
ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน กำลังมีสัดส่วนลดลงเรื่อยๆ
ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน กำลังมีสัดส่วนลดลงเรื่อย ๆ /โดย ลงทุนแมน
รู้หรือไม่ว่า จากการจัดอันดับ 10 มหาเศรษฐีชาวมาเลเซียที่มีทรัพย์สินมากที่สุดโดยนิตยสาร Forbes
จะเป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนถึง 9 คน
จะเป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนถึง 9 คน
ปี 2020 ประเทศมาเลเซียมีจำนวนประชากรที่ถือสัญชาติมาเลย์ทั้งหมด 29.7 ล้านคน
- 69.6% คือจำนวนประชากรภูมิบุตร หรือชาวมาเลเซียเชื้อสายมาเลย์ที่นับถือศาสนาอิสลาม
- 22.6% คือจำนวนชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน
- 7.8% คือจำนวนชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดียและอื่น ๆ
- 69.6% คือจำนวนประชากรภูมิบุตร หรือชาวมาเลเซียเชื้อสายมาเลย์ที่นับถือศาสนาอิสลาม
- 22.6% คือจำนวนชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน
- 7.8% คือจำนวนชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดียและอื่น ๆ
จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ถึงแม้จะเป็นมหาเศรษฐีอันดับต้น ๆ ของประเทศ
สร้างผลประโยชน์ให้กับเศรษฐกิจของมาเลเซียมากมาย
แต่ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน ก็ยังคงมีจำนวนประชากรที่เป็นส่วนน้อยของประเทศ
และสัดส่วนนี้ก็กำลังจะลดน้อยลงเรื่อย ๆ ..
สร้างผลประโยชน์ให้กับเศรษฐกิจของมาเลเซียมากมาย
แต่ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน ก็ยังคงมีจำนวนประชากรที่เป็นส่วนน้อยของประเทศ
และสัดส่วนนี้ก็กำลังจะลดน้อยลงเรื่อย ๆ ..
เรื่องราวนี้น่าสนใจอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
จุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ระหว่างชาวจีนกับมาเลเซีย ต้องย้อนกลับไปในช่วงต้นศตวรรษที่ 15
ซึ่งเป็นช่วงแรกของการเดินทางมายังดินแดนแห่งนี้ของชาวจีน
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
จุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ระหว่างชาวจีนกับมาเลเซีย ต้องย้อนกลับไปในช่วงต้นศตวรรษที่ 15
ซึ่งเป็นช่วงแรกของการเดินทางมายังดินแดนแห่งนี้ของชาวจีน
จากการที่ราชวงศ์หมิงจากจีนและอาณาจักรมะละกามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
จึงทำให้มีชาวจีนมากมายเดินทางมาค้าขายที่ดินแดนแห่งนี้เรื่อยมา
จึงทำให้มีชาวจีนมากมายเดินทางมาค้าขายที่ดินแดนแห่งนี้เรื่อยมา
ความอุดมสมบูรณ์ ทำให้พ่อค้าชาวจีนบางกลุ่มได้ตัดสินใจตั้งรกรากที่นี่
และได้มีการแต่งงานข้ามเชื้อชาติกับชาวมาเลย์
โดยลูกหลานของชาวจีนที่แต่งงานกับชาวมาเลย์จะถูกเรียกว่า “เปอรานากัน”
ซึ่งในภาษามาเลย์แปลว่า “เกิดที่นี่”
และได้มีการแต่งงานข้ามเชื้อชาติกับชาวมาเลย์
โดยลูกหลานของชาวจีนที่แต่งงานกับชาวมาเลย์จะถูกเรียกว่า “เปอรานากัน”
ซึ่งในภาษามาเลย์แปลว่า “เกิดที่นี่”
ชาวเปอรานากันคือกลุ่มลูกครึ่งมาเลย์-จีนกลุ่มแรก ที่สร้างวัฒนธรรมแบบผสมผสาน
และเป็นต้นแบบของการอยู่ร่วมกันในสังคมที่หลากหลายของมาเลเซีย
และเป็นต้นแบบของการอยู่ร่วมกันในสังคมที่หลากหลายของมาเลเซีย
การเปลี่ยนแปลงสำคัญ คือช่วงศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา
ซึ่งตรงกับช่วงประเทศจีนเกิดความวุ่นวายมากมาย ทั้งการปฏิวัติซินไฮ่ สงครามมหาเอเชียบูรพา และการปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์
