ผู้ชนะอุตสาหกรรม AI จะเป็นบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อยู่ดี

ผู้ชนะอุตสาหกรรม AI จะเป็นบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อยู่ดี

7 พ.ค. 2024
ผู้ชนะอุตสาหกรรม AI จะเป็นบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อยู่ดี /โดย ลงทุนแมน
250,000,000 คือ จำนวนบริษัททั่วโลกที่กำลังมีความต้องการใช้ AI ในธุรกิจตัวเอง
จำนวนนี้เทียบเท่ากับจำนวนประชากรของประเทศใหญ่ 1 ประเทศ และที่สำคัญบริษัทเหล่านี้มีเม็ดเงินมหาศาลที่พร้อมลงทุนด้าน AI
จึงไม่แปลกเลย ที่ว่าทำไม ช่วงที่ผ่านมาบริษัทที่ผลิตสินค้าเกี่ยวกับ AI ถึงมีความต้องการจำนวนมาก
- Nvidia เป็นเจ้าของนวัตกรรมชิป AI ที่บริษัทเทคโนโลยีทั่วโลกต้องการ
- TSMC เป็นโรงงานผลิตชิปล้ำสุดในโลก
- ASML เป็นเจ้าของเครื่องผลิตชิป ให้ TSMC อีกที..
3 บริษัทนี้ ไม่ต่างอะไรจากกระดูกสันหลังของอุตสาหกรรม
เพราะไม่ว่าใครจะลงทุน เกี่ยวกับ AI ก็มักจะมีชื่อของบริษัทเหล่านี้ อยู่เบื้องหลังกันทั้งนั้น
แต่ถ้าถามว่า แล้วในอุตสาหกรรม AI
ใครจะยังเป็นผู้ชนะได้อีกบ้าง
คำตอบก็คือ บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่..
โดยเฉพาะบริษัทที่ผลิตสินค้า และให้บริการ ที่เราใช้กันในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว
มีข้อได้เปรียบหลายด้าน เพราะนอกจากเราจะมีแบรนด์ที่เราคุ้นเคยกันดี
บริษัทกลุ่มนี้ ก็เรียกได้ว่าแทบจะครบเครื่องสุดในโลก
โดยครบแรกสุด คือ ครบเครื่องเรื่อง “ทรัพยากรเงินทุน”
ไม่ว่าจะเป็น Apple, Alphabet (Google และ YouTube), Meta (Facebook และ Instagram), Microsoft และ Amazon
บริษัทเหล่านี้ ล้วนมีธุรกิจหลัก เป็นเครื่องจักรผลิตเงินสดอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเจอวิกฤติเศรษฐกิจอะไร ผู้บริโภคและลูกค้าจากทั่วโลก ก็ยังจำเป็นต้องใช้บริการและต้องจ่ายเงินให้
บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ จึงมีกำไรเป็นกอบเป็นกำ ชนิดที่ผลิตกำไรได้ระดับล้านล้านบาท ต่อบริษัท ต่อปี
ทางเลือกการใช้เงินสดของบริษัทจึงมีอยู่เยอะ ไม่ว่าจะนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาได้ หรือแม้แต่นำไปซื้อกิจการสตาร์ตอัปที่เกี่ยวกับ AI ก็ได้เหมือนกัน
หากเรามาไล่ดู การลงทุนวิจัยของทั้ง 5 บริษัท ปีที่แล้ว
- Amazon 3.2 ล้านล้านบาท
- Alphabet 1.6 ล้านล้านบาท
- Meta 1.3 ล้านล้านบาท
- Apple 1.1 ล้านล้านบาท
- Microsoft 1.0 ล้านล้านบาท
รวมกัน 5 บริษัท ลงทุนกับคำว่า วิจัยและพัฒนา ไป 8.2 ล้านล้านบาท ภายในปีเดียว..
