ซื้อกองทุน LTF ที่ไหนดี

ซื้อกองทุน LTF ที่ไหนดี

30 พ.ย. 2017
<Advertorial>
ซื้อกองทุน LTF ที่ไหนดี / โดย เพจลงทุนแมน
ตลอดทั้งปี เรามีงานมหกรรมอยู่หลายอย่างในบ้านเรา
ไม่ว่าจะเป็น งานเที่ยว งานซื้อรถ ซื้อบ้าน ซื้อมือถือ
แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงปลายปีเมื่อไหร่ จะมีอยู่มหกรรมหนึ่งที่โดดเด่นกว่าใคร คือ “มหกรรมลดหย่อนภาษี”
โดยหนึ่งในกิจกรรมที่คนส่วนใหญ่ให้ความสนใจเป็นพิเศษ
ก็คือการซื้อ กองทุน LTF หรือชื่อเต็มว่า กองทุนรวมหุ้นระยะยาว
จะดีแค่ไหน ถ้าการช่วยลดหย่อนภาษี ยังมาพร้อมกับโอกาสในการรับผลตอบแทนที่ดี?
การซื้อกองทุน LTF ในทุกๆ ปี นอกจากจะช่วยลดหย่อนภาษีให้เราในปีนั้นๆ แล้ว ยังถือได้ว่าเป็นการลงทุนระยะยาว
เพราะการซื้อกองทุนให้ตรงตามเงื่อนไขที่จะได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีนั้น เราต้องถือเงินลงทุนไปให้ครบ 7 ปีปฏิทิน (ซื้อปี 2560 ก็ไปขายวันไหนก็ได้ในปี 2566 ไม่ต้องรอนับครบรอบวัน)
ข้อดีข้อแรกคือเป็นการบังคับให้เราเก็บเงินไปเพื่ออนาคต ระหว่างทางเกิดเห็นผลตอบแทนดี เราก็จะไม่เอาเงินออกไปใช้ก่อนง่ายๆ
อีกข้อคือเวลาลงทุนในหุ้นยาวๆ โอกาสขาดทุนจะน้อยลง โอกาสกำไรจะมากขึ้น
ลงทุนในหุ้นยาวๆดียังไง คงไม่มีคำอธิบายไหนดีไปกว่าการทดลองจริง..
หนังสือชื่อดัง A Random Walk Down Wall Street นำเอาสถิติจริงจากดัชนีหุ้น S&P 500 ของสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ 1926 ถึง 2009 มาฉายภาพให้ดู ปรากฏว่าถ้าเราลงทุนภายใน 1 ปี เราจะมีโอกาสทั้งดีใจ และ เสียใจ
ดีใจคือได้กำไรมากสุดถึง 53% เสียใจคือขาดทุนได้มากสุดถึง 37%
ถ้าเราลงทุนระยะสั้น โอกาสขาดทุนเป็นเรื่องปกติ
แต่เรื่องนี้จะเปลี่ยนไป ถ้าภาพของเราเป็นการลงทุนระยะยาว..
ถ้าเราลงทุนได้นาน 5 ปี โอกาสได้กำไรมากสุดคือ 29% ต่อปี ขาดทุนได้มากสุดคือ 2.35% ต่อปี
ถ้าเราลงทุนได้นาน 10 ปี โอกาสได้กำไรมากสุดคือ 20% ต่อปี ขาดทุนได้มากสุดคือ 1.38% ต่อปี
ที่น่าสนใจคือถ้าเราลงทุนได้นาน 15 ปี โอกาสได้กำไรมากสุดคือ 19% ต่อปี และจะไม่มีโอกาสขาดทุนเลย
แล้วถ้ามาดู SET index บ้านเรากันบ้าง ถ้าลงทุนตั้งแต่ปี 2012-2016 รวม 5 ปี กำไร 77.36% ถ้าย้อนไกลกว่านั้น ลงทุน 10 ปี ตั้งแต่ปี 2007-2016 กำไรอยู่ที่ 235.93% จะเห็นว่าไปในในทิศทางเดียวกันคือยิ่งลงทุนได้นานโอกาสกำไรยิ่งมี
แต่การลงทุนได้นานจะทำอย่างไร ถ้าเรามีภาระหน้าที่การงานอย่างอื่นต้องทำไปด้วย
คำตอบคือ ลงทุนผ่านกองทุนรวม
