สรุป 4 วิธี ประเมินมูลค่าหุ้น ยอดฮิต
สรุป 4 วิธี ประเมินมูลค่าหุ้น ยอดฮิต /โดย ลงทุนแมน
1. วิธี P/E Ratio (Price to Earnings Ratio)
1. วิธี P/E Ratio (Price to Earnings Ratio)
เป็นการเปรียบเทียบระหว่าง ราคาหุ้น (Price) มาหารด้วย กำไรต่อหุ้น (EPS) ซึ่งจะได้ออกมาเป็นค่า P/E
เช่น สมมติเราซื้อหุ้นของบริษัทหนึ่ง ที่ราคา 10 บาท โดยที่บริษัทนั้นมีกำไรต่อหุ้น (EPS) 1 บาท
เท่ากับว่าหุ้นที่เราซื้อนั้น มีค่า P/E อยู่ที่ 10 / 1 หรือเท่ากับ 10 เท่า
เท่ากับว่าหุ้นที่เราซื้อนั้น มีค่า P/E อยู่ที่ 10 / 1 หรือเท่ากับ 10 เท่า
นอกจากนี้ P/E ยังสามารถคำนวณได้จากการนำ มูลค่าบริษัท หารด้วย กำไรสุทธิ ซึ่งจะได้ค่าที่ออกมาเท่ากับวิธีแรก
โดยทั่วไป เรามักนำค่านี้ไปเทียบกับบริษัทอื่น ๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือเทียบกับค่า P/E เฉลี่ย ของทั้งอุตสาหกรรมนั้น เพื่อประเมินมูลค่าบริษัทคร่าว ๆ หรือเปรียบเทียบความถูก-แพงของหุ้น
ตัวอย่างเช่น ธุรกิจร้านอาหาร A กำลังจะเข้าตลาดหุ้น โดยปีล่าสุดทำกำไรไปได้ 100 ล้านบาท
ถ้าประเมินมูลค่าบริษัทแบบเร็ว ๆ อาจนำกำไรไปคูณกับค่า P/E ของบริษัทที่ทำธุรกิจร้านอาหารเหมือนกันในตลาดหุ้น เช่น บริษัท B ที่มีค่า P/E อยู่ 20 เท่า
ถ้าประเมินมูลค่าบริษัทแบบเร็ว ๆ อาจนำกำไรไปคูณกับค่า P/E ของบริษัทที่ทำธุรกิจร้านอาหารเหมือนกันในตลาดหุ้น เช่น บริษัท B ที่มีค่า P/E อยู่ 20 เท่า
ดังนั้น บริษัท A จะประเมินมูลค่าบริษัทได้คร่าว ๆ ที่ 100 x 20 = 2,000 ล้านบาท
ส่วนการเปรียบเทียบความถูก-แพงของหุ้น
โดยปกติถ้าหุ้น C มีค่า P/E ต่ำกว่า หุ้น D
จะแสดงว่าหุ้น C มีราคาถูกกว่าหุ้น D
โดยปกติถ้าหุ้น C มีค่า P/E ต่ำกว่า หุ้น D
จะแสดงว่าหุ้น C มีราคาถูกกว่าหุ้น D
ซึ่งค่า P/E นอกจากใช้ประเมินความถูก-แพงของหุ้นเบื้องต้นได้แล้ว ในอีกมุมยังบอกด้วยว่า ถ้าบริษัททำกำไรได้เท่าเดิมต่อไปเรื่อย ๆ ต้องใช้เวลากี่ปีถึงจะคืนทุน เช่น หุ้น P/E 10 เท่า ก็หมายความว่า ต้องใช้เวลา 10 ปี ในการคืนทุน หากลงทุนหุ้นตัวนั้น
หรือก็คือ หุ้นที่มีค่า P/E ต่ำกว่า อาจหมายถึง ถูกกว่า และคืนทุนได้เร็วกว่า
อย่างไรก็ตาม หุ้นที่มีค่า P/E สูงกว่า ก็ไม่ได้เป็นหุ้นที่ไม่ดีเสมอไป แต่อาจเป็นเพราะ นักลงทุนในตลาด คาดหวังว่าบริษัทจะมีกำไรที่เติบโตขึ้นมากในอนาคต เลยยอมจ่ายเงินซื้อหุ้นนี้ แม้ราคาจะแพงก็ตาม
เพราะสุดท้าย ถ้ากำไรเติบโต ในอนาคต ค่า P/E ก็จะปรับตัวลดลงไปเอง (ถ้าราคาหุ้นเท่าเดิม หรือเพิ่มขึ้นน้อยกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของกำไร)
ดังนั้น จึงอาจพูดได้ว่า P/E เป็นเสมือนตัวสะท้อน “ความคาดหวัง” ของนักลงทุน ว่าบริษัทนั้น จะสามารถเติบโตได้มากแค่ไหน
