กองทุนระดับโลกที่เน้นด้าน Financial Service  กองแรกและกองเดียวของประเทศไทย

กองทุนระดับโลกที่เน้นด้าน Financial Service กองแรกและกองเดียวของประเทศไทย

2 พ.ย. 2017
กองทุนระดับโลกที่เน้นด้าน Financial Service
กองแรกและกองเดียวของประเทศไทย
/ โดย KTAM
 
ถ้าถามว่าภาคธุรกิจอะไรมีบทบาทมากที่สุดของโลกมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นธุรกิจภาคการเงิน ซึ่งเป็นเหมือนฟันเฟืองที่สำคัญในการขับเคลื่อนภาคธุรกิจต่าง ๆ ของทุกประเทศ และเป็นพื้นฐานที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจโลก
 
รู้ไหมว่าธนาคารเป็นธุรกิจที่เริ่มมีตั้งแต่สมัย 2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ตั้งแต่นั้นมาธุรกิจนี้ก็จำเป็นกับสังคมมนุษย์เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และก็น่าจะมีอยู่ตราบเท่าที่ยังมีมนุษย์อยู่บนโลกนี้ “ธนาคารและธุรกิจ เป็นของคู่กัน เหมือนน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่านั่นเอง”
 
ธนาคารไม่เหมือนกับธุรกิจอื่นที่อาจจะเสื่อมถอยไปตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ธนาคารและภาคการเงินมีลักษณะพิเศษ เป็นตัวกลางเชื่อมโยงทุกธุรกิจเข้าด้วยกัน ซึ่งธนาคารเป็นส่วนหนึ่งของหุ้นในกลุ่มการเงิน
 
หุ้นในกลุ่มการเงินมีธุรกิจอะไรบ้าง?
ไล่ตั้งแต่ ธนาคาร ประกันภัย ตลาดทุน สินเชื่อเพื่อผู้บริโภค ล้วนแต่เป็นธุรกิจที่ขาดไม่ได้ และเป็นฟันเฟืองที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของทุกประเทศทั้งในอดีต... ปัจจุบัน... และในอนาคต...
 
แล้วอุตสาหกรรมนี้น่าลงทุนตรงไหน?
หลังจากเกิดวิกฤตการเงินที่อเมริกาในปี 2008 เราก็อยู่ในยุคที่อัตราดอกเบี้ยต่ำมาตลอด ซึ่งดอกเบี้ยที่ต่ำนี้ส่งผลให้กำไรของบริษัทด้านการเงินต่ำกว่าในช่วงก่อนหน้านั้น ปกติแล้วรายได้หลักของธนาคารจะมาจากส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยรับ และ ต้นทุนดอกเบี้ย หรือ เรียกว่า Net Interest Margin (NIM)
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิของธนาคาร US (Net Interest Margin) อยู่ในระดับต่ำในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา (ที่มา FRED Economic Data ข้อมูล ณ วันที่ 24 ก.ค.60)
 
3 Megatrend ของหุ้นกลุ่มการเงินในอนาคต
หุ้นกลุ่มการเงินกำลังมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้ใน 3 จุดหลัก
การกำกับดูแลที่ดีขึ้น - ตั้งแต่วิกฤตการเงินที่อเมริกาในปี 2008 หลายประเทศได้เข้ามากำกับดูแลภาคธนาคารกันมากขึ้น ซึ่งเป็นเหมือนการปฏิรูปภาคธนาคารโดยรวม ทำให้ธนาคารต่าง ๆ ทำธุรกิจโดยเน้นความแข็งแรงและความยั่งยืนมากขึ้น
ดอกเบี้ยขาขึ้น – อัตราดอกเบี้ยโลกกำลังเปลี่ยนเป็นขาขึ้น ทำให้ภาคธนาคารได้ประโยชน์จาก NIM ที่สูงขึ้น และนำมาซึ่งกำไรของธนาคารต่าง ๆ ที่เยอะขึ้นในอนาคต
Fintech - การเข้ามาของ Fintech นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยทั่วไปแล้วยังเป็นประโยชน์ต่อหลายธนาคารที่มีการปรับตัวได้ทันเวลา และทำให้ธนาคารต่าง ๆ มีนวัตกรรมในการให้บริการมากขึ้น
 
ต่อจากนี้เรื่องราวของโลกการเงินกำลังเริ่มเปลี่ยนไป
ปลายปีที่แล้วธนาคารกลางสหรัฐมีนโยบายปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น
 
เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น จะทำให้ NIM สูงขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อธุรกิจกลุ่มธนาคาร โดยจะสามารถทำกำไรได้มากขึ้นนั่นเอง
 
เศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของโลกในอนาคตจะปรับตัวสูงขึ้น
เศรษฐกิจที่ดีขึ้น จะทำให้การขยายตัวของสินเชื่อดีขึ้น และมีการทำธุรกรรม มากขึ้น
ธุรกรรมทางการเงินที่มากขึ้นจะส่งผลให้ธนาคารได้ค่าธรรมเนียมจากวอลุ่มในตลาดเงิน ตลาดทุนที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการพัฒนารูปแบบธุรกิจใหม่ๆในกลุ่ม Start Up ที่ช่วยการเติบโตอีกทางให้กับกลุ่ม Fintech ด้วย
 
