เปิดคัมภีร์ฝ่าวิกฤติ ธุรกิจไทยปรับตัวอย่างไร ให้ยอดขายโต สวนทางเศรษฐกิจโลก ?

เปิดคัมภีร์ฝ่าวิกฤติ ธุรกิจไทยปรับตัวอย่างไร ให้ยอดขายโต สวนทางเศรษฐกิจโลก ?

11 พ.ย. 2022
เปิดคัมภีร์ฝ่าวิกฤติ ธุรกิจไทยปรับตัวอย่างไร ให้ยอดขายโต สวนทางเศรษฐกิจโลก ?
LINE x ลงทุนแมน
แม้วิกฤตโรคระบาดจะผ่านพ้นไปแล้ว แต่ดูเหมือนว่าเศรษฐกิจโลกยังไม่พ้นวิบากกรรม
เพราะยังต้องเผชิญกับ “Perfect Storm” หรือมรสุมเศรษฐกิจลูกใหม่
ที่เกิดขึ้นพร้อมกันใน สหรัฐฯ ยุโรป และจีน ซึ่งเป็นเหมือนเครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจโลก
คำถาม คือ ท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ธุรกิจไทย ควรเตรียมพร้อมอย่างไร ?
เพื่อรับมือมรสุมลูกใหม่ ให้ไม่เจ็บตัว แถมธุรกิจยังไปต่อได้
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
เพื่อหาคำตอบของเรื่องนี้ LINE ในฐานะผู้นำแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อธุรกิจของคนไทย ได้จัดงาน LINE THAILAND BUSINESS 2022
รวมพลผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและธุรกิจ มาแชร์ภาพรวมและทิศทางของเศรษฐกิจโลก
อัปเดตพฤติกรรมของผู้บริโภค เจาะลึกความสำคัญของ Customer-Centric
พร้อมไขความลับ ทำอย่างไรให้ธุรกิจไทย เติบโตสวนกระแสเศรษฐกิจโลก
เริ่มต้นด้วยการฉายภาพใหญ่ ให้เห็นทิศทางของเศรษฐกิจโลกในขณะนี้ว่ากำลังอยู่ในภาวะอึมครึม
เนื่องจาก เครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจโลก อย่าง สหรัฐฯ จีน และยุโรป ที่มีขนาดเศรษฐกิจคิดเป็น 60% ของ GDP โลก กำลังมีปัญหา
- สหรัฐฯ เจอวิกฤติเงินเฟ้อ จากการอัดฉีดเงินเข้าระบบมหาศาล
ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (Fed) ต้องขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง
มีการคาดการณ์ว่า ภายในกลางปี 2023 ดอกเบี้ยสหรัฐฯ จะอยู่ที่ราว 5% จากปัจจุบันอยู่ที่ราว 4%
- ยุโรป เศรษฐกิจยังคงถดถอยถึงปีหน้า
เนื่องจากผลกระทบจากสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน รวมไปถึงวิกฤตพลังงาน ทำให้อัตราเงินเฟ้อพุ่ง 10.7%
- จีน ยังคงเดินหน้ามาตรการ zero covid บวกกับเจอวิกฤติภาคอสังหาริมทรัพย์
นอกจากนี้ ยังถูกกีดกันทางเทคโนโลยีจากสหรัฐฯ ทำให้ปีนี้ จีดีพีของจีน อาจไม่ถึง 5.5% ตามที่ตั้งเป้าไว้
ที่สำคัญ ยังต้องจับตาการเปลี่ยนถ่ายอำนาจบางส่วนของพรรคคอมมิวนิสต์ ว่าจะส่งผลต่อนโยบายของสีจิ้นผิงอย่างไร
จากความท้าทายดังกล่าว จึงทำให้มีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2566 จะเติบโตช้ากว่าปีนี้
ที่สำคัญยังส่งผลให้เศรษฐกิจไทย ที่แม้จะเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว ยังเต็มไปด้วยความท้าทาย
และนำมาซึ่งคำถามสำคัญว่า ในปีหน้าเศรษฐกิจจะเติบโตสวนทางเศรษฐกิจโลกได้อย่างไร ?