การลงทุนผ่านกองทุนรวมจะง่ายกว่าการเข้าไปทำการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยตัวเอง เพราะผู้จัดการกองทุนมืออาชีพ ซึ่งมีประสบการณ์และความรู้ในตลาดเงินและตลาดทุน จะเข้าถึงข้อมูลบริษัทจดทะเบียนต่างๆ ได้กว้าง ลึก และเร็วกว่าคนที่ไม่มีเวลาติดตาม หรือไม่มีความรู้ความชำนาญ
ผู้จัดการกองทุนมืออาชีพจะบริหารเงินในส่วนนั้นให้ เราไม่ต้องคอยเฝ้าหน้าจอดูหุ้นรายตัว ไม่ต้องคอยฟังข่าวลือ ข่าววงใน ข่าวเค้าว่า แล้วเอามาตีความว่าจะซื้อหรือจะขายดี
แต่ละกองทุนมีนโยบายชัดเจนเป็นกรอบในการเลือกลงทุน และผู้จัดการกองทุนก็จะมีหลักการวิเคราะห์คัดเลือกหุ้นด้วยประสบการณ์ที่บริหารกองทุนกันมานาน
มนุษย์เงินเดือนที่ต้องเสียภาษี ลงทุนไปแล้วได้ลดหย่อนภาษี เรียกว่าคุ้มต่อที่ 1
อย่าคิดว่าเสียภาษี 15% เอง เงินไม่เท่าไหร่หรอก คิดง่ายๆ ว่าซื้อ LTF 10,000 นึง ได้คืนภาษีแล้ว 1,500 บาท ถ้าซื้อ 100,000 บาท ก็ได้เงินภาษีคืนตั้ง 15,000 บาท เอาไปทำอะไรอย่างอื่นได้อีกเยอะ
ใครมีเงินฝากออมทรัพย์ 100,000 นึง กว่าจะได้ดอกเบี้ย 15,000 ต้องรออีกนานเท่าไร ถ้าเรามีเงินเก็บ การโยกเงินมาซื้อ LTF ก็อาจเป็นทางเลือกที่ดี
โอกาสคุ้มต่อที่ 2 คือโอกาสได้ผลตอบแทนจากการลงทุนหุ้นเมื่อถือครบ 7 ปีปฏิทิน
ถ้าถามว่ามีความเสี่ยงจะขาดทุนมั้ย? การลงทุนในหุ้นจัดอยู่ในประเภทเสี่ยงสูง ถ้าไปดูข้อมูลกองทุนจะเห็นว่ามีการจัดระดับความเสี่ยงของ LTF ทั้งหลายอยู่ที่ระดับ 6 จาก scale 1-8
แต่สิ่งที่มาช่วยลดความเสี่ยงก็คือระยะเวลาลงทุนที่ยิ่งนานจะยิ่งดี ถ้าดูประวัติผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปีของ LTF ก็มีกำไรให้เห็น บางกองทุนมีการจ่ายปันผลออกมาทุกปีด้วย เท่ากับได้เก็บกำไรออกมาระหว่างทาง ดีกว่าดอกเบี้ยจากการฝากเงินเอาไว้เฉยๆ ในธนาคาร
กองทุน LTF มีตั้งมากมาย จะเลือกกองทุนไหน?
ถ้าไม่ได้มองหา LTF แค่เพื่อการลดภาษี แต่อยากได้ผลตอบแทนที่ดีในอนาคตแบบนี้ก็ต้องเลือกมากขึ้น เราสามารถดูที่นโยบายของกองทุน ผลงานที่ผ่านมา และฝีมือผู้จัดการกองทุนประกอบกัน
LTF ของบลจ.กรุงศรี ชื่อ KFLTFDIV เป็นกองทุนหนึ่งที่นิยมกัน เพราะจ่ายปันผลทุกปีสม่ำเสมอ ล่าสุดเพิ่งประกาศจ่ายปันผลปีที่ 13 ไปเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา แต่จริงๆ แล้วบลจ. กรุงศรียังมีกองทุน LTF ที่น่าสนใจอีกหลายกองทุน
เมื่อสิ้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา Morningstar Thailand จัดอันดับ TOP 10 ของกองทุน LTF ประจำเดือนตุลาคม โดยมีชื่อ 2 กองทุนของ บลจ.กรุงศรี อยู่ที่อันดับ 1และ 2 ของกองทุนที่ให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีสูงสุด คือ KFLTFA50-D และ KFLTFEQ และ เมื่อไปดูผลตอบแทนย้อน 3-5 ปี ก็ยังติด TOP 10 อยู่เช่นกัน
 