นอกจากกลุ่มธนาคารแล้ว กลุ่มบริษัทประกันจะได้รับประโยชน์จากแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น
เพราะเมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น จะทำให้ผลตอบแทนจากพันธบัตร และหุ้นกู้ ซึ่งเป็นสินทรัพย์หลักของกลุ่มบริษัทประกันดีขึ้น
ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
 
แน่นอนว่าธุรกิจด้านการเงินในอนาคตก็อาจมีผลกระทบจากเทคโนโลยี ซึ่งการนำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจการเงิน จะเรียกกันว่า FinTech
 
การบริการทางการเงินในรูปแบบเดิมๆอาจจะค่อยๆเปลี่ยนไป แต่ Financial Services ระดับโลก ก็ไม่ได้หยุดนิ่งที่จะเร่งตอบโจทย์ให้กับอนาคตที่จะเกิดขึ้น
 
และที่สำคัญ ราคาของหุ้นกลุ่ม Fintech ทั่วโลกได้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา... ซึ่งเป็นการเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่... บางครั้งของแพงก็เป็นของดี
 
เพราะฉะนั้น “ราคา” จึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการลงทุนหุ้นกลุ่ม Fintech
 
“ควรเลือกลงทุน กับคนที่ไว้ใจ”
กองทุน KTAM World Financial Service Fund เป็นกองทุนรวมที่ลงในกองทุนในต่างประเทศอีกที ที่เรียกกันว่า Feeder Fund
 
โดยจะลงทุนในกองทุน Fidelity Funds - Global Financial Services (กองทุนหลัก) ซึ่งบริหารจัดการโดยบลจ.ระดับโลกที่มีประวัติอันยาวนานและผ่านความผันผวนมาหลายวงจรเศรษฐกิจอย่าง Fidelity
 
ซึ่งกองทุนหลักมีนโยบายกว้าง ๆ คือการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นทั่วโลกที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการด้านการเงิน
 
ธุรกิจอะไรที่กองทุนนี้จะนำเงินไปลงทุนบ้าง?
-ธนาคาร
-ประกัน
-ตลาดทุน
-บริษัทการเงิน
-อสังหาริมทรัพย์
-สินเชื่อผู้บริโภค
-FinTech
 
ตัวอย่างบริษัทที่กองทุนหลักนี้ได้ลงทุน ได้แก่
JPMorganChase เป็น 1 ใน 4 ธนาคารใหญ่ของสหรัฐอเมริกา เกิดจากการควบรวมกิจการของ 2 สถาบันการเงินใหญ่ J.P. Morgan & Co. และ Chase Manhattan Corporation เมื่อปี 2000 ดำเนินธุรกิจให้บริการทางการเงินต่างๆ โดยในปัจจุบัน เป็นธนาคารที่มีสินทรัพย์มากที่สุดในสหรัฐอเมริกา (Relbanks ธ.ค. 2016) และยังเป็นธนาคารที่มีมูลค่าตามราคาตลาดมากที่สุดในโลกอีกด้วย (Relbanks ม.ค. 2017) โดยในปี 2016 บริษัทมีรายได้รวม 95,668 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นกำไร 24,733 ล้านเหรียญสหรัฐ
ที่มา JPMorgan Chase Annual Report 2016
 
Citigroup INC อีก 1 ใน 4 ธนาคารใหญ่ของสหรัฐอเมริกา โดยมีสินทรัพย์มากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของธนาคารในอเมริกา และมีมูลค่าตามราคาตลาดอยู่ในอันดับที่ 8 ของธนาคารทั่วโลก ให้บริการด้านการเงินสำหรับบุคคลทั่วไป องค์กรและหน่วยงานรัฐต่างๆ และเป็น 1 ในผู้นำด้านการให้บริการบัตรเครดิตที่มีผู้ถือบัตรมากกว่า 55 ล้านบัญชี ในปี 2016 มีรายได้รวม 69,900 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นกำไร 14,900 ล้านเหรียญสหรัฐ
ที่มา: Citigroup Annual Report 2016
 
Allianz SE บริษัทสัญชาติเยอรมัน ที่มีธุรกิจหลักๆ คือ การบริการด้านประกันภัยชนิดต่างๆ ให้ทั้งสำหรับลูกค้าทั่วไปและลูกค้าองค์กร รวมไปถึงการให้บริการด้านการบริหารสินทรัพย์ ปัจจุบันมีลูกค้ากว่า 86.3 ล้านราย จากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก เป็นบริษัทประกันที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 จากการจัดอันดับของ Forbes (2017 Global 2000) มีรายได้รวมในปี 2016 อยู่ที่ 122,416 ล้านยูโร เป็นกำไร 7,250 ล้านยูโร
ที่มา:  Allianz Group Annual Report 2016
 
