการใช้งานช่องทางดิจิทัลที่มากขึ้น
คุณชารัด ได้ระบุเพิ่มเติมว่าคนไทยใช้งานอินเทอร์เน็ต ต่อเดือนเพิ่มขึ้นถึง 44%
ซึ่งสิ่งที่ทาง dtac พบเห็นเพิ่มเติมก็คือ การแลกสิทธิพิเศษ dtac reward ในหมวดการช้อปปิงออนไลน์ และบริการสั่งอาหารออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นกว่า 5 เท่า
สรุปง่าย ๆ ก็คือ พฤติกรรมของเราที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในอีกหลายปีข้างหน้า
กลับถูกเร่งให้เกิดขึ้น “ตอนนี้” ภายในระยะเวลาไม่กี่เดือน
แล้ว dtac ซึ่งเป็นองค์กรขนาดใหญ่ ปรับตัวอย่างไร?
คุณชารัดกล่าวว่า dtac ได้ปรับรูปแบบการทำงาน
โดยยึดหลักการทำงานแบบ Tight-Loose-Tight
อธิบายตามคอนเซ็ปต์ ง่าย ๆ คือ
Tight คือ การที่เรายังต้องมีเป้าหมายชัดเจนสำหรับการทำงาน
Loose คือ การที่เรามีความยืดหยุ่น มีความอิสระสำหรับการทำงานมากขึ้น
Tight คือ การที่เรายังคงต้องมีความรับผิดชอบไม่ว่าเราจะทำงานจากที่ไหน
ทั้งหมดนี้จึงทำให้ตั้งแต่ประเทศไทยปิดเมืองจนถึงปัจจุบัน พนักงานของ dtac กว่าร้อยละ 95 ยังทำงานแบบยืดหยุ่น โดยพนักงานจะสลับกันเข้าออฟฟิศในแต่ละสัปดาห์ หรือเฉพาะในวันที่จำเป็น
นอกจากการทำงานที่ยืดหยุ่นแล้ว dtac ก็ได้เริ่มนำระบบควบคุมอัตโนมัติมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
รวมถึงการให้พนักงานแต่ละแผนกภายในองค์กรเข้าสู่การแข่งขัน Botathon หรือการสร้างหุ่นยนต์ผู้ช่วย
โดยการแข่งขันมีจุดมุ่งหมายให้แต่ละแผนกคิดค้นตัวช่วยที่จะทำให้ย่นระยะเวลาการทำงาน และป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นจากความผิดพลาดของมนุษย์ให้ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกเหนือจากการปรับตัวภายในองค์กรแล้ว
แผนการลงทุนที่จะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
ก็มีการปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ เช่นกัน
ด้วยเหตุการณ์โรคระบาดที่ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของเราที่ชะลอตัวลง
รวมกับพฤติกรรมการเปลี่ยนสมาร์ตโฟนของเราที่กินระยะเวลานานขึ้น
สองเรื่องนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ dtac คาดการณ์ว่าความพร้อมของเราที่จะนำขีดความสามารถของเทคโนโลยี 5G ไปใช้ได้ยังมีจำกัด
ในขณะที่การลงทุนพัฒนาเทคโนโลยี 5G บนพื้นที่กลุ่มอุตสาหกรรมในโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC จะสามารถสร้างประสิทธิภาพได้ดีกว่า
เรื่องนี้จึงทำให้ dtac ลงทุนในการติดตั้งสถานีฐาน 5G คลื่น 26 GHz และคลื่น 700 MHz ในรูปแบบการใช้งานบน EEC เพื่อให้บริการกล้องตรวจการณ์อัจฉริยะ และบริการอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงประจำที่
นอกจากนี้ ทางบริษัทก็ได้ปรับกลยุทธ์การลงทุนเพิ่มเติมโดยทางบริษัทจะให้ความสำคัญกับการหลั่งไหลกลับภูมิลำเนาของแรงงานจำนวนมาก และเทรนด์การทำงานระยะไกล
เริ่มตั้งแต่การขยายบริการคลื่น 2300 MHz บนคลื่นทีโอที เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
ผ่านการลงทุนบนสถานีเรือข่าย 4G-TDD จำนวนมากกว่า 20,000 สาขา
รวมไปถึงการขาย Massive MIMO ในพื้นที่ที่มีการใช้งานหนาแน่นทั่วประเทศซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยยกระดับการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนสมาร์ตโฟน และเน็ตบ้านแบบใหม่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
แล้วนอกเหนือจากองค์กร การลงทุนแล้ว
ช่วงที่ผ่านมา dtac สร้างประสบการณ์อะไร
ให้กับลูกค้าบ้าง?
สิ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ สิทธิพิเศษจาก dtac reward ที่ทางบริษัทเข้าไปจับมือกับแพลตฟอร์มส่งอาหาร และร้านค้า เพื่อสนับสนุนชุมชนเหล่านี้ยังคงสร้างรายได้ พร้อมทั้งลูกค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษ
นอกจากนั้น ทางบริษัทก็ยังมีสิทธิพิเศษในรูปแบบของประกันสุขภาพ และปรับระดับราคาค่าบริการที่เป็นมิตรมากขึ้นเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินให้กับลูกค้าที่เป็นคนฐานใหญ่ของประเทศ
สิ่งเหล่านี้ก็เป็นความเคลื่อนไหวของ dtac ตลอดระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา
ซึ่งเรื่องดังกล่าวก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาที่น่าสนใจ
เพราะแม้ว่า dtac จะเป็นองค์กรใหญ่ขนาดไหน
แต่ทางบริษัทก็มีความพร้อมของคนในองค์กร
มีความเด็ดขาดในการตัดสินใจลงทุนตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
รวมถึงการยึดผลประโยชน์ของผู้บริโภค และพันธมิตรทางธุรกิจเป็นสำคัญ
ทั้งหมดนี้จึงได้ทำให้ dtac ประสบความสำเร็จ ผ่านวิกฤติครึ่งปีแรกมาอย่างมีประสิทธิภาพ..
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.