‘ปิ่นทอง อินดัสเตรียล ปาร์ค' กับการขับเคลื่อนนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC ไปพร้อมกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด Eco Industrial Town

‘ปิ่นทอง อินดัสเตรียล ปาร์ค' กับการขับเคลื่อนนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC ไปพร้อมกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด Eco Industrial Town

12 ต.ค. 2021
PIN x ลงทุนแมน
ในยุคที่สิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญ
หนึ่งในธุรกิจที่ปรับตัวนั่นคือ นิคมอุตสาหกรรม
จึงเป็นที่มาของแนวคิด Eco Industrial Town หรือ นิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ซึ่งหมายถึง พื้นที่ที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมและชุมชนโดยรอบให้ร่วมเติบโตไปด้วยกัน
และที่สำคัญคือ ต้องมีการดูแลสภาพแวดล้อมอย่างจริงจังควบคู่ไปด้วย
หนึ่งในผู้ประกอบธุรกิจพัฒนาและบริหารนิคมอุตสาหกรรมที่นำแนวคิดนี้มาใช้คือ บมจ.ปิ่นทอง อินดัสเตรียล ปาร์ค (PIN)
คำถามก็คือ PIN มองเห็นโอกาสอะไรจากแนวคิดนี้
และการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในทิศทางนี้ จะช่วยสร้างการเติบโตให้กับบริษัทฯ อย่างไร?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
PIN ไม่ใช่ผู้เล่นหน้าใหม่ แต่เป็นผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมมากว่า 25 ปี
โดยมีนิคมอุตสาหกรรมตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดชลบุรีและระยอง
ซึ่งแน่นอนว่า เป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ และเป็นทำเลไข่แดง ใจกลางเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
ปัจจุบัน PIN มีนิคมอุตสาหกรรม และอสังหาริมทรัพย์ประเภทพื้นที่โลจิสติกส์ (Logistics Park)
ที่เปิดให้บริการแล้ว 6 โครงการ และอยู่ระหว่างพัฒนาอีก 1 โครงการ
โดยบริษัทฯ ใช้แนวคิด Eco Industrial Town เป็นคอนเซ็ปต์หลักในการออกแบบและพัฒนาโครงการ ภายใต้มาตรฐานการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม หรือ ISO 14001
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผังโครงการ อย่างการจัดให้มีพื้นที่สีเขียว พื้นที่กันชนเชิงนิเวศ (Eco-Belt)
ไปจนถึงงานระบบ เช่น การบำบัดน้ำเสียให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ การใช้พลังงานทดแทน
ทำให้ PIN ได้พัฒนาและยกระดับเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ด้วยรางวัล Eco Excellent จากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)
ไม่เพียงเท่านี้ PIN ยังเตรียมต่อยอดสู่การเป็น Smart City หรือเมืองอุตสาหกรรมอัจฉริยะ
ซึ่งเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นแกนหลักในการบริหารจัดการ
สิ่งเหล่านี้จะทำให้ PIN สามารถรองรับลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรม S-Curve
ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมดิจิทัล และการแพทย์
เรียกได้ว่า ล้วนเป็นอุตสาหกรรมมูลค่าสูงที่จะเป็นกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต
สำหรับรูปแบบธุรกิจในปัจจุบัน รายได้ส่วนใหญ่ของ PIN มาจากการขายที่ดินที่พัฒนาแล้วในโครงการ
โดยบริษัทฯ จะซื้อที่ดินเปล่าที่มีศักยภาพ มาพัฒนาและดำเนินการออกแบบวางผังการใช้ประโยชน์ในโครงการ
ตลอดจนจัดเตรียมระบบสาธารณูปโภคที่ได้มาตรฐานของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)
โดยกลุ่มลูกค้าของ PIN มีทั้งบริษัทไทยและต่างชาติ จากประเทศญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน เกาหลีใต้
ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ โลหะ และพลาสติก ตามลำดับ
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีที่ดินเปล่า อาคารโรงงาน และคลังสินค้าสำหรับให้เช่า
รวมถึงธุรกิจให้บริการพื้นที่ส่วนกลางและระบบสาธารณูปโภคภายในโครงการ
อ่านมาถึงตรงนี้ บางคนอาจสงสัยว่านอกจากความครบครันของสิ่งอำนวยความสะดวก
และการพัฒนาแบบ Eco Industrial Town แล้ว
โครงการของ PIN แตกต่างจากนิคมอุตสาหกรรมอื่น ๆ อย่างไร?
การที่ PIN อยู่ในธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมมาอย่างยาวนาน ทำให้บริษัทฯ มีความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นอย่างดี ประกอบกับการรักษาความสัมพันธ์ที่ดี และวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการได้ตรงจุด
ไฮไลต์สำคัญของ PIN คือ โครงการตั้งอยู่ในพื้นที่ EEC และมีทำเลที่ตั้งติดกับถนนสายหลักที่สำคัญ ทำให้สามารถเดินทางเชื่อมต่อไปยัง Logistic Hub สำคัญ ๆ
ทั้งท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง ท่าเรือมาบตาพุด และสนามบินสุวรรณภูมิ ได้อย่างสะดวกและประหยัดเวลาในการขนส่ง
นอกจากนี้ โครงการของ PIN ยังได้เปรียบในเรื่องสภาพการจราจรภายในโครงการ
เพราะเมื่อเทียบกับโครงการขนาดใหญ่แล้ว ต้องบอกว่านิคมอุตสาหกรรมของ PIN ซึ่งเป็นโครงการขนาดกลาง มีการจราจรที่ไม่แออัด และค่อนข้างคล่องตัวมากกว่า โดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน
และอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญคือ สภาพแวดล้อมในโครงการของ PIN ซึ่งนอกจากเต็มไปด้วยพื้นที่สีเขียวแล้ว
สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ยังครบครัน ทั้งโรงแรม ร้านอาหาร อพาร์ตเมนต์ และสถานที่สำหรับออกกำลังกาย
แล้วผลประกอบการของ PIN เป็นอย่างไร ?
- ปี 2561 มีรายได้รวม 964.69 ล้านบาท
- ปี 2562 มีรายได้รวม 867.44 ล้านบาท
- ปี 2563 มีรายได้รวม 1,128.11 ล้านบาท
- งวด 6 เดือน ปี 2563 มีรายได้รวม 296.50 ล้านบาท
- งวด 6 เดือน ปี 2564 มีรายได้รวม 325.95 ล้านบาท
ล่าสุด PIN กำลังจะนำบริษัทฯ เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ
โดยเตรียมเสนอขายหุ้น IPO จำนวนไม่เกิน 290 ล้านหุ้น
หรือคิดเป็นไม่เกิน 25% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ
โดยจะนำเงินที่ได้จากการระดมทุน ไปลงทุนพัฒนาโครงการ Logistics Park แห่งใหม่
ชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ
ซึ่งการเข้า IPO ครั้งนี้ น่าจะเป็นอีกหนึ่งสเต็ปที่ทำให้ PIN สามารถขยายธุรกิจ และเพิ่มศักยภาพที่จะเติบโตไปกับ EEC
รวมถึงการเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 หรือเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมในอนาคต…
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.pinthongindustrial.com
References
- แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวนฉบับเต็มของ บมจ.ปิ่นทอง อินดัสเตรียล ปาร์ค ซึ่งได้ยื่นต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ www.sec.or.th
- https://bit.ly/3nX25j2
- http://www.thaiauto.or.th/2020/th/news/news-detail.asp?news_id=3680
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.