หนึ่งในกำลังสำคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ก็คือ ผู้ประกอบการ SMEs
จากข้อมูลของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ระบุว่า SMEs ไทยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมากถึง 35% ของจีดีพีทั้งประเทศ
ที่น่าสนใจ คือ ปัจจุบัน ประเทศมีสัดส่วนผู้ที่ทำธุรกิจในกลุ่ม SMEs มากกว่า 99%
กระตุ้นให้เกิดการจ้างงานมากกว่า 71% ของการจ้างงานทั้งประเทศ
เรียกได้ว่า SMEs คือ ตัวแปรสำคัญในการเดินหน้าเศรษฐกิจไทย..
ดังนั้น ถ้าอยากปูทางให้เศรษฐกิจไทยปี 2023 สดใส ก็ต้องเริ่มจากการติดปีก SMEs ไทย
ทั้งในด้านความรู้และอาวุธทางธุรกิจ โดยเฉพาะในโลกอีคอมเมิร์ซ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญ
ข้อมูลจาก LINE พบว่า ช่วงก่อนโควิด 19 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซโลกเติบโต 9%
มาถึงช่วงระหว่างเกิดโควิด 19 จนถึงปัจจุบันโตพุ่งขึ้น 63% และยังคาดการณ์ว่าอนาคตจะโต 86%
สะท้อนให้เห็นว่า การเติบโตของอีคอมเมิร์ซ ไม่ได้เป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นชั่วคราว
แต่เกิดขึ้นมานานแล้ว แต่เพิ่งมาบูมในบ้านเรา โดยมีโควิด 19 เป็นตัวเร่ง
ที่น่าสนใจคือ เทรนด์นี้จะไม่ได้มาแล้วหายไป เพราะเมื่อผู้บริโภคได้ลองเปลี่ยนพฤติกรรมมาช็อปออนไลน์
และเกิดความพึงพอใจ พฤติกรรมนี้ ก็จะอยู่ถาวร
สอดคล้องกับข้อมูลของ McKinsey & Company และ Nielsen บริษัทที่ปรึกษาธุรกิจระดับโลก ต่างเห็นพ้องกันว่า แม้สถานการณ์โควิด19 จะเริ่มคลี่คลาย แต่การซื้อขายออนไลน์ ยังเป็นช่องทางหลักที่ลูกค้าให้ความสนใจ
เพราะฉะนั้น หนึ่งในโอกาสที่ไม่ควรมองข้ามของผู้ประกอบการในการสร้างและทำรายได้
ถ้าจะให้ดี ต้องไม่มองว่า อีคอมเมิร์ซ เป็นแค่ช่องทางการขาย แต่เป็น Touchpoint ในการสื่อสาร และเข้าถึงผู้บริโภค
นอกจากนี้ ถ้าอยากมัดใจลูกค้า แบรนด์ต้องรู้จักสร้างจุดขาย (Unique Selling Point) ให้แบรนด์มีความโดดเด่น รวมไปถึงไม่หยุดที่จะนำนวัตกรรมมาพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ออกมาให้ผู้บริโภคได้ลอง
มาถึงปัจจัยที่ไม่ควรมองข้าม อย่าง เรื่องของการตั้งราคาสินค้า
แม้ต้นทุนในการผลิตสินค้าจะเพิ่มขึ้น แต่หากแบรนด์ปรับขึ้นราคา โดยไม่ดู Price Architecture หรือ การสร้างตัวเลือกด้านราคา ก็อาจทำให้เสียลูกค้าได้
อย่าลืมว่า ผู้บริโภคมีความต้องการ และข้อจำกัดในการใช้จ่ายไม่เหมือนกัน
ดังนั้น หากจะมีการปรับขึ้นราคาสินค้า เพื่อไม่ให้เสียลูกค้า
แบรนด์อาจใช้วิธีสร้างทางเลือกราคาให้หลากหลาย เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภค
ส่วนเทรนด์ของสินค้าที่น่าจับตา คือสินค้าส่วน Health และ Wellness รวมถึงเรื่องของความยั่งยืน
