พาราลิมปิก มหกรรมกีฬา ที่ขาดทุน แต่เป็นกำไร

พาราลิมปิก มหกรรมกีฬา ที่ขาดทุน แต่เป็นกำไร

23 ส.ค. 2021
พาราลิมปิก มหกรรมกีฬา ที่ขาดทุน แต่เป็นกำไร /โดย ลงทุนแมน
หลังจบสงครามโลกครั้งที่สอง นายแพทย์ชาวอังกฤษคนหนึ่งได้พบว่า
วิธีที่จะเยียวยาจิตใจทหารผ่านศึกที่ประสบอุบัติเหตุจนพิการจากสนามรบ
ให้กลับมามีความภาคภูมิใจอีกครั้ง ก็คือ “การกีฬา”
นำมาสู่การจัดแข่งขันกีฬาครั้งแรก ในปี 1948 ช่วงเวลาเดียวกับมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนที่กรุงลอนดอน ซึ่งผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด ล้วนเป็นทหารผ่านศึกที่สูญเสียอวัยวะจากสงคราม
โดยในครั้งแรกมีชนิดกีฬาเดียว คือ ยิงธนู
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
หลังจากนั้นการจัดแข่งขันกีฬานี้ก็มีพัฒนาการเรื่อยมา มีการเพิ่มชนิดกีฬามากขึ้น
และพัฒนามาสู่การจัด “พาราลิมปิกเกมส์” อย่างเป็นระบบ ที่กรุงโรม อิตาลี ในปี 1960
คำว่าพาราลิมปิกนั้น มาจากคำว่า “Para” ซึ่งเป็นภาษากรีก แปลว่า “เคียงข้าง”
เมื่อนำมารวมกับคำว่า “Olympic” ซึ่งก็สื่อตรงตัวว่าเป็นการแข่งขันที่จัดคู่ไปกับโอลิมปิกเกมส์
และมีการจัดให้เคียงคู่กันอย่างถาวรนับตั้งแต่การจัดที่กรุงโซล เกาหลีใต้ ในปี 1988 เป็นต้นมา
แม้ในทุก ๆ ครั้งที่มีการจัดมหกรรมพาราลิมปิก เมืองเจ้าภาพจะประสบภาวะขาดทุน
เนื่องจากจะมีผู้ชมน้อยกว่าการแข่งขันปกติมาก แต่การแข่งขันนี้ก็ยังคงมีการจัดเรื่อยมา
ส่วนหนึ่งก็เพื่อแสดงถึงการให้ความสำคัญและสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้พิการ
โดยพาราลิมปิกเกมส์ อยู่ภายใต้คณะกรรมการพาราลิมปิกสากล (IPC) ที่มีคณะทำงานเป็นอิสระของตัวเอง
แต่อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมาก ๆ สำหรับการจัดพาราลิมปิกก็คือ การออกแบบอาคารสถานที่ให้ผู้พิการที่มาร่วมแข่งขันสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสะดวก ทั้งบ้านพักนักกีฬา ห้องน้ำ สนามกีฬา การเดินทางขนส่งต่าง ๆ การสื่อสาร และสถานที่บริการต่าง ๆ ภายในเมือง
สิ่งเหล่านี้ ทำให้แต่ละเมืองที่เป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมพาราลิมปิก เกิดกระบวนการพัฒนา
สิ่งที่เรียกว่า “อารยสถาปัตย์” หรือ Universal Design ขึ้น..
อารยสถาปัตย์ ก็คือ การออกแบบสถานที่ ไปจนถึงการออกแบบเมือง ให้ทุก ๆ คนในสังคม ไม่ใช่แค่เพียงผู้พิการเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงคนชรา และเด็กเล็ก ให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในเมืองได้ ด้วยความสะดวกสบาย ไม่แตกต่างจากคนปกติ
เช่นเดียวกับมหกรรมพาราลิมปิก 2020 ที่จะจัดขึ้นที่กรุงโตเกียว ในเดือนสิงหาคม ปี 2021 นี้
ทางเมืองเจ้าภาพซึ่งมีชื่อเสียงในเรื่องอารยสถาปัตย์อยู่แล้ว ก็ยังมีการพัฒนาเพิ่มเติม
- ทั้งการปรับปรุงชานชาลาสถานีรถไฟ
- ลดช่องว่างระหว่างตัวรถไฟกับชานชาลา เพื่อให้สะดวกกับผู้ใช้รถวีลแชร์
- รวมไปถึงเพิ่มพื้นที่จอดรถวีลแชร์ในขบวนรถไฟชิงกันเซ็ง จาก 2 ที่เป็น 6 ที่ต่อ 1 ขบวน
การมีอยู่ของพาราลิมปิกเกมส์ จึงไม่ใช่เพียงแค่การป่าวประกาศ ให้ชาวโลกมองเห็นคุณค่าของคนพิการ แต่สะท้อนไปถึงการตั้งคำถาม ว่าจะทำอย่างไร ? ที่จะทำให้ทุกคนในเมือง ได้ใช้ชีวิตอย่างสะดวกสบายเหมือนกัน ไม่ว่าคนคนนั้นจะเป็นใครก็ตาม
เพราะสำหรับผู้พิการแล้ว
เขาเหล่านั้นอาจไม่ได้ต้องการให้ใครมาเห็นใจ หรือมามองเห็นคุณค่า
แต่อยากให้ “มอง” อย่างมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง
ที่สามารถอยู่เคียงข้างกับทุกคนในสังคมได้อย่างเท่าเทียม..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
Reference:
-https://www.asahi.com/ajw/articles/14375725
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.