ทำไม EV จีน ถึงก้าวขึ้นมาครองโลกได้ ในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี

ทำไม EV จีน ถึงก้าวขึ้นมาครองโลกได้ ในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี

25 ธ.ค. 2023
ทำไม EV จีน ถึงก้าวขึ้นมาครองโลกได้ ในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี
-ลงทุน MEGA10CHINA กองทุน MEGA10CHINA-A, MEGA10CHINA-SSF, MEGA10CHINARMF ที่คาดว่าจะเข้าไปลงทุนในผู้นำ EV จีน ได้ ในช่วง IPO 21-26 ธ.ค. 2566 ซื้อได้ที่ บลจ.ทาลิส และ ผู้สนับสนุนการขาย หลายรายทั่วประเทศ เช่น InnovestX, Finnomena, Dime, Krungsri capital Securities ฯลฯ
ย้อนกลับไปเมื่อ 5 ปีก่อน ถ้าเราจะซื้อรถยนต์สักคัน แบรนด์รถยนต์จากญี่ปุ่นหรือยุโรปคงเป็นตัวเลือกที่ใครหลาย คนนึกถึง
ตัดกลับมาที่ปัจจุบัน ถ้าเราต้องการซื้อรถยนต์สักคัน แบรนด์รถ EV จากจีนกลับกลายเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่หลาย ๆ คนเลือกซื้อ
ดูได้จากสัดส่วนยอดขายรถ EV จากทั่วโลก ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2023
อันดับ 1 BYD 21%
อันดับ 2 Tesla 15%
อันดับ 3 Volkswagen 7%
แล้วแบรนด์จีน ทำอย่างไรถึงก้าวขึ้นมา
ครองตลาด EV โลกได้ ในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี ?
สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์นั้น มีญี่ปุ่น ยุโรป และสหรัฐอเมริกา
เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ ที่ครองตลาดมายาวนาน ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ในขณะที่จีน แม้จะมี GDP เป็นอันดับ 2 ของโลก
แต่ก็เป็นเพียงผู้ตามในอุตสาหกรรมรถเครื่องยนต์สันดาปมาโดยตลอด
ซึ่งหนึ่งในตัวละครสำคัญ ที่ผลักดันให้อุตสาหกรรมรถยนต์สันดาป
เปลี่ยนสู่อุตสาหกรรมรถ EV ได้ก็คือ “รัฐบาลจีน”
เพราะต้องการลดการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ
รวมถึงต้องการลดปัญหาฝุ่นควันจากรถยนต์สันดาปที่มีมากเกินไป
จึงเกิดเป็นนโยบายเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมรถ EV เมื่อ 14 ปีก่อน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นคือ
-ด้านการผลิต
-ด้านการบริโภค
เริ่มจากในด้านการผลิต
รัฐบาลจีนได้เข้าไปสนับสนุนเงินแก่บริษัทสตาร์ตอัปต่าง ๆ เพื่อพัฒนาระบบแบตเตอรี่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เพราะต้นทุนแบตเตอรี่ ถือเป็นต้นทุนกว่า 40 % ในการผลิต รถ EV 1 คัน
นั่นหมายความใครก็ตามที่มีนวัฒกรรมในการผลิตแบตเตอรี่ และมีต้นทุนวัตถุดิบที่ถูกกว่า ย่อมได้เปรียบในกว่าแข่งขัน
นอกจากนี้จีนยังเข้าไปครอบครองวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตแบตเตอรี่ทั้งแร่ลิเทียม และแร่โคบอลต์ เป็นจำนวนมาก
โดยกำลังการผลิตกว่า 70% ของแร่ลิเทียมทั่วโลก มาจากประเทศจีน
ส่วนแร่โคบอลต์ที่ 70% ของโลกมาจากเหมืองแร่ในคองโกนั้น จีนก็เป็นผู้ถือสัมปทานส่วนใหญ่อยู่เช่นกัน
ทำให้ปัจจุบัน จีนมีกำลังการผลิตแบตเตอรี่ถึง 1,200 ล้าน kWh ต่อปี มากเป็นอันดับ 1 ของโลก
แล้วถ้าถามว่ากำลังการผลิตขนาดนี้มันมากขนาดไหน ?
ก็ต้องบอกว่าโดยปกติแล้ว รถ EV 1 คัน จะใช้ขนาดแบตเตอรี่เฉลี่ยที่ 60 kWh
หมายความว่า จีนมีกำลังการผลิตแบตเตอรี่ สำหรับรองรับรถ EV ได้มากถึง 20 ล้านคันต่อปี
ส่วนสหรัฐอเมริกาที่เป็นคู่แข่งคนสำคัญมีกำลังการผลิตเพียง 100 ล้าน kWh ต่อปี ซึ่งน้อยกว่าของจีนถึง 12 เท่า