KFLTFA50-D (กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นระยะยาวแอ็คทีฟ SET50 ปันผล)
มีนโยบายการลงทุนในหุ้นไม่น้อยกว่า 65% โดยเน้นลงทุนในบริษัทที่อยู่ในดัชนี SET50 (บริษัทใหญ่ที่สุด 50 อันดับแรก) จัดตั้งกองทุนตั้งแต่ปี 2547 จ่ายเงินปันผลมาแล้ว 11 ครั้งรวม 5.68 บาท
ปกติเห็นชื่อกองทุนที่มี SET50 อยู่ มักจะนึกถึงกองทุนแบบ passive fund คือมีนโยบายการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนี SET50 มากที่สุด แต่กองทุนนี้ชื่อว่า Active SET 50 เพราะมีการบริหารกองทุนแบบเชิงรุก ไม่ยึดติดดัชนี เพื่อหาผลตอบแทนที่สูงกว่าตลาด โดยเน้นการลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ที่ผ่านการคัดเลือกใน SET50 ประมาณ 70-100%
สัดส่วนการลงทุนในบริษัท 5 อันดับแรกของ KFLTFA50-D ณ 31 ต.ค.60 (ที่มา : www.krungsriasset.com)
 
KFLTFEQ (กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นระยะยาวอิควิตี้)
มีนโยบายลงทุนในหุ้นอย่างน้อย 65% ของ NAV โดยคัดสรรหุ้นเด่นประมาณ 20-25 บริษัทที่มีโอกาสเติบโตสูง มีแผนในการขยายธุรกิจ และมีแนวโน้มสร้างกำไรได้สูง จึงมีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้สูงในระยะยาว
หุ้นเติบโตสูง หรือที่เรียกว่า “Growth Stocks” ที่กองทุนนี้ลงทุนได้รับผลดีจากการที่อัตราดอกเบี้ยทรงตัวในระดับต่ำ ประกอบกับเศรษฐกิจของประเทศกำลังฟื้นตัว กำไรของบริษัทจดทะเบียนจึงเติบโตได้ดีด้วย
สัดส่วนการลงทุนในบริษัท 5 อันดับแรกของ KFLTFEQ ณ 31 ต.ค.60 (ที่มา : www.krungsriasset.com)
 
จาก 2 กองทุนนี้จะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างในนโยบายการลงทุนอย่างเห็นได้ชัด จะเลือก LTF กองทุนไหนควรดูให้ดีว่ามีนโยบายลงทุนในอะไร อย่างไร ไม่ใช่ว่าพอเป็น LTF แล้วก็จะเหมือนกันไปหมด
กองทุนที่ไม่ใช่ passive fund ยึดกับดัชนี ฝีมือการบริหารกองทุนมีความสำคัญ ดูประวัติผลงานก็พอจะบอกถึงความน่าเชื่อถือได้
จริงๆแล้วกองทุนที่นิยมส่วนใหญ่ของ บลจ.กรุงศรี จะเป็นกองทุนที่เน้นลงทุนหุ้นปันผล แต่เมื่อมาดูกองทุนที่มีนโยบายลงทุนหุ้นใหญ่แบบ active และหุ้นเติบโตสูงอย่าง 2 กองทุนนี้ ก็เห็นผลงานที่โดดเด่นเช่นกัน
สุดท้ายคงไม่มีคำตอบสุดท้ายว่ากองทุนไหนจะดีที่สุด กองทุนที่ขายดีที่สุดไม่ได้แปลว่าผลตอบแทนดีที่สุด หรือกองทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ผ่านมาสูงสุด ก็ไม่ได้การันตีว่าอนาคตจะดีตลอดไป อาจกระจายการลงทุนในกองทุนที่นโยบายต่างกันบ้าง มีการลงทุนในหุ้นที่หลากหลาย ไม่ต้องซื้อกองทุนเดิมซ้ำทุกปี ก็อาจถือว่าเป็นการกระจายความเสี่ยง
ทั้งนี้ต้องหมายเหตุว่า การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
คำเตือน: ควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน / ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.