ลงทุนหุ้นบริษัทใหญ่ เหมือนกับยืนบนไหล่ยักษ์

ลงทุนหุ้นบริษัทใหญ่ เหมือนกับยืนบนไหล่ยักษ์

ลงทุนหุ้นบริษัทใหญ่ เหมือนกับยืนบนไหล่ยักษ์ /โดย ลงทุนแมน
หลายคนอาจมองว่าหุ้นขนาดใหญ่ จะสร้างผลตอบแทนได้ยากกว่าหุ้นขนาดเล็กหรือขนาดกลาง
แต่รู้หรือไม่ว่า การซื้อหุ้นเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ ก็สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับเราได้อย่างไม่น่าเชื่อ
ตัวอย่างเช่น ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
- Nvidia ทำผลตอบแทน ได้ถึง 96% ต่อปี
- Apple ทำผลตอบแทน ได้ถึง 54% ต่อปี
- Microsoft ทำผลตอบแทน ได้ถึง 44% ต่อปี
จากตรงนี้ จะเห็นได้ว่าหุ้นขนาดใหญ่ ก็สร้างผลตอบแทนที่ยอดเยี่ยมให้กับเราได้เหมือนกัน ไม่ต่างอะไรไปจากเรายืนอยู่บนไหล่ของยักษ์
แต่ต้องขอเบรกไว้ว่า..
ไม่ใช่หุ้นขนาดใหญ่ทุกตัวจะดีเสมอไป และการลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ก็มีข้อเสียเปรียบด้วยเหมือนกัน
วันนี้ เรามาดูกันว่าลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่มีข้อดี รวมถึงข้อเสีย อะไรบ้าง ? ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
มาเริ่มที่ข้อดีกันก่อน
ข้อแรกเลย คือ “บริษัทใหญ่มีความมั่นคง”
โดยทั่วไปแล้ว บริษัทขนาดใหญ่มักเป็นบริษัทที่มีประวัติยาวนาน มีผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคนึกถึง และสามารถยืนหยัดผ่านวิกฤติมาได้หลายครั้ง
ตัวอย่างเช่น บริษัท Apple เจ้าของ iPhone ในช่วงวิกฤติซับไพรม์ ปี 2008 รวมถึงวิกฤติล็อกดาวน์ ปี 2020
ช่วงวิกฤติซับไพรม์
ปี 2007 รายได้ 920,000 ล้านบาท
ปี 2008 รายได้ 1,200,000 ล้านบาท
ปี 2009 รายได้ 1,500,000 ล้านบาท
ช่วงวิกฤติล็อกดาวน์
ปี 2020 รายได้ 10,000,000 ล้านบาท
ปี 2021 รายได้ 13,000,000 ล้านบาท
ปี 2022 รายได้ 14,000,000 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 ช่วงวิกฤติ Apple มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นมาตลอด หรือเรียกว่า เติบโตสวนวิกฤติได้อีกด้วย
ข้อดีข้อต่อมาคือ บริษัทใหญ่ มีข้อได้เปรียบจาก “การเป็นเจ้าตลาด”
เจ้าตลาด หมายถึง การที่บริษัทมีส่วนแบ่งการตลาดที่สูงจนมีความได้เปรียบ หนึ่งในนั้น ก็คือ Economies of scale หรือการผลิตสินค้าจำนวนมาก จนมีต้นทุนต่อหน่วยที่ต่ำกว่าคู่แข่งหน้าใหม่ที่ยังผลิตสินค้าจำนวนน้อยชิ้นอยู่
นอกจากนี้ การเป็นเจ้าตลาดยังมีข้อดีอื่น ๆ อีก อย่างเช่น การที่คู่แข่งเข้ามาแข่งขันได้ยาก
ในกรณีที่ธุรกิจนั้นใช้เงินลงทุนสูง เช่น เจ้าตลาดธุรกิจรับจ้างผลิตชิปอย่าง TSMC ที่ประกาศใช้เงินลงทุนในการสร้างโรงงานใหม่ที่รัฐแอริโซนา มากถึง 1.4 ล้านล้านบาท
อีกหนึ่งจุดแข็งของบริษัทใหญ่ ก็คือ บริษัทใหญ่มักจะมี “เงินสดล้นมือ” ทำให้ธุรกิจมีทางเลือกในการนำเงินสดไปใช้ได้หลากหลายทาง เช่น
- การนำไปลงทุนต่อ
- การนำไปซื้อกิจการ
หรือแม้แต่นำไปสร้างผลตอบแทนคืนกลับมาให้ผู้ถือหุ้น เช่น การซื้อหุ้นคืน หรือนำไปจ่ายเป็นเงินปันผล
เรามักจะเห็นตัวอย่างนี้จากหุ้นไทยที่มีขนาดใหญ่ ที่จ่ายปันผลต่อเนื่อง หรือประกาศซื้อหุ้นคืนเป็นประจำ เช่น
Apple, Berkshire Hathaway, Starbucks, Alphabet และ Meta
ตัวอย่างเช่น บริษัท Apple ที่มีการซื้อหุ้นคืนคิดเป็นมูลค่าถึง 19 ล้านล้านบาท ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มูลค่ารวมกันมากกว่า GDP ประเทศไทยเสียอีก..
