ทำไมเรากินเยอะขึ้น เวลาสั่งบุฟเฟต์

ทำไมเรากินเยอะขึ้น เวลาสั่งบุฟเฟต์

12 พ.ย. 2020
ทำไมเรากินเยอะขึ้น เวลาสั่งบุฟเฟต์ /โดย ลงทุนแมน
คุณเคยมีพฤติกรรมเหล่านี้หรือไม่?
กินบุฟเฟต์จนจุกเพราะเสียดายเงิน สุดท้ายปวดท้องต้องเสียเงินค่ายารักษาเพิ่ม
ไปเล่นฟิตเนสทั้งๆ ที่ร่างกายไม่พร้อม เพียงเพราะเสียดายค่าสมาชิก
หรือแม้แต่ไม่กล้าเลิกกับแฟนที่คบกันมานาน เพราะเสียดายเวลา..
หากคุณมีพฤติกรรมเหล่านี้
คุณอาจติดกับดัก Sunk Cost Fallacy
แล้วมันคืออะไร ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนที่จะไปรู้จักกับ Sunk Cost Fallacy
เรามาทำความรู้จักกับ Sunk Cost กันก่อน
โดย Sunk Cost คือ ต้นทุนที่เราเสียไปแล้ว และเราไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้
ยกตัวอย่างเช่น คุณเป็นเจ้าของบริษัท ลงทุนในแคมเปญโฆษณาไป 50,000 บาท เพื่อกระตุ้นยอดขาย แต่กลายเป็นว่าแคมเปญนั้นไม่ประสบความสำเร็จ เงินลงทุน 50,000 บาท ที่เสียไปนั้น เราเรียกว่า Sunk Cost
แล้ว Sunk Cost Fallacy คืออะไร?
Sunk Cost Fallacy แปลตรงตัวว่า อคติต้นทุนจม หรือก็คือเมื่อการตัดสินใจของเราขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในอดีต มากกว่าการตัดสินใจที่มีเหตุผล
และรู้หรือไม่ว่า หลายคนก็มักติดกับดัก Sunk Cost Fallacy
ทีนี้เรามาดู การทดสอบคอนเซปต์ Sunk Cost Fallacy ของอาจารย์มหาวิทยาลัยกับกลุ่มนักเรียนของเขา
Hal Arkes และ Catherine Blumer ได้ทำการทดสอบโดยจำลองสถานการณ์ให้นักเรียนซื้อตั๋วเล่นสกีที่รัฐมิชิแกน มูลค่า 100 ดอลลาร์สหรัฐ
หลายสัปดาห์ถัดมา กลุ่มนักเรียนเจอสถานที่เล่นสกีในรัฐวิสคอนซินที่พวกเขาอยากไปมากกว่า พวกเขาจึงจองตั๋วเล่นสกีไป มูลค่า 50 ดอลลาร์สหรัฐ
แต่ทันทีที่นักเรียนกำลังเก็บตั๋วเล่นสกีลงกระเป๋า นักเรียนเหล่านั้นก็พบว่า สกี 2 ทริป นั้น ถูกจองวันเดียวกันและตั๋วเหล่านั้นก็ไม่สามารถคืนเงินได้
ถ้าเป็นเรา เราจะไปที่ไหน ระหว่างไปเล่นสกีที่รัฐมิชิแกน กับไปเล่นสกีที่รัฐวิสคอนซิน?
เก็บคำตอบของเราไว้ แล้วมาดูผลลัพธ์กัน
54% ของนักเรียนทั้งหมดกลับเลือกที่จะไปเล่นสกีที่มิชิแกน เพียงเพราะเสียดายเงินค่าตั๋วที่แพงกว่า
ซึ่งเงินค่าสกีเหล่านั้นถือเป็น Sunk Cost ซึ่งก็คือต้นทุนที่เราไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้แล้ว
การตัดสินใจที่มีเหตุผลก็ควรเป็นการไปเล่นสกีที่วิสคอนซินที่คุณอยากไปมากกว่า
นอกจากเรื่องของตั๋วเล่นสกีแล้ว
Sunk Cost Fallacy ก็ยังเกิดขึ้นกับอีกหลายเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันของเรา
ไม่ว่าจะเป็นการที่เรากินเยอะขึ้นทั้ง ๆ ที่อิ่มแล้ว เวลาไปกินบุฟเฟต์
การที่เราถัวหุ้น ทั้งที่พื้นฐานได้เปลี่ยนไปแล้ว แต่เรากลับไม่ยอมรับ
หรือแม้แต่การบอกเลิกกับแฟนที่เราคบมานานแล้ว เพียงเพราะเสียดายเวลา
หากเราเป็นคนหนึ่งที่มีพฤติกรรมแบบนี้ เราก็อาจเป็นคนที่กำลังติดกับดัก
ที่ชื่อว่า Sunk Cost Fallacy ซึ่งมันอาจนำไปสู่การพลาดโอกาสอะไรหลายอย่างในชีวิตเรา..
----------------------
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
----------------------
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.