ธนาคาร ช่วยเหลือเศรษฐกิจกับธุรกิจในมุมไหนบ้าง?

ธนาคาร ช่วยเหลือเศรษฐกิจกับธุรกิจในมุมไหนบ้าง?

19 ม.ค. 2024
ธนาคาร ช่วยเหลือเศรษฐกิจกับธุรกิจในมุมไหนบ้าง?
KBank x ลงทุนแมน
ภายใต้กลไกที่ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ
หลายคนน่าจะคุ้นเคยกับนโยบายทางการเงิน ผ่านรูปแบบอัตราดอกเบี้ยมากที่สุด
เบื้องหลังจริง ๆ แล้วก็มีหลายปัจจัยที่ส่งผลกับเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็น การขยายตัวทางเศรษฐกิจ, อัตราเงินเฟ้อ หรือเสถียรภาพของระบบการเงิน
ล่าสุด ธปท. ฉายภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศไทยว่า กำลังฟื้นตัวดีขึ้น แต่ก็ยังไม่ทั่วถึง
สังเกตได้จากภาคการผลิต และภาคการส่งออก ที่มีตัวเลขเติบโตต่ำกว่าที่คาดการณ์
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ แม้จะลดลง จากปัจจัยชั่วคราวด้านอุปทานจากมาตรการภาครัฐ
แต่ภาพรวมระยะยาวมองว่า ยังคงอยู่ในกรอบ 1-3%
และแม้ว่า ระบบการเงินไทย จะยังคงรักษาเสถียรภาพได้ดี
แต่สิ่งที่ยังน่ากังวลก็คือ ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง
ความละเอียดอ่อนทั้งหมดนี้ จึงถูกนำมาพิจารณาร่วมด้วย
เพราะหากปรับตัวอัตราดอกเบี้ยลงในช่วงนี้ แม้จะช่วยลดภาระดอกเบี้ยของลูกหนี้ได้
แต่ก็อาจจะกลายเป็นแรงกระเพื่อมที่ไปกระตุ้นให้เกิดการก่อหนี้ก้อนใหม่เพิ่มไปอีกได้ง่าย ๆ
ส่งผลให้ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2.5% ถูกมองว่าเหมาะสมกับสถานการณ์เวลานี้
มาตรการดูแลลูกหนี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้น ๆ ที่ ธปท. ให้ความสำคัญมาโดยตลอด
อย่างล่าสุด ธปท. ได้ออกเกณฑ์ Responsible Lending ในเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ให้ลูกหนี้ ทั้งก่อนและหลังเป็น NPL อย่างน้อย 1 ครั้ง
และการช่วยปิดหนี้เรื้อรังให้เร็วขึ้น ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงไม่เกิน 15% ต่อปี
ซึ่งหนึ่งในตัวละครสำคัญของกลไกนี้ก็คือ ธนาคารพาณิชย์
ที่มีบทบาทสำคัญด้านเงินทุน ที่ช่วยพยุงฐานะการเงินของภาคธุรกิจ และความเป็นอยู่ของผู้คน
ขณะเดียวกัน ยังต้องบริหารความเสี่ยงจากการปล่อยสินเชื่อต่าง ๆ ของตนเองด้วย
ความน่าสนใจของเรื่องนี้เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
เริ่มต้นกันด้วย การแบ่งเบาภาระหนี้ของลูกหนี้
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่าย ๆ อย่างในช่วงวิกฤติโรคระบาดที่ผ่านมา KBank ได้ออกมาตรการพักชำระหนี้ และการลดอัตราดอกเบี้ย
เพื่อช่วยเหลือลูกค้าอย่างเร่งด่วน ทั้งลูกค้า SME ที่ต้องหยุดชะงัก และลูกค้ารายย่อย

ด้วยจำนวนลูกหนี้กว่า 1.6 ล้านคน ที่ KBank ช่วยเหลือในช่วงวิกฤติโรคระบาดปี 2563 มียอดสินเชื่อกว่า 428,000 ล้านบาท
จนมาถึงตัวเลข ณ ไตรมาส 3 ของปี 2566 จำนวนลูกหนี้ที่อยู่ในมาตรการช่วยเหลือแบบเบ็ดเสร็จของ KBank ยังคงมียอดสินเชื่อรวมกว่า 166,000 ล้านบาท
บทบาทการเป็นแหล่งเงินทุนอีกเรื่องก็คือ มาตรการเสริมสภาพคล่องสำหรับลูกค้าภาคธุรกิจ
เงินทุนหมุนเวียน กลายเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากในการขับเคลื่อนให้ภาคธุรกิจยังคงเดินหน้าต่อไปได้
อย่าง KBank เองก็เห็นความสำคัญของเรื่องนี้ และพร้อมจะสนับสนุนภาคธุรกิจมาโดยตลอด
ซึ่งแม้ว่าจะผ่านช่วงวิกฤติหนัก ๆ ไปแล้ว แต่การจะฟื้นตัวกลับมายืนใหม่ได้อีกครั้ง ก็ยังจำเป็นต้องใช้เงินทุน
ทีนี้ นับตั้งแต่ปี 2563 มาจนถึงตอนนี้ KBank พยายามเคลื่อนไหวด้วยมาตรการความช่วยเหลือที่เหมาะสมกับลูกค้าภาคธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น
- สินเชื่อดอกเบี้ย 0% ตลอด 1 ปีแรก สำหรับธุรกิจ SME ที่ชะลอตัว ช่วยรักษาการจ้างงานเป็นจำนวนมาก
- สินเชื่อดอกเบี้ย 1% ตลอด 5 ปีแรก สำหรับธุรกิจท่องเที่ยว ที่ต้องหยุดชะงักจากวิกฤติโรคระบาด
- สินเชื่อดอกเบี้ย 2% ในช่วง 2-5 ปีแรก สำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่มีศักยภาพ ช่วยลดภาระต้นทุน
- สินเชื่อไม่เกิน 1 ล้านบาท สำหรับลูกค้ารายย่อย ช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อที่มากขึ้น
สะท้อนได้ว่า KBank อยู่เคียงข้างลูกค้ารายย่อยและกลุ่มเปราะบาง ตลอดจนผู้ประกอบการ SME ที่ยังเผชิญกับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่
ขณะเดียวกัน ยังจำเป็นต้องบริหารความเสี่ยงจากการปล่อยสินเชื่อของตนเองด้วย
ซึ่งโดยปกติแล้ว ธนาคารก็มีต้นทุนในการดำเนินธุรกิจไม่ต่างจากอุตสาหกรรมอื่น ๆ
หนึ่งในนั้นก็คือ ต้นทุนความเสี่ยงจากการให้สินเชื่อ เช่น เงินสำรองที่ธนาคารกันไว้ (Provision)
ภายใต้สถานการณ์ไม่ปกติ หลายธุรกิจได้รับผลกระทบไปตาม ๆ กัน
KBank ในฐานะเป็นสถาบันการเงิน และอยู่ในกลไกระบบการเงินหลักของประเทศ ก็กำลังสะท้อนหน้าที่ของการเป็นแหล่งเงินทุนภายใต้สถานการณ์นี้ เช่นกัน..
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.