เห็นแบบนี้แล้วการลงทุนในบริษัทใหญ่ ก็ดูจะมีข้อดีอยู่ไม่น้อย แต่การลงทุนในบริษัทใหญ่ก็ยังมีเรื่องที่ต้องระวังเหมือนกัน
เรื่องแรกก็คือ บริษัทใหญ่อาจจะเติบโตได้ไม่มาก หากเทียบกับหุ้นขนาดเล็ก
ไม่ว่าจะเป็นจากฐานรายได้เดิมที่ใหญ่มากอยู่แล้ว หรือการที่กินส่วนแบ่งตลาดไปมากแล้ว
ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจค้าปลีก ที่มีจำนวนสาขาทั่วประเทศ มีรายได้ต่อสาขาคงที่ และมีส่วนแบ่งการตลาดที่ค่อนข้างเยอะแล้ว ก็คงจะเติบโตในธุรกิจเดิมไม่ได้มาก
และเมื่อเป็นหุ้นขนาดใหญ่แล้ว โดยเฉพาะหุ้นที่คนรู้ว่าทั้งใหญ่และดีด้วย ราคาหุ้นตัวนั้น ๆ ก็จะไม่ได้มีราคาถูกพอที่เราจะเข้าไปลงทุนได้เลย
เพราะด้วยความที่บริษัทใหญ่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง และบริษัทมีความมั่นคง รวมถึงมีการเติบโตที่ร้อนแรง ก็จะทำให้ราคาของบริษัทใหญ่ มักเต็มไปด้วยความเชื่อมั่น
เช่น Tesla ซื้อขายกันที่ P/E 66 เท่า
Nvidia ซื้อขายกันที่ P/E 195 เท่า
หากเราเข้าซื้อในราคาที่สูงเกินไป การลงทุนครั้งนั้นอาจไม่ใช่การลงทุนที่ดีเท่าไร
จะเห็นได้ว่า การลงทุนในบริษัทใหญ่ก็คงคล้ายกับการยืนบนไหล่ของยักษ์ เพราะมีข้อได้เปรียบที่แข็งแกร่งมากมาย ทั้งความมั่นคง ความได้เปรียบทางการแข่งขัน ธุรกิจสามารถสร้างกำไรสม่ำเสมอ มีปันผล หรือสร้างผลตอบแทนผ่านการซื้อหุ้นคืนได้
แต่ที่สำคัญ เราก็ต้องไม่ลืมเรื่องของ Timing ในการเข้าไปลงทุนในราคาที่เหมาะสมด้วย ที่จะช่วยให้การลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ของเรานั้น สร้างผลตอบแทนได้อย่างคุ้มค่า นั่นเอง
หากเราอยาร่วมเป็นเจ้าของหุ้นบริษัทใหญ่ เราสามารถลงทุนผ่านกองทุน MEGA10 เป็นกองทุนที่เข้าไปลงทุนในบริษัทที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก โดยเน้นแค่ 10 บริษัทเท่านั้น เช่น Meta, Visa, Mastercard, Amazon, Microsoft และ Tesla* ซึ่งเราจะมีส่วนร่วมใน 10 บริษัทนี้แบบ เน้น ๆ ในสัดส่วนที่หาไม่ได้จากกองทุนอื่น
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถศึกษารายละเอียดและเริ่มต้นลงทุนได้ที่ https://finno.me/mega-lt22
หรือ บลจ.ทาลิส 02-0150215, 02-0150216 จะมีคนคอยช่วยเหลือในการเปิดบัญชี ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.talisam.co.th
คำเตือน: กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะ เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนรวมก่อนตัดสินใจลงทุน
ผลการดำเนินงานในอดีต/ ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
กองทุนนี้มีการลงทุนในต่างประเทศมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และมีการลงทุนกระจุกตัวของหลักทรัพย์ หมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก
*บริษัทดังกล่าวสามารถปรับเปลี่ยนได้ ตามเกณฑ์การลงทุนและสภาวะการลงทุน ณ ขณะนั้น
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://companiesmarketcap.com/
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2022-11-29/apple-aapl-stock-buyback-bonanza-helps-to-buoy-stock-in-market-slump
-https://www.investopedia.com/ask/answers/020915/which-types-industries-have-largest-capital-expenditures.asp#:~:text=Automobile%20manufacturing%2C%20energy%2C%20transportation%2C,depreciating%20the%20assets%20over%20time.
-https://www.ogj.com/general-interest/economics-markets/article/14292115/oil-gas-producers-continue-to-ramp-up-capital-spending-in-2023
-https://www.cnbc.com/2022/12/06/tsmc-to-up-arizona-investment-to-40-billion-with-second-semiconductor-chip-plant.html
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon