“เป้าหมายเงินเฟ้อ” ตัวเลขที่มีผลต่อ การขึ้นดอกเบี้ยของ แบงก์ชาติ

“เป้าหมายเงินเฟ้อ” ตัวเลขที่มีผลต่อ การขึ้นดอกเบี้ยของ แบงก์ชาติ

5 ก.พ. 2023
“เป้าหมายเงินเฟ้อ” ตัวเลขที่มีผลต่อ การขึ้นดอกเบี้ยของ แบงก์ชาติ /โดย ลงทุนแมน
หนึ่งในตัวเลขเศรษฐกิจที่หลายคนให้ความสำคัญก็คงต้องมี “อัตราเงินเฟ้อ” เป็นหนึ่งในนั้น
แต่รู้ไหมว่า ยังมีตัวเลขอีกตัวหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเงินเฟ้อเช่นกัน นั่นคือ “เป้าหมายเงินเฟ้อ” หรือ “Inflation Targeting”
แล้ว เป้าหมายเงินเฟ้อ คืออะไร ?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่เราได้ยินในข่าว เช่น อัตราเงินเฟ้อในปี 2565 ของประเทศไทย เท่ากับ 6%
คือ เงินเฟ้อที่เกิดขึ้นจริง
เปรียบเทียบให้เห็นภาพคือ
ปี 2564 ข้าวแกง ราคาจานละ 50 บาท
ปี 2565 ข้าวแกง ปรับเป็นราคาจานละ 53 บาท
ซึ่งอัตราเงินเฟ้อ 6% ที่เกิดขึ้นนี้ สูงกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งเป้าเอาไว้
สิ่งนี้เองที่เรียกว่า “เป้าหมายเงินเฟ้อ”
สำหรับแนวคิดของเป้าหมายเงินเฟ้อนั้น ถูกนำมาใช้ตั้งแต่ปี 2532 โดยธนาคารกลางนิวซีแลนด์เป็นธนาคารกลางแห่งแรกที่นำแนวคิดนี้มาใช้
ส่วนประเทศไทยนั้น มีการนำแนวคิดของเป้าหมายเงินเฟ้อมาใช้ครั้งแรก ตั้งแต่ปี 2543
โดยธนาคารแห่งประเทศไทย จะมีการกำหนดเป็นกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อไว้ล่วงหน้า ในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีข้างหน้า เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดทิศทางของนโยบายการเงิน
โดยในปี 2566 ธนาคารแห่งประเทศไทย มีการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้ออยู่ที่ 1-3%
หากอัตราเงินเฟ้อ เคลื่อนไหวออกนอกกรอบเป้าหมายดังกล่าว
หนึ่งในเครื่องมือของธนาคารแห่งประเทศไทย ในการนำอัตราเงินเฟ้อทั่วไป กลับเข้าสู่เป้าหมายก็คือ “การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย”
- กรณีที่อัตราเงินเฟ้อสูงเกินกว่ากรอบเงินเฟ้อเป้าหมาย
ธนาคารกลางจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อลดระดับราคาสินค้าและบริการ
- กรณีที่เงินเฟ้ออยู่ต่ำกว่ากรอบเงินเฟ้อเป้าหมาย
ธนาคารกลางจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งจะช่วยเพิ่มระดับราคาสินค้าและบริการ
แม้ว่าปัจจุบันแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของประเทศไทยจะเริ่มลดลง แต่ถ้าเราดูค่าเฉลี่ย 12 เดือนย้อนหลัง จะพบว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปก็ยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่า 6%
พอเรื่องเป็นแบบนี้ จึงทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด ด้วยการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น จนล่าสุดอยู่ที่ 1.5%
ทั้งนี้ ก็เพื่อพยายามควบคุมให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ค่อย ๆ ปรับตัวลดลง จนกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในอนาคต
นอกจากนี้ อีกด้านหนึ่งของเป้าหมายเงินเฟ้อ ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
ลองคิดดูว่า ถ้าประเทศไหนไม่มีเครื่องมือดังกล่าว เวลาที่อัตราเงินเฟ้อในประเทศพุ่งสูงขึ้นมาก ๆ ข้าวของมีราคาแพง ประชาชนจะมีการกักตุนสินค้า
เพราะมีการคาดการณ์ว่า ในอนาคตราคาสินค้าและบริการอาจปรับเพิ่มขึ้นไปอีก
แต่ถ้ามีเป้าหมายเงินเฟ้อมาเป็นกรอบ เพื่อให้ธนาคารกลางคอยควบคุมดูแลการเคลื่อนไหวของเงินเฟ้อ สถานการณ์ดังกล่าวก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย
เพราะคนส่วนใหญ่เชื่อมั่นว่า ธนาคารกลางจะพยายามควบคุมเงินเฟ้อให้เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบที่กำหนดนั่นเอง
ถึงตรงนี้ หลายคนน่าจะพอเห็นภาพของเป้าหมายเงินเฟ้อมากขึ้น ซึ่งก็น่าจะเป็นประโยชน์เวลาที่ได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับเงินเฟ้อในครั้งต่อไป..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/MonetPolicyKnowledge/Pages/Target.aspx
-https://www.price.moc.go.th/price/fileuploader/file_admin_sum/indices_all.pdf
-https://tdri.or.th/wp-content/uploads/2013/05/YE1999_7-02.pdf
-https://en.wikipedia.org/wiki/Inflation_targeting
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.