เมื่อเป็นอย่างนี้ จึงมีการคำนวณ P/E แบบล่วงหน้า (Forward P/E) โดยเป็นการเทียบราคาหุ้น กับ กำไรต่อหุ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า (ตัวเลขคาดการณ์) เพื่อให้ได้ตัวเลข P/E ที่สะท้อนผลประกอบการในอนาคตมากขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีการนำ P/E มาเทียบกับ อัตราการเติบโตของกำไรสุทธิ อีกด้วย โดยเรียกว่า Price per Earning to Growth Ratio (PEG) ซึ่งเป็นการนำ P/E หารด้วย อัตราการเปลี่ยนแปลงของกำไรสุทธิ
โดยค่าที่ได้ ควรมีค่าระหว่าง 0 ถึง 1 เพราะหมายความว่า ราคาหุ้นกำลังต่ำกว่าอัตราการเติบโต
ข้อจำกัดของวิธี P/E
- ไม่สามารถนำมาใช้ประเมินบริษัทที่มีผลประกอบการขาดทุนได้
- ไม่สามารถนำมาใช้ประเมินบริษัทที่มีผลประกอบการขาดทุนได้
- ระวังค่า P/E ในหุ้นวัฏจักร ที่มีรอบการขึ้นลงของกำไร และราคาหุ้นเป็นช่วง ๆ เช่น ปีไหนกำไรดีเป็นพิเศษ ค่า P/E ก็จะต่ำผิดปกติ
- บางครั้ง บริษัทอาจมี “รายการครั้งเดียว” ทำให้ผลประกอบการและค่า P/E ที่คำนวณได้ ไม่สะท้อนความเป็นจริง หรือสูง-ต่ำ ผิดปกติ
2. วิธี P/BV Ratio (Price to Book Value Ratio)
วิธีการนี้ เป็นการเปรียบเทียบ ราคาหุ้น กับ มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น
โดยที่มูลค่าทางบัญชี ก็คือมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของบริษัท (สินทรัพย์ - หนี้สิน) หรือส่วนของผู้ถือหุ้น
ดังนั้น ค่า P/BV จึงเป็นตัวที่บอกว่า ราคาหุ้น ณ ขณะนั้น สูงเป็นกี่เท่าของมูลค่าทางบัญชี
เช่น หุ้นของบริษัท ก. มีราคาหุ้นเท่ากับ 20 บาท และมีมูลค่าตามบัญชี 10 บาท
P/BV จะเท่ากับ 2 เท่า (20 / 10)
P/BV จะเท่ากับ 2 เท่า (20 / 10)
เช่นเดียวกับค่า P/E โดยทั่วไปเรามักจะนำค่า P/BV นี้ไปเทียบกับบริษัทอื่น ๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือ เทียบกับค่า P/BV เฉลี่ยของทั้งอุตสาหกรรมนั้น
สมมติเช่น บริษัทขนส่ง A กับบริษัทขนส่ง B
ปีล่าสุดทำกำไรได้พอ ๆ กัน และในตลาด ซื้อขายหุ้นกันที่ราคา 10 บาทเท่ากัน
ปีล่าสุดทำกำไรได้พอ ๆ กัน และในตลาด ซื้อขายหุ้นกันที่ราคา 10 บาทเท่ากัน
แต่บริษัท A มีมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น อยู่ 5 บาท
คิดเป็นค่า P/BV = 2 เท่า
ส่วนบริษัท B มีมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น อยู่ 2 บาท
คิดเป็น P/BV = 5 เท่า
คิดเป็นค่า P/BV = 2 เท่า
ส่วนบริษัท B มีมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น อยู่ 2 บาท
คิดเป็น P/BV = 5 เท่า
โดยปกติ ถ้าหุ้น A มีค่า P/BV ต่ำกว่า หุ้น B
แสดงว่าหุ้น A มีราคาถูกกว่าหุ้น B
แสดงว่าหุ้น A มีราคาถูกกว่าหุ้น B
อย่างไรก็ตาม P/BV ก็มีข้อจำกัดบางอย่างไม่ต่างจาก P/E และนักลงทุนควรต้องดูข้อมูลอื่น ๆ ของบริษัท ประกอบด้วย
เพราะหุ้นที่มีค่า P/BV สูงกว่า ก็ไม่ได้เป็นหุ้นที่ไม่ดีเสมอไป แต่อาจเป็นเพราะบริษัทนั้นมีทรัพย์สินบางอย่าง ที่มีคุณค่าหรือสร้างจุดแข็งให้กับธุรกิจ แต่ไม่สามารถประเมินออกมาเป็นตัวเลขทางบัญชีได้