ซึ่งตรงกับช่วงประเทศจีนเกิดความวุ่นวายมากมาย ทั้งการปฏิวัติซินไฮ่ สงครามมหาเอเชียบูรพา และการปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์
ด้วยปัญหามากมายของประเทศจีน จึงทำให้ชาวจีนจำนวนมากอพยพไปยังต่างประเทศ
ด้วยความต้องการชีวิตที่ดีกว่า โดยจุดหมายยอดนิยมในสมัยนั้นก็คือประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าจะเป็น ไทย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และมาเลเซีย
ด้วยความต้องการชีวิตที่ดีกว่า โดยจุดหมายยอดนิยมในสมัยนั้นก็คือประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าจะเป็น ไทย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และมาเลเซีย
ซึ่งในขณะนั้น ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่ยังถูกปกครองโดยเจ้าอาณานิคมชาวตะวันตก โดยประเทศที่ถูกปกครองโดยจักรวรรดิอังกฤษในสมัยนั้นจะถูกวางรากฐานทางด้านการเมือง การศึกษา เศรษฐกิจ และโครงสร้างพื้นฐานเป็นอย่างดี
ประกอบกับในสมัยนั้น อังกฤษต้องการแรงงานจำนวนมากเพื่อที่จะทำงานในเหมืองแร่และการเกษตร
ประกอบกับในสมัยนั้น อังกฤษต้องการแรงงานจำนวนมากเพื่อที่จะทำงานในเหมืองแร่และการเกษตร
ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้บริติชมาลายา หรือมาเลเซียในปัจจุบัน
กลายเป็นหนึ่งในจุดหมายที่ชาวจีนนิยมย้ายมาตั้งถิ่นฐาน
กลายเป็นหนึ่งในจุดหมายที่ชาวจีนนิยมย้ายมาตั้งถิ่นฐาน
ชาวจีนในมาเลเซียและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค มีความเหมือนกันตรงที่พวกเขาอพยพมาแค่เสื่อผืนหมอนใบ ไม่มีอะไรติดตัวมาเลย นอกจากความหวังในการแสวงหาชีวิตที่ดีกว่าจีนแผ่นดินใหญ่ จึงทำให้ชาวจีนโพ้นทะเลมีความขยันขันแข็งและหนักเอาเบาสู้
ด้วยความที่ไม่เกี่ยงงาน จึงทำให้คนจีนได้เป็นลูกจ้างในงานที่คนมาเลเซียเดิมไม่อยากทำ
ไม่ว่าจะเป็นงานในหมืองแร่ สวนยางพารา สวนปาล์ม หรือตำแหน่งที่อยู่หน้างานเป็นหลัก
ไม่ว่าจะเป็นงานในหมืองแร่ สวนยางพารา สวนปาล์ม หรือตำแหน่งที่อยู่หน้างานเป็นหลัก
เวลาผ่านไปเรื่อย ๆ ส่งผลให้คนจีนสามารถขยับตัวมาเป็นพ่อค้าแม่ค้าหรือนักธุรกิจ
ที่ทำมาค้าขายจนสามารถสร้างเนื้อสร้างตัวจนกลายเป็นเชื้อชาติที่มีฐานะมากที่สุดในมาเลเซีย
ที่ทำมาค้าขายจนสามารถสร้างเนื้อสร้างตัวจนกลายเป็นเชื้อชาติที่มีฐานะมากที่สุดในมาเลเซีย
ข้อมูลจาก MIROnline ระบุว่าชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนจะมีรายได้เฉลี่ยมากกว่าเชื้อชาติอื่น ๆ ในมาเลเซีย
ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนมีความแตกต่างกับชาวไทยเชื้อสายจีนตรงที่ ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนยังคงตั้งชื่อลูกหลานของตัวเองเป็นชื่อภาษาจีน และจะใช้ภาษาจีนในการสื่อสารกับชาวจีนด้วยกันเอง
ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนมีความได้เปรียบทางด้านภาษาที่สามารถสื่อสารทั้งภาษาจีน, ภาษามาเลย์ และภาษาอังกฤษ จึงทำให้สามารถได้รับโอกาสจากบริษัทข้ามชาติและการค้าขายระหว่างประเทศมากกว่าเชื้อชาติอื่น ๆ
ซึ่งไม่เหมือนกับชาวไทยเชื้อสายจีน ที่จะมีชื่อเป็นภาษาไทยและใช้ภาษาไทยในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน
จากเชื้อชาติที่เริ่มต้นจากศูนย์ กลับกลายมาเป็นเชื้อชาติที่สามารถวางรากฐาน
ให้กับเศรษฐกิจของมาเลเซียมากมาย..
