คนไทยกำลังมีโอกาสได้เซฟโลกไปพร้อมกับเซฟค่าไฟ จากการเข้าถึง พลังงานสะอาดฟรี

คนไทยกำลังมีโอกาสได้เซฟโลกไปพร้อมกับเซฟค่าไฟ จากการเข้าถึง พลังงานสะอาดฟรี

15 ก.ย. 2022
คนไทยกำลังมีโอกาสได้เซฟโลกไปพร้อมกับเซฟค่าไฟ จากการเข้าถึง พลังงานสะอาดฟรี
KBank x ลงทุนแมน
รู้หรือไม่ว่า ปี 2564 รายได้เฉลี่ยของคนไทยอยู่ที่ 18,000 บาทต่อเดือน
ขณะที่ใช้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยเดือนละ 500-1,000 บาท หรือคิดเป็น 2.8-5.6% ของรายได้
แม้ว่าเมื่อเทียบค่าไฟฟ้าต่อรายได้แล้ว อาจดูเป็นสัดส่วนที่เล็กน้อย
แต่ถ้าหากเทียบค่าไฟฟ้าของประเทศอื่น ๆ จะพบว่า โดยเฉลี่ยค่าไฟของไทย อยู่ที่ 3.80 บาทต่อกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง
ขณะที่เกาหลีใต้ อยู่ที่ 3.66 บาทต่อกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง
จีน อยู่ที่ 2.89 บาทต่อกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง
อินเดีย อยู่ที่ 2.74 บาทต่อกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง
หรือแม้กระทั่งประเทศเพื่อนบ้านของเราอย่างมาเลเซีย ก็มีค่าไฟฟ้าอยู่ที่ 1.79 บาทต่อกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง เท่านั้น
จะดีกว่าหรือไม่ หากเรามีสิ่งที่สามารถช่วยลดค่าไฟฟ้าได้ อย่าง การติดตั้งโซลาร์รูฟ หรือแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน เพื่อเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ มาเป็นพลังงานไฟฟ้าสำหรับใช้ภายในบ้าน ซึ่งใครก็รู้ว่าประเทศไทยแดดดีแค่ไหน ร้อนแรงไม่มีตกตลอด 12 เดือน แถมยังเป็นพลังงานสะอาด ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยังช่วยปัญหาโลกร้อนได้อีกทาง
แล้วรู้หรือไม่ว่า โลกสูญเสียเม็ดเงินทางเศรษฐกิจ จากปัญหาโลกร้อนไปเท่าไร ?
คำตอบคือ ในปี 2564 เศรษฐกิจโลกเสียหายไปกว่า 9 ล้านล้านบาท
และหากเรายังนิ่งนอนใจ โลกร้อนอาจสร้างหายนะทางเศรษฐกิจ ได้มากกว่า 6 พันล้านล้านบาท ภายในปี 2613 หรืออีกไม่ถึง 50 ปีข้างหน้า
อย่างไรก็ดี ถึงแม้การติดตั้งโซลาร์รูฟจะช่วยทั้งเซฟโลก และเซฟเงินค่าไฟ แต่การจะติดโซลาร์รูฟบนหลังคาบ้านก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนสูง มีระยะเวลาในการคืนทุนนาน และมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา
อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวอาจจะค่อย ๆ ลดลงไป
เมื่อทาง KBank หรือธนาคารกสิกรไทย ได้ร่วมมือกับ 4 พันธมิตรใหญ่ เปิดตัว SolarPlus โครงการสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงพลังงานสะอาดฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
SolarPlus คืออะไร ?
แล้วจะมีประโยชน์ต่อผู้คนมากน้อยแค่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง..
