
เพราะพนักงาน กลัวความล้มเหลว จึงทำให้ Enron ล้มละลาย
22 มิ.ย. 2021
เพราะพนักงาน กลัวความล้มเหลว จึงทำให้ Enron ล้มละลาย | THE BRIEFCASE
ถ้าพูดถึงกรณีศึกษาสุดคลาสสิกของการฉ้อโกงและการล้มละลายของบริษัทใหญ่ในสหรัฐอเมริกา
คดีของ “Enron” ก็จะติด Top List ที่ต้องพูดถึงแน่นอน
คดีของ “Enron” ก็จะติด Top List ที่ต้องพูดถึงแน่นอน
“Enron” เป็นอดีตบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ในสหรัฐอเมริกา
ที่ล้มละลายจากการถูกตรวจพบว่ามีการรายงานผลประกอบการสวยหรูเกินจริง เพราะบริษัทรายงานการรับรู้รายได้ จากส่วนที่ไม่ได้เป็นรายได้ของบริษัทจริง ๆ
ที่ล้มละลายจากการถูกตรวจพบว่ามีการรายงานผลประกอบการสวยหรูเกินจริง เพราะบริษัทรายงานการรับรู้รายได้ จากส่วนที่ไม่ได้เป็นรายได้ของบริษัทจริง ๆ
ต้องบอกก่อนว่า นอกจากในแง่มุมของการเงินแล้ว
ส่วนผสมที่ทำให้บริษัทแห่งนี้เดินทางสู่หายนะนั้น ก็ยังมีมากมาย
ซึ่งในแง่มุมหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ Mindset ที่ไม่ถูกต้องของผู้บริหาร ซึ่งส่งผลมายังการทำงานของพนักงาน จนนำพาบริษัทสู่การล้มละลายในที่สุด
ส่วนผสมที่ทำให้บริษัทแห่งนี้เดินทางสู่หายนะนั้น ก็ยังมีมากมาย
ซึ่งในแง่มุมหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ Mindset ที่ไม่ถูกต้องของผู้บริหาร ซึ่งส่งผลมายังการทำงานของพนักงาน จนนำพาบริษัทสู่การล้มละลายในที่สุด
Carol Dweck นักจิตวิทยาจากสแตนฟอร์ด ได้เขียนถึงเรื่องราวของบริษัท Enron ว่า
หนึ่งในสาเหตุ ที่องค์กรพลังงานยักษ์ใหญ่นี้ล้มละลาย
เพราะผู้บริหารขาดการสนับสนุนใน กระบวนการคิดแบบเติบโต หรือ Growth Mindset
หนึ่งในสาเหตุ ที่องค์กรพลังงานยักษ์ใหญ่นี้ล้มละลาย
เพราะผู้บริหารขาดการสนับสนุนใน กระบวนการคิดแบบเติบโต หรือ Growth Mindset
หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ขาดกระบวนการคิดที่อยากจะเรียนรู้สิ่งใหม่ ขาดกระบวนการคิดที่จะยอมรับ เข้าใจ และเรียนรู้ที่จะพัฒนาตัวเองและการทำงานจากปัญหาที่เจอ
ต้องเล่าพื้นเพของบริษัท Enron ก่อนว่า
Enron ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1985 โดยเป้าหมายหลักของบริษัท คือ การเข้าไปซื้อบริษัทต่าง ๆ ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับพลังงาน เพื่อขยายธุรกิจให้ครอบคลุมพลังงานหลากหลายรูปแบบ
โดยเฉพาะธุรกิจก๊าซ ไฟฟ้า นอกจากนั้นยังขยายไปถึง ธุรกิจสื่อสาร และธุรกิจผลิตเยื่อกระดาษ
Enron ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1985 โดยเป้าหมายหลักของบริษัท คือ การเข้าไปซื้อบริษัทต่าง ๆ ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับพลังงาน เพื่อขยายธุรกิจให้ครอบคลุมพลังงานหลากหลายรูปแบบ
โดยเฉพาะธุรกิจก๊าซ ไฟฟ้า นอกจากนั้นยังขยายไปถึง ธุรกิจสื่อสาร และธุรกิจผลิตเยื่อกระดาษ
ช่วงก่อนที่จะล้มละลาย Enron เคยมีมูลค่าบริษัทสูงถึง 2 ล้านล้านบาท ทำให้ Enron เคยถูกจัดให้เป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 7
และเรื่องที่นักจิตวิทยาต่างให้ความสนใจก็คือ
บริษัท Enron เป็นบริษัทที่มีวัฒนธรรมองค์กร ที่ทำให้ทุกคนหลงใหลแต่เรื่องของความเก่ง สติปัญญา หรือเรื่องพรสวรรค์ต่าง ๆ ซึ่งคนที่มีคุณสมบัติเหล่านี้เท่านั้น ที่จะได้รับการชื่นชมและยกย่องจากคนระดับสูงในองค์กร