ให้กับเศรษฐกิจของมาเลเซียมากมาย..
ไม่ว่าจะเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดและมีมูลค่ามากที่สุดในตลาดหลักทรัพย์มาเลเซียอย่าง Maybank ก็ถูกก็ตั้งโดยชาวจีนชื่อว่าคุณ Khoo Teck Puat
แอปพลิเคชันที่คนไทยใช้สั่งอาหารออนไลน์อย่าง Grab ก็ถูกก่อตั้งโดยคุณ Anthony Tan
ซึ่งเป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน เช่นกัน
ซึ่งเป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน เช่นกัน
จากข้อมูลของ Department of Statistics Malaysia ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของรัฐบาลมาเลเซีย
ในปี 2010 จากจำนวนประชากรที่ถือสัญชาติมาเลย์ทั้งหมด 26.0 ล้านคน
มีชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน 6.4 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 24.6%
มีชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน 6.4 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 24.6%
ปี 2020 จากจำนวนประชากรที่ถือสัญชาติมาเลย์ทั้งหมด 29.7 ล้านคน
มีชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน 6.7 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 22.6%
มีชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน 6.7 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 22.6%
ถึงแม้ว่าประชากรเชื้อสายจีนจะเพิ่มมากขึ้น แต่เมื่อเทียบกับสัดส่วนของประชากรมาเลเซียทั้งหมดแล้ว ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนกำลังมีสัดส่วนลดน้อยลงเรื่อย ๆ
ภายในปี 2030 สัดส่วนของคนเชื้อสายจีน ถูกคาดว่าจะเหลือเพียง 19.6%
ภายในปี 2030 สัดส่วนของคนเชื้อสายจีน ถูกคาดว่าจะเหลือเพียง 19.6%
สาเหตุหนึ่งมาจากอัตราการเจริญพันธุ์ที่ลดลง แต่สาเหตุสำคัญมาจากการอพยพออกนอกประเทศของคนเชื้อสายจีน โดยรัฐบาลมาเลเซียคาดการณ์ว่า
มีคนเชื้อสายจีนอพยพออกนอกประเทศไม่ต่ำกว่า 300,000 คน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
มีคนเชื้อสายจีนอพยพออกนอกประเทศไม่ต่ำกว่า 300,000 คน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
สาเหตุหลักของการอพยพออกนอกประเทศมากขนาดนี้ เกิดจากความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติในมาเลเซียที่มีมาเป็นเวลานาน
จุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง คือเหตุการณ์ในปี 1969 ซึ่งเกิดการปะทะกันระหว่างชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนและมาเลย์
เหตุการณ์ดังกล่าวมีสาเหตุมาจากการที่พรรคพันธมิตรฝ่ายค้าน ซึ่งมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน และมีนโยบายเน้นความเสมอภาคของทุกเชื้อชาติในประเทศ สามารถคว้าที่นั่งในสภาได้ถึง 38 ที่นั่ง ซึ่งมากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ ส่งผลให้สมาชิกพรรคพันธมิตรฝ่ายค้านและชาวจีนออกมาเดินขบวนแสดงความดีใจเป็นจำนวนมาก
การเดินขบวนของชาวจีนในครั้งนั้น สร้างความไม่พอใจให้กับชาวมาเลย์จำนวนมาก จึงทำให้พรรค UMNO ซึ่งเป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซียได้มีการตอบโต้โดยการรวบรวมชาวมาเลย์มาเดินขบวนเช่นกัน
กระแสความเกลียดชังต่อชาวจีนที่ได้ถูกจุดมาสักระยะหนึ่งแล้วจากความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา และที่สำคัญที่สุดก็คือความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างชาวจีนและมาเลย์
สุดท้ายปัญหานี้ก็ได้ระเบิดขึ้น ส่งผลให้ชาวมาเลย์มากมายออกมาเดินขบวน จนกลายเป็นการปะทะกันระหว่างชาวมาเลย์และชาวจีน
