พันธบัตรรัฐบาล สินทรัพย์ที่หลายคน คิดว่าไม่เสี่ยง

พันธบัตรรัฐบาล สินทรัพย์ที่หลายคน คิดว่าไม่เสี่ยง

13 ก.ค. 2021
พันธบัตรรัฐบาล สินทรัพย์ที่หลายคน คิดว่าไม่เสี่ยง /โดย ลงทุนแมน
พันธบัตรรัฐบาล เป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำมาก
เมื่อเทียบกับการลงทุนในหุ้นกู้เอกชน หรือการลงในตลาดหุ้น ที่มีความผันผวนสูงกว่า
ในบางครั้งหลายคนจึงมักเรียกพันธบัตรว่า
“สินทรัพย์ปลอดความเสี่ยง” เลยด้วยซ้ำ
แต่ความจริงแล้ว ในโลกนี้ไม่มีสินทรัพย์อะไรที่ไม่มีความเสี่ยง
ความเสี่ยงของพันธบัตรรัฐบาลที่น่ากังวลคืออะไร และในอดีตเคยมีรัฐบาลไหน ที่ออกพันธบัตรรัฐบาลแล้วไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
พันธบัตรรัฐบาล เป็นตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐบาล
ซึ่งเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร จะถูกนำไปใช้ตามแผนของรัฐบาล เช่น
- ชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายของประเทศสูงกว่ารายได้ของประเทศ
- พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
- ปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ
นักลงทุนที่ซื้อพันธบัตรรัฐบาลมีฐานะเป็นเจ้าหนี้
ขณะที่รัฐบาลมีฐานะเป็นลูกหนี้ โดยผู้ที่ถือพันธบัตรรัฐบาล จะได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ย และจะได้เงินต้นคืนเมื่อถือพันธบัตรครบกำหนดอายุ
ในทางทฤษฎี ผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรนั้นจะสูงกว่าเงินฝากระยะสั้นในธนาคารพาณิชย์ เมื่อรวมกับการที่รัฐบาลหรือหน่วยงานภาครัฐในฐานะผู้ออกพันธบัตร ซึ่งมีความน่าเชื่อถือมากที่สุดในประเทศ
จึงทำให้พันธบัตรรัฐบาล ถือเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ทางการเงินที่ได้รับความนิยมในการลงทุนอย่างมาก
ข้อมูลจาก Securities Industry and Financial Markets Association ระบุว่า ปัจจุบันมูลค่าตลาดตราสารหนี้ทั่วโลก มีมูลค่ารวมกันกว่า 3,700 ล้านล้านบาท
โดยเป็นตราสารหนี้ที่มาจากภาครัฐและหน่วยงานของรัฐ (พันธบัตรรัฐบาลและพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ) ประมาณ 70% และภาคเอกชนประมาณ 30%
และมูลค่าตลาดตราสารหนี้ทั่วโลกนั้นใหญ่กว่ามูลค่า GDP ของทั้งโลกที่ประมาณ 2,900 ล้านล้านบาท เสียอีก
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพันธบัตรรัฐบาลจะเหมาะกับคนที่ต้องการความแน่นอนในเรื่องผลตอบแทน และไม่ชอบความเสี่ยง แต่ในโลกของการลงทุนนั้น ไม่มีการลงทุนใดที่ปราศจากความเสี่ยงอย่างแท้จริง ซึ่งรวมถึงการลงทุนในพันธบัตรด้วยเช่นกัน