มูลค่าระดับนี้ คิดเป็น 2 เท่าของงบประมาณรัฐบาลไทยทั้งปี
ทำให้ผู้เล่นรายอื่นที่คิดจะเข้ามาแข่งขัน หรือเข้ามาวิจัยและพัฒนาแข่ง แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ถึงแม้ว่าผู้เล่นเหล่านั้นจะเป็นระดับรัฐบาลของประเทศก็ตาม
นอกจากนั้น หากมีบริษัทที่เป็นคู่แข่งดาวรุ่งเกิดขึ้นมา ภาพที่เราเห็นกันจนชินตา ก็มักจะปิดท้ายด้วยการถูกเข้าซื้อกิจการ..
ยกตัวอย่างก็เช่น
- Alphabet เข้าซื้อ DeepMind ปี 2010
บริษัทที่พัฒนา AlphaGo เป็น AI ที่ชนะมือ 1 โลกเกมโกะได้สำเร็จ
- Meta เข้าซื้อ CTRL-labs ในปี 2019
สตาร์ตอัปพัฒนาอุปกรณ์สั่งงานด้วยคลื่นสมอง
และปลายปีที่แล้ว ก็จะเป็น OpenAI เจ้าของ ChatGPT ที่เราคุ้นเคยกันดี
โดย Microsoft ได้เข้าไปลงทุน มูลค่ามากเกือบ 4 แสนล้านบาท..
ยิ่งเป็นการแข่งขันด้าน AI ที่วัดกันในระยะยาว เหมือนวิ่งมาราธอน
ข้อได้เปรียบด้านทรัพยากรทางการเงินยิ่งสำคัญ
เพราะเมื่อเวลาผ่านไป การลงทุนที่มากกว่าคนอื่น
ก็จะยิ่งเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาและการแข่งขันมากขึ้น
ท้ายที่สุด บริษัทที่ใหญ่กว่า มีกำลังมากกว่า จะยิ่งฉีกตัวออก ทิ้งห่างคนอื่นไปเรื่อย ๆ
นอกจากนั้น เงินทุนยังเป็นอีกแม่เหล็กสำคัญ ที่จะคอยดึงดูดบุคลากรเก่ง ๆ จากทั่วทุกมุมโลก
อย่างที่เราเห็นได้ว่า ซีอีโอที่มารับไม้ต่อของทั้ง Microsoft และ Alphabet หรือคุณ Satya Nadella และคุณ Sundar Pichai เชื้อสายอินเดีย ล้วนแต่เข้ามาสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ผลลัพธ์ในตอนนี้ สะท้อนให้เห็นว่าทั้ง 2 บริษัท กำลังมีมูลค่าแตะจุดสูงสุดในประวัติศาสตร์
นอกเหนือจากทรัพยากรเงินทุนแล้ว บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ยังมีข้อได้เปรียบอีกในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น
- ทรัพยากรข้อมูล ที่เรียนรู้พฤติกรรมเราอยู่ทุกวัน รู้จักเรา ในชนิดที่ว่ารู้มากกว่าตัวเราเอง
- Ecosystem ไม่ว่าจะผลิตอะไรมาพ่วงกับบริการหลัก ก็มีคนพร้อมใช้
ข้อได้เปรียบที่เล่ามานี้ และในอีกหลาย ๆ ด้าน
จึงทำให้เราพอสรุปได้ว่าผู้ชนะในอุตสาหกรรม AI จะเป็นบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ อยู่ดี..
