เศรษฐกิจพม่า จากเคยพุ่ง กลายเป็นพัง คนครึ่งประเทศยากจน หลังการรัฐประหาร
เศรษฐกิจพม่า จากเคยพุ่ง กลายเป็นพัง คนครึ่งประเทศยากจน หลังการรัฐประหาร /โดย ลงทุนแมน
รู้หรือไม่ว่า เมื่อก่อนพม่า เป็นประเทศที่เศรษฐกิจมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสูงถึง 6.8% ต่อปี ในช่วงปี 2554 ถึงปี 2562
รู้หรือไม่ว่า เมื่อก่อนพม่า เป็นประเทศที่เศรษฐกิจมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสูงถึง 6.8% ต่อปี ในช่วงปี 2554 ถึงปี 2562
ซึ่งมากเป็นอันดับต้น ๆ ของอาเซียน และมากกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งโลกถึง 2 เท่า
แต่วันนี้ แสงอันรุ่งโรจน์ กำลังค่อย ๆ ดับสูญ เพราะทุกอย่างได้เปลี่ยนไป เมื่อเศรษฐกิจพม่า พังทลายลง จนถึงขั้นที่ทำให้ผู้คนต้องพากันอพยพออกนอกประเทศ..
แล้วเกิดอะไรขึ้นกับเศรษฐกิจของพม่า ในช่วงที่ผ่านมา ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
1 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา คือวันครบรอบการทำรัฐประหารในประเทศพม่า เหตุการณ์ที่ทำให้ชาวพม่า ต้องอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร มานานกว่า 3 ปี
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
1 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา คือวันครบรอบการทำรัฐประหารในประเทศพม่า เหตุการณ์ที่ทำให้ชาวพม่า ต้องอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร มานานกว่า 3 ปี
การต่อสู้ระหว่างกองทัพ และกลุ่มต่อต้าน อาจยังไม่ได้ข้อสรุป ว่าฝ่ายไหนที่จะเป็นผู้ชนะ
แต่หนึ่งสิ่งที่สรุปได้แล้วก็คือ เศรษฐกิจของประเทศพม่านั้น กำลังแย่จนเข้าขั้นวิกฤติ
โดยปัญหาที่พม่าเจอตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น มีทั้ง
- เงินเฟ้อ ข้าวของแพง
- คนตกงาน รายได้ลด
- ขาดแคลนพลังงาน และอาหาร
- ประชาชนเกือบครึ่งประเทศ ต้องยากจน โดยมีรายได้เพียงวันละ 28 บาท
- เสถียรภาพทางการคลังที่ย่ำแย่
- การศึกษาและสุขภาพ ถูกลดความสำคัญ
- คนตกงาน รายได้ลด
- ขาดแคลนพลังงาน และอาหาร
- ประชาชนเกือบครึ่งประเทศ ต้องยากจน โดยมีรายได้เพียงวันละ 28 บาท
- เสถียรภาพทางการคลังที่ย่ำแย่
- การศึกษาและสุขภาพ ถูกลดความสำคัญ
ความเสียหายทั้งหมดนี้ ส่วนใหญ่ก็เป็นผลมาจากปัจจัยภายในประเทศ โดยเริ่มต้นจากสถานการณ์ความไม่สงบ หรือสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่
ซึ่งทำให้พม่าต้องเจอกับหลายปัญหาตามมา ไม่ว่าจะเป็น
1. ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
ต้องบอกก่อนว่า 2 สิ่งที่อยู่เบื้องหลังการเติบโตของพม่า ในช่วงก่อนหน้านี้ ก็คือ การส่งออกและการท่องเที่ยว
อย่างไรก็ตาม สงครามที่เกิดขึ้น ทำให้เส้นทางการค้าหลายเส้นทางถูกปิด เช่น เส้นทางที่ใช้กับไทย จีน หรืออินเดีย
ซึ่งการส่งออกของพม่า ก็เป็นการค้าข้ามประเทศผ่านพรมแดนต่าง ๆ ถึง 40% ของการส่งออกทั้งหมด
เมื่อเส้นทางการค้าไม่สามารถใช้ได้ จึงทำให้การส่งออกของพม่า ลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ในด้านการท่องเที่ยว พม่าก็เคยมีจำนวนนักท่องเที่ยว ที่สูงถึง 3-4 ล้านคนต่อปี
แต่หลังจากที่มีการรัฐประหาร จำนวนนักท่องเที่ยวของพม่าก็เหลือเพียง
ปี 2564 : 130,000 คน
ปี 2565 : 230,000 คน
6 เดือนแรก ปี 2566 : 460,000 คน
ปี 2565 : 230,000 คน
6 เดือนแรก ปี 2566 : 460,000 คน
จากข้อมูลนี้ เห็นว่า ถึงแม้จำนวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นมากในช่วงครึ่งแรกของปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังน้อยกว่าก่อนหน้านั้นมาก
เมื่อการส่งออกก็แย่ นักท่องเที่ยวก็ไม่มี จึงทำให้ในปีที่ผ่านมา พม่าขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เพิ่มขึ้นเป็น 5.5% จาก 3.4% ในปี 2565
2. การลงทุนจากต่างชาติลดลง
เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองมีความวุ่นวาย ทำให้บริษัทต่างชาติหลายแห่ง ตัดสินใจถอนการลงทุนออกจากพม่า และหลายแห่งก็หยุดการลงทุนเพิ่ม
อย่างเช่น เชฟรอน บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของโลก ที่ก็ประกาศถอนตัวออกจากพม่า เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา
โดยข้อมูลล่าสุด พบว่า FDI หรือการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของพม่า ต่ำกว่าระดับก่อนหน้าที่จะมีการระบาดใหญ่ ถึง 48.3% หรือเกือบครึ่งหนึ่ง..