เช่น ความแข็งแกร่งของแบรนด์, ความภักดีของลูกค้า, ความสามารถของทีมผู้บริหาร หรือสินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่น ๆ อย่าง เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร เป็นต้น ซึ่งทำให้ตัวเลขในงบการเงิน ไม่ได้สะท้อนศักยภาพที่แท้จริงของบริษัท
นอกจากนี้ บางบริษัท อาจมีสินทรัพย์บางประเภท ที่มีราคาตามบัญชีแตกต่างจากราคาตลาด เช่น ที่ดิน ซึ่งก็มีผลต่อการประเมินค่า P/BV เหมือนกัน
แต่ทั้งนี้ จุดเด่นของ P/BV ก็คือ สัดส่วนที่นำมาคำนวณ อย่างมูลค่าทางบัญชีนั้น มีความผันผวนน้อยกว่ากำไรที่ใช้คำนวณ P/E Ratio
นอกจากนี้ ด้วยความที่ใช้มูลค่าทางบัญชีแทนกำไร ทำให้ P/BV ยังสามารถใช้ประเมินมูลค่าบริษัทที่มีผลประกอบการขาดทุนได้อีกด้วย
นอกจากนี้ ด้วยความที่ใช้มูลค่าทางบัญชีแทนกำไร ทำให้ P/BV ยังสามารถใช้ประเมินมูลค่าบริษัทที่มีผลประกอบการขาดทุนได้อีกด้วย
ข้อควรระวังของวิธี P/BV
- มูลค่าทางบัญชี เป็นการคำนวณจากตัวเลขในงบการเงิน ที่เป็นข้อมูลย้อนหลัง ไม่ได้สะท้อนแนวโน้ม และโอกาสทางธุรกิจในอนาคต
3. วิธี EV/EBITDA
วิธีการนี้ เป็นการเปรียบเทียบระหว่าง Enterprise Value (EV) กับ EBITDA
โดยที่ Enterprise Value (EV) = มูลค่าตลาด + หนี้สินรวม - เงินสด
EBITDA = กำไรจากการดำเนินงาน (EBIT) + ค่าเสื่อมราคา + ค่าตัดจำหน่าย
จากวิธีคำนวณจะเห็นได้ว่า วิธีการนี้เป็นการเปรียบเทียบระหว่าง มูลค่าของกิจการ (ที่คำนึงถึงภาระของบริษัทจากหนี้สินด้วย และหักออกด้วยเงินสดที่มีอยู่) กับกำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย
ยกตัวอย่างเช่น บริษัท A ที่มี
- มูลค่าบริษัทตามราคาตลาด 1,000 ล้านบาท
- หนี้สินรวม 200 ล้านบาท
- เงินสด 100 ล้านบาท
- มูลค่าบริษัทตามราคาตลาด 1,000 ล้านบาท
- หนี้สินรวม 200 ล้านบาท
- เงินสด 100 ล้านบาท
บริษัทนี้จะมี Enterprise Value = 1,000 + 200 - 100 = 1,100 ล้านบาท
และถ้าบริษัทนี้มี กำไรจากการดำเนินงาน (EBIT) 100 ล้านบาท ค่าเสื่อมราคา 15 ล้านบาท และค่าตัดจำหน่าย 5 ล้านบาท
จะได้ว่าบริษัทนี้มี EBITDA = 100 + 15 + 5 = 120 ล้านบาท
ดังนั้น EV/EBITDA จึงเท่ากับ 1,100 / 120 = 9.2 เท่า
โดยการพิจารณาค่า EV/EBITDA จะเป็นการนำไปเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือค่าเฉลี่ยของทั้งอุตสาหกรรม
ถ้า EV/EBITDA มีค่าต่ำ แสดงว่าบริษัทนั้นมีราคาถูก และถ้ามีค่าสูง แสดงว่าบริษัทนั้นมีราคาแพง
ข้อดีของวิธีนี้คือ ช่วยลดผลกระทบเรื่องความแตกต่างกันของโครงสร้างหนี้สินต่อทุนของแต่ละบริษัท จากการที่นำส่วนของหนี้สินมาคำนวณร่วมด้วย
ทั้งนี้ วิธีนี้เหมาะในการใช้ประเมินบริษัทที่มีค่าใช้จ่ายในส่วนที่เป็นค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายสูง ซึ่งส่งผลต่อกำไรสุทธิค่อนข้างมาก เช่น กลุ่มสื่อสารโทรคมนาคม, กลุ่มโรงแรม
4. Discounted Cash Flow (DCF)