----------
เปิดจอง IPO กองทุน AI ใหม่ MEGA10AI วันที่ 8-14 พ.ค. นี้
กองทุนเปิด MEGA10AI ร่วมเป็นเจ้าของ 10 บริษัทใหญ่ ด้าน AI
- กองทุนเปิด MEGA 10 ARTIFICIAL INTELLIGENCE ชนิดสะสมมูลค่า (MEGA10AI-A) และชนิดเพื่อการออม (MEGA10AI-SSF) และยังมีกองทุนเปิด MEGA 10 ARTIFICIAL INTELLIGENCE เพื่อการเลี้ยงชีพ (MEGA10AIRMF) โดยจะเข้าไปลงทุนในบริษัท ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา
โดยคัดเลือกมาจากบริษัทที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) สูง และมีสภาพคล่องสูง รวมทั้งเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ทั้งด้านที่เป็นผู้ผลิต ผู้พัฒนาสินค้าหรือบริการ และ/หรือที่เกี่ยวข้องกับการใช้ปัญญาประดิษฐ์ ในการดำเนินธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งมีการลงทุนในการวิจัยและพัฒนา จำนวน 10 บริษัท เช่น Microsoft, Nvidia, Alphabet, Meta, TSMC*
โดยจะเสนอขาย IPO ตั้งแต่วันที่ 8-14 พ.ค. 2567 และซื้อขายได้ ตั้งแต่วันที่ 16 พ.ค. 2567 เป็นต้นไป
พิเศษ ! ตั้งแต่ช่วง IPO จนถึง 7 มิ.ย. 2567 ค่าธรรมเนียมการขาย สำหรับรายการที่ซื้อ MEGA10AI-A ตั้งแต่ 1 ล้านบาท
- ยอดซื้อตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไปต่อรายการ ค่าธรรมเนียมการขาย 0.5% ของมูลค่าซื้อขาย
- ยอดซื้อตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไปต่อรายการ ค่าธรรมเนียมการขาย 0.1% ของมูลค่าซื้อขาย
โดยค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้สั่งซื้อได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือภาษีอื่นใดแล้ว ศึกษารายละเอียดค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมได้ที่ www.talisam.co.th

*บริษัทดังกล่าวสามารถปรับเปลี่ยนได้ ตามเกณฑ์การลงทุนและสภาวะการลงทุน ณ ขณะนั้น
MEGA10AI-A เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนผ่านการเพิ่มมูลค่าของหน่วยลงทุนเป็นหลัก (Total Return)
MEGA10AI-SSF เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการออมเงินระยะยาว
MEGA10AIRMF เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถศึกษารายละเอียดและเริ่มต้นลงทุนได้ที่ บลจ.ทาลิส โทร. 02-0150215, 02-0150216, 02-0150222 หรือ www.talisam.co.th และผู้สนับสนุนการขายหลายราย
ผู้สนับสนุนการขาย ได้แก่
1. บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด
2. บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป จำกัด (มหาชน)
3. บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี พัฒนสิน จำกัด (มหาชน)
4. บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)
5. บริษัทหลักทรัพย์ เว็ลธ์ เมจิก จำกัด
6. บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)
7. บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน)
8. บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
9. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด
10. บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
11. บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
12. บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)
13. บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด
14. บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน โรโบเวลธ์ จำกัด
15. บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด
16. บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน)
17. บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน แอสเซนด์ เวลธ์ จำกัด
18. บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เทรเชอริสต์ จำกัด
19. บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด
20. บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน)
21. บริษัทหลักทรัพย์ สยามเวลธ์ จำกัด
22. บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด
23. บริษัทหลักทรัพย์ ไพน์ เวลท์ โซลูชั่น จำกัด
24. บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด
25. บริษัทหลักทรัพย์ เคเคพี ไดม์ จำกัด
26. บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
27. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เฉพาะกองทุนชนิด MEGA10AI-A
28. บริษัทหลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ จำกัด
ทั้งนี้ รายชื่อผู้สนับสนุนการขายหน่วยลงทุน อาจมีการปรับเปลี่ยนได้
คำเตือน: กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ และการลงทุนในกองทุนรวมตราสารแห่งทุนอาจมีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะ เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงของกองทุนรวม ก่อนตัดสินใจลงทุน และควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน SSF และ RMF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน
กองทุนนี้มีการลงทุนในต่างประเทศ มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และมีการลงทุนกระจุกตัวของหลักทรัพย์ และหมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก
ผลการดำเนินงานในอดีต/ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
References
-https://www.brimco.io/business-statistics-to-know
-https://explodingtopics.com/blog/companies-using-ai
-tradingview
-รายงานประจำปีของแต่ละบริษัท
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.