จากทั้ง 2 ข้อที่กล่าวมา สรุปได้ว่าตอนนี้ พม่ากำลังมีเงินเข้า น้อยกว่าเงินออก
และมีรายได้ น้อยกว่ารายจ่าย
และมีรายได้ น้อยกว่ารายจ่าย
เมื่อประเทศทั้งขาดดุลบัญชีเดินสะพัด การลงทุนจากต่างชาติ ก็เหือดหาย
ทำให้พม่ากำลังมีทุนสำรองระหว่างประเทศ ที่ลดลงเรื่อย ๆ ซึ่งสะท้อนถึงเสถียรภาพของประเทศที่แย่ลง
ทำให้พม่ากำลังมีทุนสำรองระหว่างประเทศ ที่ลดลงเรื่อย ๆ ซึ่งสะท้อนถึงเสถียรภาพของประเทศที่แย่ลง
และเมื่อประกอบกับสถานการณ์บ้านเมืองที่ไม่แน่นอน ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นตัวจุดชนวนชั้นดี ที่ทำให้ค่าเงินจัตของพม่า อ่อนค่าลงอย่างหนัก..
โดยจากแต่ก่อนที่ 100,000 จัต จะแลกได้ 74 ดอลลาร์สหรัฐ วันนี้เหลือเพียง 48 ดอลลาร์สหรัฐ เท่านั้น หรือเท่ากับว่ามูลค่าหายไปถึงมากกว่า 1 ใน 3
ความเดือดร้อนจึงเกิดต่อผู้คนพม่าเหมือนเป็นดาบซ้ำสอง
เพราะลำพังแค่สงครามที่เกิดขึ้น ก็ทำให้ราคาอาหารแพงขึ้นอยู่แล้ว จากการผลิตอาหารที่ลดลง เส้นทางการค้าถูกปิดกั้น และค่าขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้น
เมื่อต้องมาเจอกับค่าเงินที่อ่อนอีก จึงทำให้ราคาสินค้าในพม่านั้นพุ่งกระฉูด เพราะต้องนำเข้าสินค้าในราคาที่แพงขึ้น
โดยในปีที่แล้ว เงินเฟ้อของพม่าพุ่งสูงถึง 22% ซึ่งแบ่งเป็นราคาอาหาร เพิ่มขึ้นถึง 33% ในขณะที่สินค้าที่ไม่ใช่อาหาร เพิ่มขึ้น 15%
ซึ่งก็น่าเศร้าที่ตัวเลขราคาอาหารที่เพิ่มขึ้น ตรงกันข้ามกับรายได้ของผู้คนที่ลดลง
โดยจากการสำรวจ ครัวเรือนพม่ากว่า 40% รายงานว่าตนเอง มีรายได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
เมื่อรายได้ลด แต่รายจ่ายเพิ่ม ก็ทำให้จำนวนคนยากจนในพม่านั้นเพิ่มมากขึ้นไปโดยปริยาย
โดยจำนวนคนยากจน ที่มีรายได้เพียง 28 บาทต่อวัน เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า จาก 24.8% ในปี 2560 กลายเป็น 49.7% ในปี 2566
หรือก็คือ ตอนนี้เกือบครึ่งหนึ่งของประชากรพม่าทั้งหมด กำลังเป็นคนยากจน ที่มีรายได้ไม่ถึงวันละ 28 บาท..