หลักการของวิธีนี้ จะมีความซับซ้อนมากกว่าวิธีก่อน ๆ ที่ได้บอกไป แต่จะให้ตัวเลขมูลค่าหุ้นหรือมูลค่ากิจการ ที่ละเอียดแม่นยำกว่า
โดย DCF คือ การพิจารณามูลค่าของกิจการ จากการคาดการณ์กระแสเงินสดสุทธิ ที่คาดว่าบริษัทจะได้รับในอนาคตทั้งหมด แล้วคิดลดกลับมาเป็นมูลค่าในปัจจุบัน
โดย DCF คือ การพิจารณามูลค่าของกิจการ จากการคาดการณ์กระแสเงินสดสุทธิ ที่คาดว่าบริษัทจะได้รับในอนาคตทั้งหมด แล้วคิดลดกลับมาเป็นมูลค่าในปัจจุบัน
ซึ่งในบทความนี้ จะไม่ลงลึกถึงตัวอย่างการคำนวณ แต่จะบอกเพียงขั้นตอนวิธีการคำนวณคร่าว ๆ ของวิธีนี้
1. ประมาณการกระแสเงินสดสุทธิ (Free Cash Flow) ที่บริษัทจะได้รับในอนาคต ปกติจะประมาณ 5-10 ปี รวมถึง Terminal Value
ซึ่งตัวเลขที่ใช้ประมาณการ ก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคนว่า อะไรเหมาะสมกับธุรกิจประเภทนั้น ๆ มากกว่า
เช่น เงินปันผล, กระแสเงินสดจากกิจกรรมการดำเนินงาน, กระแสเงินสดอิสระ, กำไรส่วนของเจ้าของ ฯลฯ
2. คำนวณหามูลค่าปัจจุบัน ของกระแสเงินสดสุทธิแต่ละปี โดยคิดลด (Discount) ด้วยอัตราที่สะท้อนต้นทุนและความเสี่ยงของเงินทุน
เช่น อาจใช้ WACC หรือ ต้นทุนเฉลี่ยของเงินทุนของกิจการ มาเป็นอัตราคิดลด
3. รวมเงินสดรับสุทธิทุกปี ที่ได้คิดลดมูลค่าแล้ว จะได้เป็นมูลค่ารวมของบริษัท หรือ มูลค่าของกิจการ (EV)
4. หักด้วยหนี้สินต่าง ๆ ของบริษัท จะได้มูลค่าส่วนของผู้ถือหุ้น
5. นำมูลค่าส่วนของผู้ถือหุ้น หารด้วยจำนวนหุ้นทั้งหมด สุดท้ายจะได้ออกมาเป็น มูลค่าต่อหุ้น นั่นเอง
ซึ่งนักลงทุน ก็จะนำตัวเลขที่คำนวณได้ ไปเปรียบเทียบกับราคาหุ้นในตลาด ว่าถูกหรือแพง รวมถึงใช้ประเมินว่า หุ้นตัวนั้น จะมีโอกาสให้ผลตอบแทนเท่าไร
ด้วยวิธีการคำนวณ จะเห็นได้ว่า DCF เป็นการประเมินมูลค่าบริษัทที่มีจุดเด่นตรงที่ ประเมินจากสภาพคล่องของกระแสเงินสดในอนาคต ไม่ใช่ประเมินจากกำไรบัญชีเพียงอย่างเดียว
และยังเป็นการประเมินที่คำนึงถึงผลการดำเนินงาน และศักยภาพของบริษัทในอนาคต ไม่ได้อิงกับข้อมูลในอดีตเพียงอย่างเดียว
อย่างไรก็ตาม การประเมินมูลค่าหุ้นแบบ DCF ก็ยังมีข้อควรระวัง นั่นก็คือ เรื่องของสมมติฐานที่เราใช้ในการคำนวณ
เนื่องจากตัวเลขที่นำมาใช้ เป็นค่าประมาณ และต้องใช้ดุลยพินิจส่วนบุคคล
จึงทำให้มีโอกาสที่จะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
และมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของสมมติฐานต่าง ๆ
และมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของสมมติฐานต่าง ๆ
ดังนั้น นักลงทุนจึงต้องตระหนักไว้ว่า วิธี DCF รวมไปถึง P/E, P/BV และ EV/EBITDA
เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่ง ในการช่วยประเมินมูลค่าหุ้นเท่านั้น ซึ่งนักลงทุนควรใช้ร่วมกับเครื่องมืออื่น ๆ และพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ปัจจัยเชิงคุณภาพ ในการตัดสินใจลงทุนด้วย..