การควบรวมกิจการ สิ่งสำคัญที่คนทำธุรกิจควรรู้

การควบรวมกิจการ สิ่งสำคัญที่คนทำธุรกิจควรรู้

28 พ.ย. 2022
การควบรวมกิจการ สิ่งสำคัญที่คนทำธุรกิจควรรู้ /โดย ลงทุนแมน
ถ้าพูดถึงดีลควบรวมกิจการครั้งสำคัญที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้
หลายคนน่าจะนึกถึง การควบรวมกิจการระหว่าง ธนาคารทหารไทย และ ธนาคารธนชาต กลายมาเป็น ธนาคารทหารไทยธนชาต (TTB)
หรือล่าสุดก็มี บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) และ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) ที่กำลังอยู่ระหว่างการควบรวมกิจการกัน
ซึ่งหากสำเร็จ ก็น่าจะเป็นดีลครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของธุรกิจโทรคมนาคมในประเทศไทย
แล้วเราเคยสงสัยไหมว่า
ทำไม บางบริษัท ถึงเลือก ควบรวมกิจการกัน
วันนี้ลงทุนแมนจะมาสรุปให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
การควบรวมกิจการ หรือเรียกว่า M&A ย่อมาจาก “Mergers and Acquisitions”

โดยคำแรก Mergers หมายถึง การที่บริษัทตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไป ทำการควบรวมกิจการเข้าด้วยกัน
เป็นบริษัทใหม่ บริษัทเดียว และบริษัทเดิมทั้งสอง หรืออาจมากกว่า ก็จะเป็นเจ้าของบริษัทใหม่ร่วมกัน

ส่วนคำที่สอง Acquisitions หมายถึง การที่บริษัทหนึ่งเข้าไปซื้อกิจการของอีกบริษัทหนึ่ง
โดยทั่วไปแล้วการควบรวมกิจการ มักแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบหลัก ๆ คือ
1. การควบรวมกิจการแบบแนวนอน (Horizontal Integration)
เป็นการควบรวมของกิจการที่ทำธุรกิจเหมือนกัน หรืออยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ แผนการควบรวมกิจการกันระหว่าง TRUE และ DTAC รวมไปถึง TMB และ ธนชาต
2. การควบรวมกิจการแบบแนวตั้ง (Vertical Integration)
เป็นการควบรวมกิจการที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถควบคุมห่วงโซ่อุปทานเดียวกัน
อย่างเช่น เมื่อไม่นานมานี้ บมจ.เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC ในเครือปูนซิเมนต์ไทย ก็อยู่ระหว่างการทำธุรกรรมเข้าซื้อ KRAS บริษัทจัดการขยะในเนเธอร์แลนด์ เพื่อมาช่วยจัดหาขยะพลาสติก สำหรับธุรกิจเม็ดพลาสติกรีไซเคิลของทาง SCGC

3. การควบรวมกิจการที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน (Conglomerate Integration)
เป็นการควบรวมของกิจการที่ทำธุรกิจแตกต่างกัน ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิมของกิจการเลยแม้แต่น้อย
อย่างกรณี TCC Group ของคุณเจริญ สิริวัฒนภักดี ที่มีการควบรวมกิจการต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องมาอยู่ในเครือมากมาย เช่น ธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม อสังหาริมทรัพย์ ประกัน การเงิน และธุรกิจการเกษตร เป็นต้น
แล้วมีแรงจูงใจอะไรบ้าง ที่ทำให้บริษัทเลือก ควบรวมกิจการกัน
- เพิ่มส่วนแบ่งการตลาด ลดจำนวนคู่แข่งในอุตสาหกรรม
บริษัทจะมีส่วนแบ่งการตลาดสูงขึ้น และการที่ผู้เล่นในอุตสาหกรรมลดลง ก็ทำให้เกิดการแข่งขันในอุตสาหกรรมน้อยลงด้วย
- ลดต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการ
บริษัทสามารถแชร์ทรัพยากรร่วมกัน เช่น ด้านเทคโนโลยี ด้านบุคลากร รวมไปถึงสินทรัพย์ของบริษัท ส่งผลให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) ทำให้ต้นทุนต่าง ๆ ลดลง

รวมไปถึง บริษัทอาจสามารถสร้างสินค้าและบริการได้มากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย
- เพิ่มอำนาจในการต่อรองกับซัปพลายเออร์
บริษัทจะมีอำนาจในการต่อรองกับซัปพลายเออร์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้สามารถจัดซื้อวัตถุดิบ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้ในราคาถูกลง
เนื่องจากการมีคำสั่งซื้อในปริมาณที่มากขึ้น
- กระจายความเสี่ยงของธุรกิจ
บางครั้งธุรกิจของบริษัทที่ทำอยู่เดิม อาจเข้าสู่ในช่วงของการอิ่มตัว หรือการเติบโตมีแนวโน้มลดลง
หรืออาจถูกดิสรัปต์ ด้วยเทคโนโลยีหรือคู่แข่งใหม่ ๆ ที่อาจเข้ามาในอนาคต
ดังนั้น การควบรวมกิจการ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิม ก็ถือเป็นการช่วยกระจายความเสี่ยงของธุรกิจอีกทางหนึ่ง
อ่านมาถึงตรงนี้ เราน่าจะพอเข้าใจแล้วว่า ทำไม บางบริษัท ถึงเลือกควบรวมกิจการกัน
นั่นก็เพราะว่า การรวมกัน ก็น่าจะดีกว่า การแยกกันอยู่นั่นเอง..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.thebalancemoney.com/what-is-vertical-integration-3305807
-https://www.thaismescenter.com
-https://www.pptvhd36.com/news
-https://www.fool.com/investing/2018/05/20/
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.