ผู้บริโภคยุคนี้ ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จนนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การนำแก้วของตัวเองไปซื้อกาแฟ หรือการไม่รับถุงพลาสติก เป็นต้น
ขณะที่ผู้บริโภคจำนวนไม่น้อย ยินดีที่จะจ่ายในราคาสูงขึ้น เพื่อซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ปิดท้ายด้วยอีกหนึ่งอาวุธลับที่สำคัญ ที่เป็นเหมือนกองหนุนในการช่วยผู้ประกอบการ SMEs ให้อยู่รอดท่ามกลางสมรภูมิการค้าที่มีการแข่งขันอย่างดุเดือด คือ เครื่องมือทางธุรกิจ
ที่ช่วยให้ SMEs สามารถยืนหยัดในโลกธุรกิจได้ อย่างยั่งยืน

ถ้าพูดถึงหนึ่งในแพลตฟอร์มที่เป็นคู่คิดให้กับ SMEs ต้องมีชื่อของ LINE แอปฯ ที่แทบทุกคนต้องมีติดเครื่อง
การันตีด้วยตัวเลขผู้ใช้งานที่ราว 53 ล้านบัญชี
เพราะด้วยจุดเด่นของ LINE ที่เริ่มต้นจากการเป็นแอปฯ ที่เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนยุคนี้ไปแล้ว ทำให้ใครที่อยากช็อปผ่าน LINE ก็ไม่ต้องยุ่งยาก ไปโหลดแอปฯ มาเพิ่มให้หนักเครื่อง
แถมยังใช้งานง่าย สะดวก ที่สำคัญ การแช็ตเพื่อคุยกับคนขาย ยังเป็นหนึ่งในท่ามาตรฐานที่คนไทยคุ้นเคย
เพราะถึงจะเป็นการช็อปออนไลน์ แต่พอได้คุยกับคนขายผ่านการแช็ต ก็ช่วยเพิ่มความมั่นใจ
แถมคนขาย ก็ยังมีโอกาสสร้างความประทับใจให้ลูกค้าแบบ Hyper personalization เพราะสามารถคุยกับลูกค้าได้แบบตัวต่อตัว
เปรียบเทียบให้เห็นภาพ สมมติมีคนเข้าเว็บมาดูสินค้า 10 คน อาจจะมีคนที่ตัดสินใจซื้อ เฉลี่ยประมาณ 3%
แต่ถ้า 10 คนนี้ ได้มีการแช็ตคุยกับคนขาย จะมีอัตราการปิดการขายได้ 45%
นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม การซื้อขายใน LINE โดยมีระบบ Chat Commerce ถึงประสบความสำเร็จอย่างมาก
ที่น่าสนใจ คือ LINE ไม่ได้หยุดอยู่แค่การเป็นแพลตฟอร์มที่เป็นสื่อกลางในการซื้อ-ขาย
แต่ LINE กำลังคิดเป็นอีกขั้น เพื่อช่วยให้ SMEs ไทย สร้างรายได้ จากการขายได้มากขึ้น
ด้วยการพยายามหาโซลูชันเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม จากฐานลูกค้าเดิมของแต่ละแบรนด์บน LINE
ข้อดี คือ ช่วยลดต้นทุนในการหาลูกค้าใหม่ และยังช่วยเพิ่มยอดขาย
จากสถิติ พบว่า อัตราลูกค้าเก่าซื้อซ้ำนั้นอาจจะมีเพียง 10% ของจำนวนลูกค้าที่ซื้อทั้งหมด
แต่จริง ๆ แล้วลูกค้ากลุ่มนี้สามารถทำยอดขายได้ถึง 50% ของยอดขายรวมในร้าน
เพราะฉะนั้น การทำให้ลูกค้าเก่ากลับมาซื้อซ้ำ จึงเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ไม่ควรมองข้าม
คำถามคือ แล้วจะทำอย่างไรให้ลูกค้าเก่าไม่เปลี่ยนใจ และอยากกลับมาซื้อซ้ำเรื่อย ๆ
ในเมื่อเทรนด์ของผู้บริโภคยุคใหม่ พร้อมจะเปิดใจลองสินค้าใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา
แน่นอนว่า ในแง่ของการพัฒนาสินค้าเป็นโจทย์ที่ SMEs ต้องไม่หยุดที่จะก้าวไปข้างหน้า เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า
แต่ในแง่เครื่องมือทางธุรกิจ ที่จะช่วยมัดใจ และกระตุ้นให้ลูกค้าเก่าพร้อมจะช่วยบอกต่อ และกลับมาซื้อซ้ำ
LINE สามารถเข้ามาช่วยเติมเต็ม
ประเดิมโร้ดแมปโซลูชั่นใหม่ ที่จะเปิดตัวในปี 2566 สำหรับ SME ไทย
- MyCustomer for SME เครื่องมือเสริมที่ช่วยทำหน้าที่เป็นถังเก็บข้อมูลที่ได้จาก LINE OA ของแบรนด์ นำมาจัดกลุ่มจำแนก
เพื่อวิเคราะห์ไปเป็นกลุ่มเป้าหมายสื่อสาร
ทำการตลาดได้ดียิ่งขึ้น แต่เดิมเป็นโซลูชั่นสำหรับธุรกิจองค์กรใหญ่
ซึ่งในปีหน้าจะพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อเปิดให้ SME สามารถใช้งานได้ง่าย และตอบโจทย์ธุรกิจรายเล็กได้
เพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการดาต้าให้แบรนด์เล็ก
- MyCRM โซลูชั่นแบบพร้อมใช้สำหรับ SME ในการรักษาฐานลูกค้า ด้วยฟีเจอร์ในการสร้างระบบสมาชิก ระบบ Reward loyalty
ไปจนถึงแบบสอบถามต่างๆ ไปหาลูกค้าได้ผ่าน LINE OA
- LINE SHOPPING Ads เพิ่มประสิทธิภาพในด้านโฆษณาบน LINE Ads ให้ตอบโจทย์กลุ่ม SME ที่ใช้งาน LINE SHOPPING มากยิ่งขึ้น
โดยเป็นตัวช่วยให้สามารถบริหารจัดการงบประมาณในการลงโฆษณาบน LINE Ads เพื่อปิดการขายได้ดียิ่งขึ้น
3 ฟีเจอร์ใหม่ใน LINE SHOPPING
- Live Commerce หรือ ฟีเจอร์ไลฟ์ขายของ ที่สามารถให้ ไลฟ์ขายของกับผู้ติดตาม
- Gifting ส่งของขวัญแทนใจให้กันบนโลกออนไลน์
- Share & Earn ฟีเจอร์ที่ถูกใจสายแชร์ เพราะทุกครั้งที่มีการแชร์ไปให้เพื่อน แล้วเพื่อนซื้อตาม เราจะได้รับค่าคอมมิชชัน
ซึ่งไอเดียของฟีเชอร์นี้ เกิดจากการที่ LINE พบว่า เวลาเพื่อนส่งลิงก์บางอย่างมาให้
ผู้รับข้อความมีโอกาสคลิกตามไปดูจริง ๆ ถึง 57% อกาสที่จะซื้อจริงก็มากกว่าวิธีการโฆษณาออนไลน์อื่นถึง 3 เท่า
พูดง่าย ๆ ว่า ในขณะที่ เจ้าของธุรกิจพยายามดูแลลูกค้าอย่างดี
LINE ก็พร้อมจะดูแลและประคองให้ธุรกิจของเราเติบโตไปด้วยกัน ด้วย Ecosystem ของ LINE ที่เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของทุกคนอยู่แล้ว
ทั้งหมดนี้ คือ คัมภีร์ฝ่าธุรกิจสำหรับธุรกิจเพื่อปรับตัว ในยุคเศรษฐกิจโลกไม่เป็นใจ
เพราะสุดท้ายแล้ว ขึ้นชื่อว่าวิกฤติย่อมมีโอกาส
อยู่ที่ว่า ใครจะเป็นผู้ที่สามารถค้นหา และคว้าโอกาสนั้นมาครอง
แต่อย่างน้อย ธุรกิจไทยก็อุ่นใจ ที่มีแพลตฟอร์มอย่าง LINE ที่มุ่งพัฒนาโซลูชันทางธุรกิจจากอินไซต์คนไทย โดยผู้พัฒนาไทย ที่เข้าใจคนไทยอย่างแท้จริงเคียงข้าง..
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.