AIA Group LTD เป็นบริษัทประกันชีวิต เป็นบริษัทมหาชนในกลุ่มธุรกิจประกันชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค (ไม่นับญี่ปุ่น) ดำเนินธุรกิจประกันมายาวนานกว่า 98 ปี โดยได้แยกตัวออกจาก AIG บริษัทประกันที่มีผู้ก่อตั้งคนเดียวกันในปี 2009 ปัจจุบันสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ฮ่องกง มีสาขาและบริษัทย่อยใน 18 ประเทศ ให้บริการด้านประกันชีวิต อุบัติเหตุ และสุขภาพ ปี 2016 มีรายได้รวม 28,196 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นกำไร 4,212 ล้านเหรียญสหรัฐ
ที่มา: AIA Group Annual Report 2016
 
Berkshire Hathaway 1 ในบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นอาณาจักรบริษัทของ วอเร็น บัฟเฟตต์ ที่เป็นเจ้าของและถือหุ้นในธุรกิจมากมาย หลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม ไล่ตั้งแต่ การลงทุน ธุรกิจประกัน พลังงาน ผู้ผลิตสินค้า ไปจนถึงระบบทางรถไฟ หุ้นคลาส A ของบริษัทนี้ยังเป็นเจ้าของสถิติหุ้นที่แพงที่สุดโลก (BRK/A) ด้วยราคาสูงสุด 270,000 เหรียญสหรัฐต่อหุ้น รายได้รวมในปี 2016 อยู่ที่ 223,604 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นกำไร 24,427 ล้านเหรียญสหรัฐ
ที่มา: Berkshire Hathaway Annual Report 2016
ชื่อตัวอย่างบริษัทที่กล่าวมา ทุกคนน่าจะรู้จัก และเคยได้ยินมาบ้าง และปฏิเสธไม่ได้เลยว่า บริษัทเหล่านี้เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกที่มีความมั่นคง และน่าจะเป็นส่วนสำคัญในเศรษฐกิจของโลกไปอีกนาน
 
ประเทศที่กองทุนนี้ได้ลงทุนแบ่งเป็นสัดส่วนดังนี้
ที่มา: Fidelity Funds ณ สิ้นเดือน มิ.ย.60
 
สรุปสั้น ๆ ว่าทำไม KT-FINANCE ถึงน่าลงทุน
เป็นกองแรกและกองเดียวที่ focus การลงทุนในหุ้นกลุ่มการเงินโดยเฉพาะ
ภาคธนาคารกำลังเติบโตในอนาคตจากการปฏิรูปธนาคาร ดอกเบี้ยที่ค่อยๆสูงขึ้น และ Fintech
เป็นเพียงไม่กี่กองทุนในประเทศไทยที่เปิดโอกาสการลงทุนในบริษัทที่เติบโตเร็วอย่าง Fintech
เศรษฐกิจโลกกำลังอยู่ในภาวะฟื้นตัว กลุ่มการเงินได้ประโยชน์เต็มๆ
กองทุนหลัก Fidelity Funds – Global Financial Services Fund บริหารจัดการโดยบลจ.ระดับโลกอย่าง Fidelity
ลงทุนแบบ focus portfolio ในหุ้นเพียง 50-60 ตัว จาก 1000 กว่าบริษัททั่วโลก
ทีมงานที่แข็งแกร่งช่วยกันเก็บหุ้นที่มีราคาเหมาะสมเข้าพอร์ตลงทุน
ค่าธรรมเนียมพอ ๆ กองทุนต่างประเทศทั่วไป
 
สรุปแล้วกองทุนนี้น่าจะตอบโจทย์สำหรับคนที่อยากลงทุนในธุรกิจภาคการเงินที่น่าจะได้ประโยชน์จากการปฏิรูประบบการเงิน การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในอนาคต และเราจะได้มีส่วนร่วมในการลงทุนในบริษัทที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วอย่าง FinTech ที่กำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอุตสาหกรรมการเงินของโลก ซึ่งกองทุนนี้เป็นอีกกองหนึ่งที่น่าจะมีติดพอร์ตไว้ในช่วงนี้
 
อย่างไรก็ตามกองทุนนี้ก็มีความเสี่ยงเหมือนๆกับกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศทั่วไป เช่น ความเสี่ยงเรื่องการลงทุนในหลักทรัพย์เฉพาะกลุ่มธุรกิจ ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน และความเสี่ยงอื่นๆของกองทุนหุ้นต่างประเทศ
 
ผู้ที่สนใจควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุนหรือติดต่อ บลจ.กรุงไทย ได้ที่ 0-2686-6100
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
กองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ ไฟแนนเชียล เซอร์วิส ฟันด์ : KT-FINANCE (ความเสี่ยงระดับ 7)
นโยบายการลงทุน: ลงทุนในหน่วยลงทุนของ Fidelity Funds – Global Financial Services Fund (กองทุนรวมหลัก) เพียงกองทุนเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
นโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (ในรูปสกุลเงินบาท): ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้รับประกันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
<Advertorial Article>
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.