สุดท้ายปัญหานี้ก็ได้ระเบิดขึ้น ส่งผลให้ชาวมาเลย์มากมายออกมาเดินขบวน จนกลายเป็นการปะทะกันระหว่างชาวมาเลย์และชาวจีน
เหตุการณ์ดังกล่าวกินเวลานานถึง 2 เดือน ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 คน
และมีผู้บาดเจ็บนับไม่ถ้วน ยังไม่รวมความเสียหายในด้านทรัพย์สินอีกมากมาย
และมีผู้บาดเจ็บนับไม่ถ้วน ยังไม่รวมความเสียหายในด้านทรัพย์สินอีกมากมาย
หลังจากการปะทะที่นองเลือดได้สิ้นสุดลง รัฐบาลมาเลเซียที่นำโดยพรรค UMNO ได้ประกาศนโยบายเศรษฐกิจใหม่หรือ “นโยบายภูมิบุตร” เพื่อลดช่องว่างทางเศรษฐกิจในประเทศ
ลดฐานะความยากจนของคนเชื้อสายมาเลย์ และเพิ่มความสามัคคีของคนในชาติ
ลดฐานะความยากจนของคนเชื้อสายมาเลย์ และเพิ่มความสามัคคีของคนในชาติ
นโยบายดังกล่าวจะสนับสนุนเฉพาะชาวมาเลเซียที่สืบเชื้อสายมาเลย์ และนับถือศาสนาอิสลามเท่านั้น โดยจะได้สิทธิพิเศษทั้งด้านการศึกษา การสงวนที่ดินบางส่วน ตำแหน่งข้าราชการบางตำแหน่ง และสิทธิพิเศษอื่น ๆ อีกมากมาย
นโยบายดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนและอินเดียจำนวนมาก
โดยถูกมองว่าเป็นนโยบายที่เอาเปรียบคนเชื้อชาติอื่น ๆ มีความเป็นสองมาตรฐาน
ทำให้ชาวจีนและอินเดีย กลายเป็นประชากรชนชั้นสองของประเทศไปในที่สุด
โดยถูกมองว่าเป็นนโยบายที่เอาเปรียบคนเชื้อชาติอื่น ๆ มีความเป็นสองมาตรฐาน
ทำให้ชาวจีนและอินเดีย กลายเป็นประชากรชนชั้นสองของประเทศไปในที่สุด
แม้ปัจจุบันนี้ฐานะของคนมาเลย์จะดีขึ้นกว่าเดิมมาก ซึ่งเป็นผลสำเร็จของนโยบายภูมิบุตร
แต่นโยบายดังกล่าวยังคงมีอยู่ต่อไป โดยไม่มีทีท่าว่าจะเปลี่ยนแปลง..
แต่นโยบายดังกล่าวยังคงมีอยู่ต่อไป โดยไม่มีทีท่าว่าจะเปลี่ยนแปลง..
ด้วยความเหลื่อมล้ำนี้เอง ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนจึงเริ่มอพยพไปยังประเทศอื่น ๆ
เพื่อมองหาความเสมอภาคทางเชื้อชาติ และโอกาสทางธุรกิจที่ดีกว่า
เพื่อมองหาความเสมอภาคทางเชื้อชาติ และโอกาสทางธุรกิจที่ดีกว่า
ชาวจีนที่มีความสามารถ ส่วนหนึ่งเลือกที่จะไปทำงานที่สิงคโปร์เนื่องจากความคล้ายคลึงกันของวัฒนธรรมของชาวจีนทั้งในมาเลเซียและสิงคโปร์ รองลงมาก็จะเป็นออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และแคนาดา
ตัวอย่างที่เราพอจะเห็นได้ในปัจจุบัน เช่น บริษัท Grab Holdings Inc. หรือ Grab ที่ได้ย้ายสำนักงานจากมาเลเซียไปตั้งที่สิงคโปร์ หรือ คุณ James Wan ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง The Conjuring ที่ได้อพยพไปยังออสเตรเลีย และถือสัญชาติออสเตรเลียเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
การอพยพไปยังประเทศอื่นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดภาวะสมองไหล ที่จะทำให้สูญเสียแรงงานที่มีทักษะสูง และมีประสิทธิภาพที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
รัฐบาลมาเลเซียพยายามแก้ปัญหานี้โดยจัดตั้งโครงการ TalentCorp เพื่อที่จะดึงดูดชาวมาเลเซียที่เป็นแรงงานทักษะสูงในต่างประเทศให้กลับมาทำงานที่บ้านเกิด
เว็บไซต์ Malay Mail ระบุว่าโครงการดังกล่าวสามารถดึงดูดชาวมาเลเซียได้เพียง 3,000 คน เท่านั้น
จากจำนวนแรงงานมาเลเซียที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก
จากจำนวนแรงงานมาเลเซียที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก
ตราบใดที่นโยบายภูมิบุตรยังคงมีอยู่ต่อไป ก็เป็นไปได้ว่า
มาเลเซียกำลังสูญเสียทรัพยากรที่มีค่าที่สุดของประเทศไปเรื่อย ๆ
มาเลเซียกำลังสูญเสียทรัพยากรที่มีค่าที่สุดของประเทศไปเรื่อย ๆ
ไม่มีใครรู้ว่าอนาคตทางเศรษฐกิจของมาเลเซียจะเป็นอย่างไร เมื่อกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจกำลังลดน้อยลงทุกที..
