รู้จักปรากฏการณ์ ประเทศยิ่งรวย คนยิ่งมีลูกน้อยลง

รู้จักปรากฏการณ์ ประเทศยิ่งรวย คนยิ่งมีลูกน้อยลง

3 ก.ค. 2023
รู้จักปรากฏการณ์ ประเทศยิ่งรวย คนยิ่งมีลูกน้อยลง /โดย ลงทุนแมน
ปัญหาที่ขัดขวางการเติบโตของเศรษฐกิจ ที่หลายประเทศกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันคือ แนวโน้มคนเกิดน้อยลง
ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ปัญหานี้มักเกิดกับประเทศที่ร่ำรวย มากกว่าประเทศที่ยากจน
โดยปรากฏการณ์แบบนี้ จะถูกเรียกว่า
“Demographic-Economic Paradox” หรือพูดง่าย ๆ คือ ประเทศยิ่งรวย คนยิ่งมีลูกน้อยลง
ปรากฏการณ์นี้น่าสนใจอย่างไร
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
รู้หรือไม่ว่า รายได้ต่อหัวของประชากร กับอัตราการเกิดของประชากรในหลายประเทศ มีทิศทางสวนทางกัน
ประเทศที่มีรายได้ต่อหัวของประชากรต่ำ คนจะมีลูกกันมากขึ้น
ประเทศที่มีรายได้ต่อหัวของประชากรสูง คนกลับมีลูกกันน้อยลง
ยกตัวอย่าง ประเทศญี่ปุ่น หนึ่งในประเทศที่กำลังเผชิญกับวิกฤติจำนวนประชากรเกิดน้อยลง
- ปี 1981 รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรต่อปี อยู่ที่ 359,000 บาท และจำนวนเด็กเกิดใหม่ 1.8 คน ต่อผู้หญิง 1 คน
- ปี 2021 รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรต่อปี อยู่ที่ 1,400,000 บาท และจำนวนเด็กเกิดใหม่ 1.4 คน ต่อผู้หญิง 1 คน
ทีนี้ เราลองมาดูตัวเลขในช่วงเดียวกันนี้ ของประเทศเอธิโอเปีย หนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดแห่งหนึ่งของโลกกันบ้าง
- ปี 1981 รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรต่อปี อยู่ที่ 7,100 บาท และจำนวนเด็กเกิดใหม่ 7.3 คน ต่อผู้หญิง 1 คน
- ปี 2021 รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรต่อปี อยู่ที่ 32,000 บาท และจำนวนเด็กเกิดใหม่ 4.0 คน ต่อผู้หญิง 1 คน
สรุปได้ว่า ประเทศที่มีรายได้ต่อหัวต่ำ จะมีลูกกันมากกว่าประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูง
แต่พอรายได้ต่อหัวเริ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะประเทศไหน ก็ต่างมีลูกกันน้อยลง
โดยปรากฏการณ์ลักษณะนี้ จะถูกเรียกว่า“Demographic-Economic Paradox”
เมื่อประเทศยิ่งรวย คนยิ่งเกิดน้อยลง และปัญหานี้จะรุนแรงมากยิ่งขึ้น หากเป็นประเทศที่มีรายได้สูง
แล้วทำไมถึงเป็นแบบนั้น ?
เมื่อคนมีรายได้สูงขึ้น มีตำแหน่งหน้าที่การงานดีขึ้น จึงต้องให้ความสำคัญกับงานมากขึ้นตาม
ซึ่งก็อาจมองว่า การแต่งงานมีลูกนั้น ทำให้เสียโอกาสในความก้าวหน้าทางอาชีพ เพราะต้องแบ่งเวลาไปให้ลูกมากขึ้น
รวมไปถึงการที่ผู้หญิงมีบทบาทในสังคมมากขึ้น สามารถหารายได้เลี้ยงดูตัวเองได้ ก็อาจทำให้มีแรงจูงใจในการแต่งงานมีลูกน้อยลงด้วยเหมือนกัน
นอกจากนี้ ปัจจุบันครอบครัวที่มีรายได้สูง มักให้ความสำคัญกับคุณภาพของการเลี้ยงลูกมากขึ้น ทำให้เลือกมีลูกน้อยลงอีกด้วย
อ่านมาถึงตรงนี้ บางคนอาจเชื่อกันว่า เมื่อเรามีรายได้มากขึ้น มีกำลังที่จะเลี้ยงดูลูกมากขึ้น ก็มีแนวโน้มที่จะมีลูกกันมากขึ้น แต่นั่นอาจไม่เป็นจริงเสมอไป
เพราะสุดท้ายแล้ว การที่สังคมและเศรษฐกิจพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ก็อาจทำให้เกิดปรากฏการณ์
Demographic-Economic Paradox ที่แม้คนจะรวยกันมากขึ้น แต่กลับมีลูกกันน้อยลง..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ รู้ไหมว่า ปี 1974 ดร.คาราน ซิงห์ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรมนุษย์ของประเทศอินเดีย เคยกล่าวในที่ประชุมองค์การสหประชาชาติว่า “Development is the best contraceptive.” หรือ การพัฒนาประเทศ ถือเป็นการคุมกำเนิดที่ดีที่สุด..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://psychology.fandom.com/wiki/Demographic-economic_paradox
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD?locations=JP
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD?locations=ET
-https://www.macrotrends.net/countries/JPN/japan/fertility-rate#:~:text.
-https://www.macrotrends.net/countries/ETH/ethiopia/fertility-rate
-https://en.wikipedia.org/wiki/Income_and_fertility
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.