หรือพูดง่าย ๆ ว่า ถ้าหากสหรัฐอเมริกาหรือประเทศอื่น ๆ ต้องการผลิตรถ EV เป็นจำนวนมาก ก็จำเป็นจะต้องนำเข้าแบตเตอรี่จากจีน
ในด้านของการบริโภค
รัฐบาลจีนก็ได้เข้าไปสนับสนุนให้ชาวจีนเปลี่ยนมาใช้รถ EV มากขึ้น เช่น
- ให้ส่วนลดสำหรับประชาชนที่ต้องการเปลี่ยนเป็นรถ EV เป็นเงินถึง 290,000 บาท ซึ่งนโยบายดังกล่าว กินระยะเวลานานกว่า 10 ปี และเพิ่งสิ้นสุดไปเมื่อสิ้นปี 2022 ที่ผ่านมา
- ขยายโครงสร้างพื้นฐานด้วยสร้างสถานีชาร์จกว่า 6.3 ล้านแห่งทั่วประเทศ เพื่อรองรับการขยายตัวของรถ EV ในอนาคต
นโยบายนี้ จึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ยอดซื้อ และ หันมาใช้ EV ของชาวจีนเติบโตขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
สรุปแล้วแบรนด์ รถยนต์จากญี่ปุ่นหรือยุโรป ที่เคยเป็นตัวเลือกแรกของใครหลาย ๆ คน แต่ด้วยความพร้อมในอุตสาหกรรมการผลิตแบตเตอรี่ของจีน และการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน จึงทำให้ EV จีนก้าวขึ้นมาครองโลกได้ ในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี
หากเราเป็นหนึ่งในคนที่กำลังตามหา
โอกาสการลงทุนเพื่อเติบโตล้อไปกับอุตสาหกรรม EV จีน
ซึ่งถ้าถามว่าบริษัท EV ใหญ่สุดในจีนตอนนี้คือใคร ?
คำตอบก็คือ BYD..
หนึ่งในกองทุนหุ้นจีน ที่น่าสนใจ และคาดว่าจะเข้าไปลงทุนใน BYD ก็จะเป็น MEGA10CHINA
(กองทุน MEGA10CHINA-A, MEGA10CHINA-SSF และ MEGA10CHINARMF)
โดย MEGA10CHINA เป็นกองทุนที่จะเข้าไปลงทุนหุ้นที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง(Hong Kong Stock Exchange; HKEX)
MEGA10CHINA จะเข้าไปลงทุนใน 10 บริษัทมูลค่าตลาดขนาดใหญ่และมีสภาพคล่อง ของจีนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง (Hong Kong Stock Exchange; HKEX) ซึ่งเป็นบริษัทที่เน้นความเป็นผู้นำในด้านตราสินค้า (Brand Value) ในกลุ่มTOP/BEST CHINESE BRANDS จากการจัดอันดับโดยบริษัทที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในเรื่องของการจัดอันดับดังกล่าว โดยผู้จัดการกองทุนจะคัดเลือกและพิจารณาเน้นลงทุนในตราสารทุนที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกจำนวน 10 บริษัท เพื่อให้เราได้มีส่วนร่วมความเป็นเจ้าของแบบเน้น ๆ
เพิ่มเติมก็คือ MEGA10CHINA จะมีเกณฑ์คัดเลือกหุ้น
โดยมองว่า “การมีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นรัฐบาลจีน” จะเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่ประเมิน และ คาดการณ์ได้ยาก
ดังนั้น การเข้าไปลงทุนในหุ้น ที่ไม่มีการถือหุ้นใหญ่โดยรัฐบาลจีน
มีแต่ตัวผู้ก่อตั้ง บริหารธุรกิจเอง ดำเนินธุรกิจเอง
จึงกลายเป็นอีกหนึ่งเงื่อนไขสำคัญในการคัดเลือกด้วย เช่นกัน
ทั้งนี้ ตัวอย่างบริษัทดังกล่าวสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามเกณฑ์การลงทุนและสภาวะการณ์การลงทุน ณ ขณะนั้น
โดย กองทุน MEGA10CHINA และ MEGA10CHINARMF จะ IPO ในวันที่ 21 – 26 ธันวาคม 2566 นี้
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถศึกษารายละเอียดและเริ่มต้นลงทุนได้ที่ บลจ.ทาลิส talisam.co.th 02-0150215, 02-0150216, 02-0150222 และ ผู้สนับสนุนการขายหลายราย ได้แก่
1.บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด
2.บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป จำกัด (มหาชน)
3.บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี พัฒนสิน จำกัด (มหาชน)
4.บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)
5.บริษัทหลักทรัพย์ เว็ลธ์ เมจิก จำกัด
6.หลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)
7.บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน)
8.บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
9.บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด
10.บริษัท หลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
11.บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
12.บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)
13.บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด
14.บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน โรโบเวลธ์ จำกัด
15.บริษัท หลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด
16.บริษัทหลักทรัพย์พาย จำกัด (มหาชน)
17.บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน แอสเซนด์ เวลธ์ จำกัด
18.บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เทรเชอริสต์ จำกัด
19.บริษัทหลักทรัพย์หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด
20.บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน)
21.บริษัทหลักทรัพย์ สยามเวลธ์ จำกัด
22.ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
23.บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด
24.บริษัทหลักทรัพย์ ไพน์ เวลท์ โซลูชั่น จำกัด
25.บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด
26.บริษัท หลักทรัพย์ เคเคพี ไดม์ จำกัด
27.บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็กซ์สปริง จำกัด
28.บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
29.บริษัทหลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ จำกัด
เพื่อประโยชน์ของท่านอย่าลืมลงทะเบียนขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร ได้ที่ https://www.talisam.co.th/terms-and-conditions/
คำเตือน :
-กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ และการลงทุนในกองทุนรวมตราสารแห่งทุนอาจมีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะ เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยงและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุน
-กองทุนนี้มีการลงทุนในต่างประเทศมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และมีการลงทุนกระจุกตัวของหลักทรัพย์ หมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก
-ผลการดำเนินงานในอดีต/ ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.