อัปเดต แอปกู้เงินออนไลน์ถูกกฎหมาย อนุมัติง่าย กู้ได้จริง

อัปเดต แอปกู้เงินออนไลน์ถูกกฎหมาย อนุมัติง่าย กู้ได้จริง

6 ธ.ค. 2023
ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปเทคโนโลยีเริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ทำให้การขอสินเชื่อต่าง ๆ ง่ายมากขึ้น เพื่อให้ทุกคนมีสภาพการเงินที่คล่องตัว และสามารถนำเงินมาใช้หมุนเวียนได้อย่างไม่ติดขัด สถาบันการเงินหลาย ๆ แห่งจึงนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมกับการขอสินเชื่ออย่างเช่น "แอปกู้เงินออนไลน์”
ในความสะดวกสบายนี้ ยังมีข้อควรระวัง เพราะมิจฉาชีพมักใช้จุดเด่นนี้ แฝงตัวเข้ามาหลอกหล่อเหยื่อ ด้วยคำโฆษณาชวนเชื่อ พร้อมคิดดอกเบี้ยเงินกู้ที่ถูกเกินจริงเพื่อจูงใจ วันนี้เราจึงเตรียมข้อมูลมาอัปเดตให้ทุกคนได้รู้จักประเภทแอปกู้เงินออนไลน์แบบถูกกฎหมาย และวิธีเช็กแอปกู้เงินออนไลน์ที่เราสนใจ เป็นแอปเถื่อนหรือไม่
กู้เงินออนไลน์ คืออะไร?
เงินกู้ออนไลน์ (Digital Lending) หมายถึง การรับสมัคร หรือปล่อยสินเชื่อเงินกู้ให้แก่ธุรกิจ และบุคคลรายย่อยผ่าน แพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ทำให้เรื่องการขอสินเชื่อเป็นเรื่องง่ายขึ้น ทั้งกระบวนการสมัคร การส่งเอกสาร และการรับแจ้งผลการอนุมัติ จะดำเนินไปอย่างสะดวกรวดเร็ว โดยที่เราไม่ต้องไปดำเนินการเองที่ธนาคารหรือสถาบันการเงิน โดยการกู้ออนไลน์หรือ Digital lending ในปัจจุบัน หลัก ๆ แล้วถูกแบ่งออกได้เป็น 7 ประเภท ดังนี้ (ที่มา: krungsri.com)

1. แบบ Online Lender คือ การปล่อยกู้ผ่านช่องทาง Digital ทั้งกระบวนการ ตั้งแต่การตรวจสอบประวัติผู้กู้ โดยใช้ Data ที่มีในระบบ แบบ End-to-End แล้วให้เจ้าหน้าที่ หรือระบบ AI เป็นผู้ตัดสินว่า หากเราขอสินเชื่อควรได้รับการอนุมัติหรือไม่
2. แบบ P2P Lending Platform เป็นการกู้ยืมระหว่างบุคคลต่อบุคคล ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์โดยระบบจะจับคู่ผู้ขอสินเชื่อ และนักลงทุนซึ่งเป็นบุคคลทั่วไป แบบไม่ต้องผ่านคนกลางอย่างธนาคาร

3. แบบ E-Commerce and Social Platform คือ การที่ E-Commerce หรือ social media platform มีบริการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าที่เข้ามาใช้ในแพลตฟอร์มของตนเอง โดยใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลลูกค้า เป็นเครื่องมือประเมินเรื่องวงเงิน และดอกเบี้ยของการปล่อยสินเชื่อแต่ละครั้ง ส่วนใหญ่สินเชื่อแบบนี้มักจะปล่อยให้เป็นรูปแบบของเครดิต เพื่อหวังให้นำมาใช้หมุนเวียนเกิดการซื้อขายในแพลตฟอร์ม

4. แบบ Marketplace Platform มีความคล้ายระบบ P2P Platform แต่จะต่างกันตรงที่ Marketplace Platform จะเป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างผู้ขอสินเชื่อ และเจ้าของเงินทุนทำธุรกรรมการกู้เงินระหว่างกันโดยตรงในระบบ โดยทางแพลตฟอร์มเองก็จะเป็นผู้ดำเนินเอกสารให้เราทุกขั้นตอน และให้ผู้กู้รอทำข้อสัญญาในตอนท้ายเท่านั้นเอง

5. แบบ Supply Chain Lender คือ สินเชื่อใช้หมุนเวียนในธุรกิจ ที่ทางสถาบันการเงิน เข้ามาเป็นตัวกลางระหว่างเรา และซัพพลายเออร์ขนาดใหญ่ โดยที่เจ้าของธุรกิจจะต้องส่ง Invoice ในธุรกิจมาแลกเปลี่ยนกับเงินทุนจากเจ้าของเงินทุนนั้น ในอัตราที่อาจต่ำกว่าท้องตลาด แต่แลกกับเงินสินเชื่อเป็นก้อน เพื่อใช้ในการหมุนเวียนธุรกิจ

6. แบบ Mobile Money Lender คือ การที่ธนาคารเข้ามาเป็นพันธมิตรจับมือร่วมกับเครือข่ายมือถือเพื่อปล่อยสินเชื่อให้กับฐานลูกค้าของเครื่อข่ายมือถือ
7. แบบ Tech-Enabled Lender คือ การขอสินเชื่อที่ธนาคาร หรือสถาบันการเงินทั่วไป แต่แตกต่างตรงที่มีการนำเทคโนโลยี มาใช้ในบางขั้นตอนของการปล่อยสินเชื่ออย่างเช่น การนำ AI เข้ามาช่วยพิจารณาและทำการประเมินวงเงินของผู้ขอสินเชื่อแทนเจ้าหน้าที่ทำให้ผู้ยื่นขอสินเชื่อได้รับการอนุมัติเงินทุนได้ไวมากขึ้นกว่าการขอสินเชื่อแบบเดิม
3 จุดสังเกตแอปฯกู้เงินไหนน่าเชื่อถือ
จุดสังเกตระหว่าง แอปกู้เงินที่น่าเชื่อถือ กับ แอปเถื่อนมีดังต่อไปนี้

1. แอปถูกกฎหมายมีชื่ออยู่ใน BOT License Check
แอปกู้เงินถูกกฎหมาย ต้องได้รับใบอนุญาต และมีใบขึ้นทะเบียนให้ประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยที่เราสามารถค้นหาชื่อของแอปที่เราจะขอกู้ได้ที่ เว็บไซต์ BOT LICENSE CHECK หากไม่มีชื่อที่ค้นหาในระบบ มีโอกาสสูงที่จะเป็นมิจฉาชีพ อย่าเสี่ยงที่จะเข้าไปใช้บริการ ควรมีสติเช็กให้ชัวร์ก่อน

2. แอปเงินกู้ถูกกฎหมาย จะเปิดเผยข้อมูลดอกเบี้ย ค่าดำเนินการ เบี้ยปรับอย่างชัดเจน
ตามกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทยผู้ให้บริการต้องแสดงเปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ ให้ชัดเจน ได้แก่
• อัตราดอกเบี้ยต้องแสดงเปิดเผยชัดเจนตามแต่ละประเภทของสินเชื่อโดยต้องไม่เกินกว่าที่กฎหมายระบุไว้
• ต้องระบุค่าบริการ เบี้ยปรับอย่างละเอียดครบถ้วน
• แจ้งรายละเอียด และเงื่อนไขของผลิตภัณฑ์ เช่น จำนวนวงเงิน ระยะเวลาในการผ่อนชำระคืน

3. แอปกู้เงินถูกกฎหมาย จะไม่เรียกเก็บค่าดำเนินการก่อนทำสัญญา
มิจฉาชีพอาจแอบอ้างชื่อเป็นชื่อผู้ให้บริการที่เป็นที่รู้จัก และส่งข้อความเพื่อหลอกล่อให้เหยื่อกรอกข้อมูล โดยปลอมแปลงช่องทางสื่อสารให้หน้าตาคล้ายสถาบันการเงินมากที่สุด
เช่น การปลอมแปลง LINE Official Account หลังจากนั้นจะทักไลน์กลับมาว่า ปล่อยวงเงินกู้ให้แล้ว แต่ต้องโอนจ่ายค่าธรรมเนียมหมื่นละ 500 บาท 1000 บาท หรือมากกว่านั้นตามแต่กรณี หรือแม้แต่ถ้าอยากได้เงินกู้เร็วขึ้นจะมีค่าธรรมเนียมเป็นค่าลัดคิว เป็นต้น
จะเห็นได้ว่ามิจฉาชีพพยามยามหลอกให้โอนเงินค่าธรรมเนียมในจำนวนเงินที่ถูกกว่า เมื่อเทียบกับวงเงินขอสินเชื่อ เพราะอยากให้เหยื่อตายใจ โดยจะหลอกให้เราโอนค่าธรรมเนียมเข้าไปยังบัญชีปลายทางก่อน หลังจากนั้นเมื่อถึงเวลาจริงกลับไม่มีเงินกู้โอนเข้าบัญชีเราเลย เพราะฉะนั้นหากเจอเหตุการณ์แบบนี้ให้สันนิษฐานได้เลยว่าเป็นมิจฉาชีพแน่นอน
สุดท้ายนี้อยากแนะนำให้กับผู้ที่ต้องการกู้เงินด่วนผ่านแอปกู้เงินออนไลน์เป็นเครื่องมือที่สะดวกรวดเร็วก็จริง แต่เพื่อความปลอดภัยควรเช็กให้ชัวร์ก่อนว่าเป็นแอปเงินกู้ที่เราสนใจนั้นเป็นแอปกู้เงินออนไลน์ที่ถูกกฎหมายหรือไม่ ซึ่งปัจจุบันมิจฉาชีพแฝงตัวเข้ามาหลอกล่อด้วยวิธีต่าง ๆ มากมาย หากใครหมุนเงินไม่ทัน ต้องการใช้เงินด่วนจริง ๆ ทางธนาคารกรุงศรีอยุธยา ก็มีตัวช่วย กู้เงินด่วนออนไลน์ที่ถูกกฎหมาย และไว้ใจได้อย่าง Krungsri iFIN ที่พร้อมให้บริการ เพียงแค่ สมัครกู้เงินผ่านแอปพลิเคชัน KMA krungsri app อัปโหลดเอกสารที่จำเป็นผ่านสมาร์ทโฟน ช่วยให้เข้าถึงการกู้ยืมสินเชื่อได้สะดวก และรวดเร็ว ดั่งสโลแกน สมัครง่าย รู้ผลไว ได้เงินเร็ว
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.