บริษัท Enron เป็นบริษัทที่มีวัฒนธรรมองค์กร ที่ทำให้ทุกคนหลงใหลแต่เรื่องของความเก่ง สติปัญญา หรือเรื่องพรสวรรค์ต่าง ๆ ซึ่งคนที่มีคุณสมบัติเหล่านี้เท่านั้น ที่จะได้รับการชื่นชมและยกย่องจากคนระดับสูงในองค์กร
จนเกิดเป็นวัฒนธรรมที่เลวร้าย นั่นก็คือ “วัฒนธรรมของการโกหกและปกปิดเมื่อเจอกับปัญหา” แทนที่จะยอมรับในความผิดพลาด และช่วยกันวางกลยุทธ์และหาวิธีแก้ปัญหา
ซึ่งการโกหกนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ ระดับพนักงานไปจนถึงผู้บริหารระดับสูง
ทาง Jeffrey Skilling อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท
ก็เคยบอกกับนักลงทุน และนักวิเคราะห์ว่า
ก็เคยบอกกับนักลงทุน และนักวิเคราะห์ว่า
“ธุรกิจของเราไม่มีอะไรให้ต้องสงสัย บริษัท Enron นั้นทำธุรกิจง่าย ๆ และชัดเจน ใครที่ยังสงสัยในธุรกิจของ Enron แสดงว่า เป็นคนที่ไม่เคยรู้จักเราอย่างแท้จริง”
ในตอนนั้นนักลงทุนก็ให้ความไว้วางใจและเชื่อว่า Enron จะยังคงเติบโตได้ดี แต่สุดท้ายก็มีคนจับสังเกตได้ว่า เบื้องหลังของ Enron ไม่ได้ดูดีเหมือนอย่างที่ Jeffrey Skilling ขายฝัน
โดย Enron มีการตกแต่งงบการเงิน และบันทึกผลกำไรที่ยังไม่เคยทำกำไรได้จริง ๆ
โดย Enron มีการตกแต่งงบการเงิน และบันทึกผลกำไรที่ยังไม่เคยทำกำไรได้จริง ๆ
สุดท้ายเมื่อหลักฐานปรากฏชัด ราคาหุ้นของบริษัทก็ลดลงจนเหลือเพียง 0.61 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น จากราคา 90 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น ในตอนช่วงที่บริษัทกำลังรุ่งโรจน์และทุกคนเชื่อมั่น
Enron กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าการล้มละลายสูงสุดของสหรัฐอเมริกา
พนักงานกว่าสามหมื่นคนก็ต้องตกงานในทันที..
พนักงานกว่าสามหมื่นคนก็ต้องตกงานในทันที..
เหตุการณ์นี้ทำให้ Carol Dweck นักจิตวิทยาได้วิเคราะห์ว่า การล้มละลายนี้เกิดจากการที่ไม่มีใคร อยากยอมรับความล้มเหลวทุกประการเลย เพราะวัฒนธรรมขององค์กรนั้น ไม่ยอมรับในการทำผิดพลาด และไม่มีการส่งเสริมให้ทีม ได้เรียนรู้จากความล้มเหลว
Carol Dweck จึงมองว่า องค์กรควรส่งเสริมวัฒนธรรม ที่ยอมรับความล้มเหลวหรือความผิดพลาด และสอนให้ทุกคนเรียนรู้บทเรียนจากปัญหาให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแจ้งแผนปรับปรุงอย่างชัดเจน
ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ต้องเกิดจากการมี Growth Mindset ที่แข็งแรง คือต้องเต็มใจรับความผิดพลาด แล้วเอาความผิดพลาดนั้นมาเรียนรู้ และพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้นกว่าเดิม
และที่สำคัญ ต้องเริ่มตั้งแต่ผู้บริหาร ไปจนถึงพนักงานทุกคนในองค์กร
และที่สำคัญ ต้องเริ่มตั้งแต่ผู้บริหาร ไปจนถึงพนักงานทุกคนในองค์กร
จากเรื่องนี้เราก็คงจะได้เห็นแล้วว่า
การส่งเสริมแต่เรื่องความเก่ง จนทุกคนกลัวความล้มเหลว และมองแต่เป้าหมายของตัวเอง อาจเป็นปัญหาที่ใหญ่ และร้ายแรงกว่าที่เราคิด
การส่งเสริมแต่เรื่องความเก่ง จนทุกคนกลัวความล้มเหลว และมองแต่เป้าหมายของตัวเอง อาจเป็นปัญหาที่ใหญ่ และร้ายแรงกว่าที่เราคิด
และมันก็เคยทำให้ อดีตบริษัทใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก ล้มละลายมาแล้ว..