นโยบายภูมิบุตรของมาเลเซียจึงนับเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ
เพราะนโยบายนี้เกิดขึ้นมา เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ
แต่สุดท้ายกลับกลายเป็น สร้างความเหลื่อมล้ำครั้งใหม่ ขึ้นมาเสียเอง..
----------------------
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
----------------------
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
แต่สุดท้ายกลับกลายเป็น สร้างความเหลื่อมล้ำครั้งใหม่ ขึ้นมาเสียเอง..
----------------------
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
----------------------
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.dosm.gov.my/v1/index.php?r=column/ctheme&menu_id=L0pheU43NWJwRWVSZklWdzQ4TlhUUT09&bul_id=MDMxdHZjWTk1SjFzTzNkRXYzcVZjdz09
-https://www.dosm.gov.my/v1/index.php?r=column/cthemeByCat&cat=155&bul_id=OVByWjg5YkQ3MWFZRTN5bDJiaEVhZz09&menu_id=L0pheU43NWJwRWVSZklWdzQ4TlhUUT09
-https://www.forbes.com/real-time-billionaires/#7f178efb3d78
-https://www.mironline.ca/malaysias-chinese-population-leaving-droves/
-http://km-ir.arts.tu.ac.th/files/original/d110118c633ff3969f6916f77579af60f4db8275.pdf
-http://factsanddetails.com/southeast-asia/Malaysia/sub5_4c/entry-3645.html
-https://www.straitstimes.com/asia/se-asia/falling-malaysian-chinese-population-worrying-analysts
-http://www.aseanthai.net/sub_convert.php?nid=4300
-http://aseancities.net/?p=800&lang=th
-https://www.bbc.com/news/world-asia-22610210
-https://www.malaysianbar.org.my/article/news/legal-and-general-news/general-news/the-tragedy-of-may-13-1969
-https://www.malaymail.com/news/what-you-think/2020/07/06/brain-drain-in-malaysia-why-malaysians-dont-want-to-come-back-home-rueben-a/1881901
-https://www.dosm.gov.my/v1/index.php?r=column/ctheme&menu_id=L0pheU43NWJwRWVSZklWdzQ4TlhUUT09&bul_id=MDMxdHZjWTk1SjFzTzNkRXYzcVZjdz09
-https://www.dosm.gov.my/v1/index.php?r=column/cthemeByCat&cat=155&bul_id=OVByWjg5YkQ3MWFZRTN5bDJiaEVhZz09&menu_id=L0pheU43NWJwRWVSZklWdzQ4TlhUUT09
-https://www.forbes.com/real-time-billionaires/#7f178efb3d78
-https://www.mironline.ca/malaysias-chinese-population-leaving-droves/
-http://km-ir.arts.tu.ac.th/files/original/d110118c633ff3969f6916f77579af60f4db8275.pdf
-http://factsanddetails.com/southeast-asia/Malaysia/sub5_4c/entry-3645.html
-https://www.straitstimes.com/asia/se-asia/falling-malaysian-chinese-population-worrying-analysts
-http://www.aseanthai.net/sub_convert.php?nid=4300
-http://aseancities.net/?p=800&lang=th
-https://www.bbc.com/news/world-asia-22610210
-https://www.malaysianbar.org.my/article/news/legal-and-general-news/general-news/the-tragedy-of-may-13-1969
-https://www.malaymail.com/news/what-you-think/2020/07/06/brain-drain-in-malaysia-why-malaysians-dont-want-to-come-back-home-rueben-a/1881901