ในเมื่อต้องยากจนลง แถมยังโดนบังคับเกณฑ์ทหาร ประกอบกับความไม่สงบในพื้นที่
จึงไม่น่าแปลกใจที่ในช่วงที่ผ่านมา ชาวพม่าได้แห่เข้ามาในไทยเป็นจำนวนมาก
โดยถ้าเป็นคนที่มีเงิน ก็เข้ามาซื้อคอนโดมิเนียมเพื่ออยู่อาศัย
เมื่อดูจำนวนหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด จะพบว่า ชาวพม่าเข้ามาซื้อคอนโดมิเนียมในไทยอยู่ที่
ปี 2565 จำนวน 349 ยูนิต
ปี 2566 จำนวน 564 ยูนิต
ปี 2566 จำนวน 564 ยูนิต
ตัวเลขนี้มากเป็นอันดับ 4 ในบรรดาทุกสัญชาติ เป็นรองเพียง จีน รัสเซีย และสหรัฐฯ
ในด้านของมูลค่า ก็อยู่ที่ 3,707 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา ซึ่งก็มากเป็นอันดับ 3 ในบรรดาทุกสัญชาติ
ที่น่าสนใจคือ ชาวพม่า คือสัญชาติที่มีการซื้อห้องชุดที่มีราคาเฉลี่ยต่อหน่วยสูงที่สุดในบรรดาทุกสัญชาติ โดยอยู่ที่ 6.6 ล้านบาทต่อหน่วย ซึ่งเป็นตัวเลขที่นำห่างประเทศอื่น ๆ ค่อนข้างมาก
ส่วนถ้าเป็นชาวพม่า ที่เดือดร้อนเรื่องเงิน ก็จะเข้ามาเป็นแรงงานต่างด้าวในไทย เพื่อหาเงินส่งกลับไปให้ครอบครัว
ซึ่งก็มีทั้งที่เข้ามาแบบถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย ตามข่าวที่เราได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แค่ประชาชนที่เดือดร้อน แต่รัฐบาลพม่า ก็กำลังเดือดร้อนอยู่เช่นกัน เพราะกำลังเจอปัญหาขาดดุลการคลัง
เนื่องจากรายได้ที่ลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากการลดลงของทั้งกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และการส่งออก
เมื่อรายได้ลด ก็ต้องเลือกใช้จ่ายกับสิ่งที่จำเป็น ซึ่งก็เป็นเหมือนดาบสาม ที่ซ้ำลงไปที่ประชาชนอีกรอบ..
เพราะการศึกษาและสุขภาพรวมกัน อาจดูเหมือนไม่ใช่สิ่งที่จำเป็น ในสายตาของรัฐบาลพม่า เนื่องจากการใช้จ่ายใน 2 ด้านนี้รวมกัน ลดลงเหลือเพียง 2% ของ GDP จาก 3.8% ในปีก่อนการรัฐประหาร
และเป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา ที่อยู่ที่ 5.1% หรือลาว ที่อยู่ที่ 3.1%
เรียกได้ว่า ไม่ใช่แค่ช่วงเวลาในปัจจุบันที่ต้องหายไป แต่ช่วงเวลาของอนาคต ก็หายไปอีกเช่นกัน.. จากการพัฒนาทุนมนุษย์ที่ลดลง
จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า เศรษฐกิจพม่า จากที่เคยพุ่งแรง ในอดีต
วันนี้กลับพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ และยังไม่มีใครรู้ว่า จะเป็นอย่างไรต่อไป
วันนี้กลับพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ และยังไม่มีใครรู้ว่า จะเป็นอย่างไรต่อไป
ต่อให้สงครามจบลง ก็ต้องใช้เวลาแก้ไขและรักษาบาดแผลทั้งหมดที่เกิดขึ้น ถึงจะกลับมาเป็นเหมือนเดิม และเอาช่วงเวลาที่สูญหายไป กลับมาได้..
ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกกำลังวุ่นวาย และมีหลายปัญหาเกิดขึ้น ลำพังแค่การต้องรับมือกับปัจจัยภายนอก ก็ถือว่าเป็นเรื่องยากลำบากมากแล้ว
แต่พม่ากำลังต้องรับมือกับทั้งปัจจัยภายนอกและภายในควบคู่กันไป
ก็ต้องติดตามว่า พม่าจะสามารถก้าวข้ามผ่านจุดนี้ไปได้หรือไม่ และฉากจบของประเทศแห่งนี้ จะออกมาเป็นแบบไหน
เพราะเรื่องนี้ ก็ส่งผลกระทบต่อไทยด้วยเช่นกัน ทั้งผลกระทบต่อบริษัทไทย ที่ไปลงทุนในพม่า ไม่ว่าจะเป็น ปตท.สผ., อิตาเลียนไทย, เอสซีจี รวมถึงอีกหลายบริษัท
และยังส่งผลกระทบต่อรัฐบาลไทยด้วยเช่นกัน ในฐานะที่เราเป็นประเทศเพื่อนบ้าน
ซึ่งก็นับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยภายนอก ที่ในวันนี้ได้เข้ามาท้าทายประเทศไทยแล้ว..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.undp.org/publications/poverty-and-household-economy-myanmar-disappearing-middle-class
-https://www.worldbank.org/en/country/myanmar/overview
-https://www.worldbank.org/en/country/myanmar/publication/myanmar-economic-monitor-reports
-https://www.adb.org/where-we-work/myanmar/economy
-https://data.worldbank.org/
-https://www.reic.or.th/
-https://www.ceicdata.com/en/indicator/myanmar/visitor-arrivals
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.undp.org/publications/poverty-and-household-economy-myanmar-disappearing-middle-class
-https://www.worldbank.org/en/country/myanmar/overview
-https://www.worldbank.org/en/country/myanmar/publication/myanmar-economic-monitor-reports
-https://www.adb.org/where-we-work/myanmar/economy
-https://data.worldbank.org/
-https://www.reic.or.th/
-https://www.ceicdata.com/en/indicator/myanmar/visitor-arrivals
Tag: เศรษฐกิจพม่า