ความเสี่ยงที่ติดตัวกับพันธบัตรรัฐบาลเสมอมา ไม่ว่ายุคไหน สมัยไหน และเป็นความเสี่ยงที่เราไม่อาจมองข้ามได้นั่นคือ “ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย” (Interest Rate Risk) โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยกำลังมีแนวโน้มเป็นขาขึ้นแบบในปัจจุบัน
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าวันนี้เรานำเงินไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล ที่ให้ดอกเบี้ย 3% ต่อปี เป็นเวลา 5 ปี หมายความว่า เงินก้อนนี้จะถูกผูกอยู่ที่อัตราผลตอบแทน 3% ตลอดระยะเวลา 5 ปี
แต่ในระหว่างนี้ ถ้าอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินมีการปรับขึ้น นั่นหมายความว่า เรากำลังเสียโอกาสที่จะนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงขึ้น หรือแม้แต่ไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลชุดใหม่ ที่ได้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่า 3% ต่อปี
แม้บางคนอาจบอกว่า เราก็สามารถขายพันธบัตรรัฐบาลที่ถืออยู่ได้ในตลาดรองตราสารหนี้ เพื่อไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลชุดใหม่เพื่อรับอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าเดิม
แต่ถ้าทุกคนที่ถือตราสารรุ่นเก่านี้คิดเหมือน ๆ กัน แล้วเทขายพันธบัตรที่ได้ดอกเบี้ยน้อย เพื่อไปซื้อพันธบัตรรุ่นใหม่ที่ได้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่า สุดท้ายราคาตราสารหนี้นั้นจะลดลง จนสุทธิแล้ว เราอาจขาดทุนจากการขายพันธบัตรรัฐบาลได้
ความเสี่ยงอีกประเภทก็คือ ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ (Default Risk)
โดยทั่วไปแล้ว พันธบัตรรัฐบาลจะมีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ที่ต่ำมาก เพราะขึ้นชื่อว่าออกโดยรัฐบาล ก็คงการันตีว่าเป็นองค์กรที่มั่นคง ที่จะหาเงินมาคืนผู้ถือได้ค่อนข้างแน่นอนอยู่แล้ว
แต่ก็ไม่ได้เสมอไป..
ที่ผ่านมาก็เคยมีเหตุการณ์ที่รัฐบาลไม่สามารถชำระหนี้ผู้ถือพันธบัตรของรัฐบาลมาแล้ว
อย่างวิกฤติหนี้ที่อาร์เจนตินาที่ลงทุนแมนเคยเขียนถึง
จนทำให้รัฐบาลอาร์เจนตินาผิดนัดชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่ถือพันธบัตรรัฐบาล
รู้ไหมว่า นับตั้งแต่ที่ประเทศได้รับเอกราชจากสเปนในปี 1816 อาร์เจนตินาเคยผิดนัดชำระหนี้ต่างประเทศมาแล้วถึง 9 ครั้ง
ทั้งที่ครั้งหนึ่งในอดีต กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ถึงขนาดเคยยกให้ อาร์เจนตินาเป็นตัวอย่างของประเทศที่เป็นลูกหนี้ที่ดีและเป็นแบบอย่างที่ประเทศอื่น ๆ ควรดำเนินนโยบายตาม
แต่ปัญหาที่สะสมมานานของอาร์เจนตินา การคอร์รัปชันของนักการเมือง การใช้นโยบายประชานิยม การขาดดุลงบประมาณที่เรื้อรังและยาวนาน
ทำให้รัฐบาลจึงเลือกวิธีพิมพ์เงินมาแก้ปัญหา จนนำไปสู่ปัญหาเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น ทำให้ค่าเงินเปโซอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งวงจรเหล่านี้จึงทำให้อาร์เจนตินาประสบปัญหาทางเศรษฐกิจและไม่สามารถชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้
เวเนซุเอลา ก็เป็นอีกประเทศ ที่สร้างความช้ำใจ
ให้กับนักลงทุนที่เข้ามาซื้อพันธบัตรรัฐบาลของประเทศ
ในปี 2017 รัฐบาลเวเนซุเอลาและบริษัทน้ำมันแห่งชาติของประเทศที่ชื่อว่า PDVSA ผิดนัดชำระหนี้ ที่มีมูลค่ารวมกันกว่า 2.1 ล้านล้านบาท

ปัญหาใหญ่ของเวเนซุเอลาคือ
การใช้งบประมาณขาดดุลผ่านการกู้ยืมจำนวนมหาศาล ทั้งยังนำรายได้จากการขายน้ำมัน เพื่อมาใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยผ่านการใช้นโยบายประชานิยมหลายอย่าง
ทั้งการอุดหนุนราคาพลังงาน การแจกเงินอย่างไร้ประสิทธิภาพ เพื่อหวังคะแนนเสียงของประชาชน รวมไปถึงการยึดธุรกิจพลังงานของเอกชนกลับมาเป็นของรัฐ แต่กลับไม่ได้พัฒนาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ
จนเมื่อถึงคราวที่ราคาน้ำมันโลกลดต่ำลง
ก็ทำให้รายได้จากการส่งออกน้ำมัน ซึ่งมีสัดส่วนกว่า 90% ของรายได้การส่งออกทั้งหมดของเวเนซุเอลาลดลงไปมาก ทำให้แหล่งรายได้หลักของรัฐบาลหายไป จนก่อให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่ถือพันธบัตรในที่สุด
อ่านมาถึงตรงนี้ เราน่าจะสรุปได้ว่า
ในโลกนี้ไม่มีการลงทุนไหนที่ปราศจากความเสี่ยงอย่างแท้จริง
แม้แต่การลงทุนในสินทรัพย์ที่ดูจะปลอดภัยที่สุดในโลกแล้ว อย่างพันธบัตรรัฐบาล
มันก็อาจมีความเสี่ยงเมื่ออัตราดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น หรือรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ได้ เช่นกัน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.thaibma.or.th/pdf/publication/ibook/Manual/manual.pdf
-https://www.bot.or.th/Thai/DebtSecurities/IntroToGovtDebtSecurities/Pages/Type.aspx
-https://www.icmagroup.org/Regulatory-Policy-and-Market-Practice/Secondary-Markets/bond-market-size/
-https://www.thaibma.or.th/EN/Investors/Individual/Blog/2017/25052017.aspx
-https://www.investopedia.com/terms/g/government-bond.asp
-https://fas.org/sgp/crs/row/IF10991.pdf
-https://www.statista.com/statistics/316916/argentinas-budget-balance-in-relation-to-gdp/
-https://www.dlacalle.com/en/five-reasons-for-the-weakness-of-the-argentine-economy/
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-03-24/argentina-can-t-pay-45-billion-imf-loan-vice-president-says
-https://www.batimes.com.ar/news/latin-america/trust-for-us-bondholders-sues-venezuela-over-defaulted-debt.phtml
-https://www.statista.com/statistics/372075/national-debt-of-venezuela-in-relation-to-gross-domestic-product-gdp/
-https://tradingeconomics.com/country-list/government-debt-to-gdp
-https://www.worldstopexports.com/venezuelas-top-10-exports/
-https://energypolicy.columbia.edu/sites/default/files/Impact%20of%20the%20Decline%20in%20Oil%20Prices%20on%20Venezuela_September%202015.pdf
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.