ความรู้แบบเป็ด สิ่งสำคัญของ การบูรณาการความรู้ ในยุคนี้

ความรู้แบบเป็ด สิ่งสำคัญของ การบูรณาการความรู้ ในยุคนี้

29 ก.ย. 2020
ความรู้แบบเป็ด สิ่งสำคัญของ การบูรณาการความรู้ ในยุคนี้ /โดย ลงทุนแมน
ความรู้แบบเป็ด คือรู้ทุกเรื่อง แต่ไม่รู้ลึกสักอย่าง
เป็นคำสบประมาท และเป็นข้ออ้างที่ทำให้เราไม่ต้องไปหาความรู้ในหลายๆ เรื่อง
แต่รู้ไหมว่า ความรู้แบบเป็ด มันจะช่วยทำให้เราอยู่รอดได้ในยุคนี้
เพราะความลึกในสมัยนี้มันสามารถหากันได้
แต่ความเชื่อมโยงข้อมูลความรู้หลายอย่างเข้าด้วยกัน มันเป็นสิ่งที่ขาดแคลน
คนที่รวยสุดเมื่อ 100 ปีที่แล้ว คือ John D. Rockefeller แต่วันนี้คือ Jeff Bezos
John D. Rockefeller ทำธุรกิจน้ำมัน
Jeff Bezos ทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซและคลาวด์
จริงๆ แล้ว ธุรกิจอีคอมเมิร์ซและคลาวด์ หัวใจสำคัญของมันก็คือ การนำข้อมูลมหาศาลมาวิเคราะห์
จึงไม่แปลกว่าเรากำลังอยู่ในยุคที่มีคนบอกว่า ข้อมูล มีค่ายิ่งกว่า น้ำมัน
ข้อมูลเป็นสิ่งที่ทำให้เราได้รู้ความเป็นไป และความแตกต่างในโลกนี้
ตั้งแต่ประเทศเอธิโอเปียที่มีค่าแรงต่ำสุดวันละ 27 บาท
ไปจนถึงลักเซมเบิร์กที่มี GDP ต่อหัวมากที่สุดในโลกที่ปีละ 3.5 ล้านบาท
แล้วมีอะไรน่ารู้อีกบ้าง?
ลงทุนแมนจะยกตัวอย่างประเด็นความรู้แบบเป็ดให้ฟัง
1. รู้หรือไม่ว่าบริษัทซัมซุงจากเกาหลีใต้ มีมูลค่าบริษัทมากกว่า บริษัทโตโยต้าจากญี่ปุ่น เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในสมัยนี้มีมูลค่าไม่แพ้รถยนต์
2. ถึงแม้คนรวยสุดในเกาหลีใต้จะเป็นเจ้าของซัมซุง แต่เขายังรวยไม่เท่า คนญี่ปุ่นที่เป็นเจ้าของบริษัทเสื้อผ้าแบรนด์ UNIQLO
3. ในขณะที่คนรวยสุดในสิงคโปร์กลับเป็นคนจีนที่ถือสัญชาติสิงคโปร์ และเป็นเจ้าของร้านชาบูหม้อไฟ Hai Di Lao
4. ซึ่งสิงคโปร์ยังเป็นที่ตั้งโรงงาน Dyson ที่ผลิตเครื่องดูดฝุ่น ซึ่งทำให้เจ้าของชื่อ Sir James Dyson เป็นบุคคลที่รวยสุดในอังกฤษ
5. อ่านมาถึงตรงนี้ เราบูรณาการความรู้ได้ว่าอะไร? สังเกตได้ว่า คนรวยสุดมักจะขายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตของผู้คน ไม่ใช่สิ่งที่เข้าใจยาก ทั้งเสื้อผ้า ชาบูหม้อไฟ เครื่องดูดฝุ่น
6. เครื่องดูดฝุ่นอีกยี่ห้อหนึ่งที่ขายดีคือ Electrolux ซึ่งเป็นแบรนด์ของประเทศสวีเดน ซึ่งสวีเดนเป็นตัวอย่างของประเทศที่มีคนไม่มาก แต่ถ้าผลิตสินค้าไปยุ่งเกี่ยวกับชีวิตคนทั่วโลกได้ ก็สำเร็จได้เหมือนกัน
7. ตัวอย่างแบรนด์สวีเดนคือ Spotify, IKEA, H&M, Electrolux โดยที่ Spotify เป็นบริษัทที่ก่อตั้งมาได้ 14 ปี แต่ตอนนี้เป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเพลงออนไลน์ที่มีผู้ใช้งานมากสุดในโลก คนทั่วโลกกำลังติดการใช้ Spotify