SolarPlus คือโครงการติดตั้งโซลาร์รูฟให้แก่ประชาชนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อผลิตและขายไฟฟ้าเป็นครั้งแรกในไทย โดยเจ้าของบ้านไม่ต้องลงทุนติดตั้ง และเสียค่าบำรุงรักษาใด ๆ เลย เพราะมีผู้ลงทุนติดตั้งให้ โดยที่ธนาคารกสิกรไทยเป็นผู้ให้สินเชื่อแก่บริษัทผู้ลงทุนนั่นเอง
สิ่งที่พิเศษนอกจากเรื่องการติดตั้งฟรี คือคนที่ติดตั้งโซลาร์รูฟ จะได้ประโยชน์จากการลดค่าไฟฟ้าถึง 20% ในส่วนของการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์เซลล์
หากผลิตไฟฟ้าได้มากเกินการใช้งานในบ้าน ธนาคารกสิกรไทยจะเป็นผู้รับซื้อไฟฟ้าส่วนนี้ทั้งหมด เพื่อนำพลังงานสะอาดมาใช้ในองค์กร ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมการใช้พลังงานสะอาด เพื่อเพิ่ม Carbon Handprint โดยทำการซื้อขายผ่านแพลตฟอร์ม Peer-to-Peer Energy Trading ที่พัฒนาโดยทีมงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. นั่นเอง
ซึ่งในอนาคตจะขยายการขายไฟฟ้าให้แก่บ้านหลังอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกัน หรืออาคารสำนักงานที่สนใจก็ได้
โครงการ SolarPlus ทำให้ประชาชนแบบเราได้ประโยชน์ 2 ต่อ คือติดตั้งฟรี ช่วยลดค่าไฟ แล้วยังมีส่วนช่วยลดโลกร้อนอีกด้วย
โดยจะเริ่มนำร่องเฟสแรกกับ “หมู่บ้านศุภาลัย”
ก่อนที่จะขยายผลให้ครบ 500,000 หลังทั่วประเทศ ภายใน 5 ปี
หลายคนอาจสงสัยแล้วว่า โครงการใหญ่ระดับนี้ มีใครเป็นคนร่วมมือบ้าง
นอกจากธนาคารกสิกรไทย และมีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน
พันธมิตรคนแรก คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ซึ่งเป็นเจ้าของแพลตฟอร์ม และเป็นผู้รับผิดชอบระบบส่งต่อไฟฟ้าให้แก่บ้านหลังอื่น ๆ ผ่านแพลตฟอร์ม Peer-to-Peer Energy Trading ซึ่งแพลตฟอร์มนี้ผ่านการทดลองใช้งานจริง ในโครงการ ERC Sandbox เฟส 1 มาแล้วด้วย
พันธมิตรคนถัดมา คือ บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม สมาร์ท โซลูชั่น จำกัด
ซึ่งเป็นบริษัทลูกของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือที่รู้จักในชื่อย่ออย่าง กฟภ.
ได้รับการสนับสนุนสินเชื่อจากธนาคารกสิกรไทย เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการติดตั้ง และบำรุงรักษาระบบโซลาร์เซลล์ของบ้านเรือน
โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษา พร้อมให้ส่วนลดค่าไฟฟ้าแก่บ้านเรือน
ซึ่งเงื่อนไขและข้อตกลงในการจัดเก็บค่าไฟ จะเป็นไปตามสัญญาการให้บริการ
นอกจากนี้ยังมีพันธมิตรอย่าง บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน)
แบรนด์อสังหาริมทรัพย์ระดับประเทศ ให้การสนับสนุนในการนำโครงการ SolarPlus มาใช้กับอสังหาริมทรัพย์จริง ๆ โดยโครงการแรกคือ “ศุภาลัย การ์เด้นวิลล์ รังสิต คลอง 2” โครงการแนวราบที่มีลูกบ้านเข้าอยู่จำนวนมาก
และพันธมิตรคนสุดท้าย คือ บริษัท อินโนพาวเวอร์ จำกัด
ซึ่งเป็นบริษัทนวัตกรรมพลังงานชั้นนำของไทย
ทำหน้าที่บริหารจัดการซื้อขายไฟฟ้าผ่านแพลตฟอร์ม Peer-to-Peer Energy Trading และเข้ามาช่วยในการสนับสนุนการเข้าถึงพลังงานสะอาด
ไม่ว่าจะเป็น การให้บริการขึ้นทะเบียนอุปกรณ์ของโครงการพลังงานหมุนเวียน, การซื้อขายใบรับรอง Renewable Energy Certificate (REC) หรือที่เรียกว่าใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียนก็ตาม
จากรายชื่อทั้งหมดจะเห็นได้ว่า SolarPlus เป็นโครงการที่มีแต่องค์กรใหญ่ ๆ มารวมตัวจับมือกัน
ดังนั้น ความน่าเชื่อถือของโครงการนี้ นับว่ามีอย่างแน่นอน
สำหรับใครที่สนใจอาจจะต้องอดใจรอกันอีกนิด โครงการ SolarPlus มีแผนขยายไปยังบ้านเรือนประชาชนทั่วประเทศได้มีโอกาสเข้าร่วมเร็ว ๆ นี้
ถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะนอกจากประชาชนทั่วไปอย่างเรา จะมีโอกาสได้เข้าถึงพลังงานไฟฟ้าอย่างฟรี ๆ ยังได้มีส่วนร่วมดูแลโลกไปพร้อม ๆ กัน เพราะการติดตั้งโซลาร์รูฟได้ 500,000 หลัง จะสามารถผลิตพลังงานสะอาดได้ ปีละ 4.5 ล้านเมกะวัตต์ต่อชั่วโมง (MWh)
และสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ ปีละ 2.3 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ (tCO2eq) ซึ่งเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 240 ล้านต้น
แล้วยังพูดได้ว่าเป็นเพียงไม่กี่ครั้ง ที่จะเกิดความร่วมมือกันระหว่าง 3 ส่วน
นั่นคือ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการสนับสนุนพลังงานสะอาด เพื่อร่วมกันสร้างสังคมสีเขียวนำประเทศไปสู่ Net Zero ด้วยกัน
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.