8. แต่สิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตผู้คนมาก ก็ไม่จำเป็นว่าจะสำเร็จเสมอไป ตัวอย่างคือ การรถไฟแห่งประเทศไทยขาดทุนมาก มีหนี้สินรวมกัน 6 แสนล้านบาท ตัวเลขนี้เป็น 3 เท่าของงบประมาณกระทรวงคมนาคมทั้งหมดในปี 2562
9. หนี้สินของการรถไฟ 6 แสนล้านบาท ในขณะที่ในช่วงเวลาเดียวกันในประเทศไทย ก็มีคนหนึ่งสามารถ “สร้างสินทรัพย์” ให้มีขนาดใกล้เคียงกับ “หนี้สิน” ของการรถไฟ นั่นก็คือ คุณเจริญ สิริวัฒนภักดี หนึ่งในเศรษฐีรวยสุดในไทย ที่สร้างตัวด้วยตัวเองในรุ่นเดียว โดยเขาเริ่ม รับจ้างเข็นรถสินค้า และขายของตามทางเท้าตั้งแต่วัยเด็ก ก่อนมาเป็นลูกจ้างบริษัทสุรา
10. ในอีกซีกโลกหนึ่ง ชีวิตวัยเด็กของคนหนึ่งชื่อ Sundar Pichai อยู่ที่รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย มีฐานะยากจน แต่เพราะเขาเรียนเก่ง มุ่งมั่น จนสอบติดมหาวิทยาลัยชั้นนำของอินเดีย และได้ทุนเรียนต่อ Stanford ในวันนี้เขาเป็น CEO ของบริษัท Google บริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีของโลก
11. อ่านมาถึงตรงนี้ เราบูรณาการข้อมูลได้ว่าอะไร? สังเกตได้ว่า หลายคนที่สำเร็จไม่เกี่ยวกับ ฐานะตอนเกิดของเขา ต้นทุนชีวิตตอนเกิดเป็นปัจจัยที่เล็กมาก ถ้าเราหาหนทาง พยายาม สุดท้ายก็น่าจะสำเร็จได้
12. นี่คือตัวอย่างความรู้แบบเป็ด ที่เมื่อเรารู้เรื่องทีละนิด เราสามารถจับมันมาเชื่อมโยง และทำให้เรามองเห็นความสัมพันธ์ของเรื่องต่างๆ ที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวกัน แต่มีบางอย่างที่คล้ายกัน
13. เรื่องทั้งหมดนี้ที่ลงทุนแมนเขียนได้ ก็ไม่ได้หาข้อมูลวันเดียว แต่สะสมความรู้ต่อเนื่องมาหลายปี ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราเลือกที่จะบูรณาการความรู้ด้านอะไร
14. และเรื่องที่กล่าวมาทั้งหมดเราจะรู้ได้ ถ้าเราอ่านหนังสือ ลงทุนแมน 13.0 ที่เพิ่งออกใหม่ ซึ่งเหลือ 350 เล่มสุดท้ายเท่านั้น ถ้าไม่อยากพลาด สั่งซื้อได้ที่
Lazada: https://www.lazada.co.th/products/130-i1587474257-s4309842746.html
Shopee: https://shopee.co.th/Longtunman-หนังสือลงทุนแมน-13.0-i.116732911.7453767586
15. ปิดท้ายของบทความนี้ด้วย ตัวอย่างข้อความในหนังสือ ลงทุนแมน 13.0 เรื่อง Sundar Pichai ที่ลงทุนแมนชอบ
“ไม่ว่าเราจะสัญชาติอะไร เกิดมาเป็นแบบไหน
แต่ถ้าเราเอาจริง
ก็คงไม่มีใครมาขวางเราได้..”
แต่คำถามที่สำคัญก็คือ
แล้ววันนี้ เราเอาจริง แล้วหรือยัง?
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.