
ทำไมรัสเซีย ถึงยังโตได้โตดี แม้จะโดนคว่ำบาตรครั้งใหญ่ที่สุด
ทำไมรัสเซีย ถึงยังโตได้โตดี แม้จะโดนคว่ำบาตรครั้งใหญ่ที่สุด /โดย ลงทุนแมน
หลังจากรัสเซีย โดนหลายประเทศยักษ์ใหญ่ออกมาตรการคว่ำบาตร ที่ทั้ง “หนัก” และ “ครอบคลุม” ในหลายเรื่อง
หลายคนอาจคิดว่าเศรษฐกิจของรัสเซียต้องกำลังเจอกับความยากลำบาก
หลังจากรัสเซีย โดนหลายประเทศยักษ์ใหญ่ออกมาตรการคว่ำบาตร ที่ทั้ง “หนัก” และ “ครอบคลุม” ในหลายเรื่อง
หลายคนอาจคิดว่าเศรษฐกิจของรัสเซียต้องกำลังเจอกับความยากลำบาก
แต่รู้หรือไม่ว่า ในปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจรัสเซียโตขึ้นถึง 3.6% ซึ่งมากกว่าทั้งสหรัฐฯ ยุโรป และสหราชอาณาจักร
และในปีนี้ก็คาดว่าจะโตอีก 3.2% ซึ่งก็มากกว่าทุกประเทศที่กล่าวมาอีกเช่นกัน..
แม้จะโดนคว่ำบาตรอย่างหนัก แต่ทำไมเศรษฐกิจรัสเซีย ถึงยังโตได้โตดี
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ด้วยการรุกรานยูเครนอย่างเต็มรูปแบบของรัสเซีย ในปี 2565 และได้ทำให้เกิดกระแสการคว่ำบาตรรัสเซียตามมา
ถ้าถามว่ารัสเซียโดนอะไรบ้าง ก็ไล่ตั้งแต่
- ถูกคว่ำบาตรทางการเงิน ตัดขาดจากระบบการเงินโลก
- ถูกคว่ำบาตรทางการค้า จากทั้งสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และสหราชอาณาจักร ที่ระงับการนำเข้าสินค้าจากรัสเซีย ทั้ง น้ำมัน ก๊าซ ถ่านหิน และอีกหลายอย่าง รวมถึงยังห้ามไม่ให้ส่งออกสินค้าไปยังรัสเซีย
- ถูกคว่ำบาตรทางการค้า จากทั้งสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และสหราชอาณาจักร ที่ระงับการนำเข้าสินค้าจากรัสเซีย ทั้ง น้ำมัน ก๊าซ ถ่านหิน และอีกหลายอย่าง รวมถึงยังห้ามไม่ให้ส่งออกสินค้าไปยังรัสเซีย
โดนชาติตะวันตกคว่ำบาตร ตัดแข้งตัดขาขนาดนี้ ทำไมเศรษฐกิจรัสเซีย ถึงยังโตได้อย่างดี ?
คำตอบก็คือ รัสเซียได้หันมาทำการค้ากับชาติตะวันออกแทน ซึ่งก็คือ จีนและอินเดีย
โดยสินค้าที่เป็นรายได้สำคัญของรัสเซีย ก็คือ น้ำมันและก๊าซ ซึ่งคิดเป็น 35% ของรายได้ของรัฐในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
เมื่อรัสเซียไม่สามารถขายน้ำมันให้กับยุโรปได้ เพื่อไม่ให้รายได้ของตนเองหายไป รัสเซียจึงได้ลดราคาและหาตลาดส่งออกใหม่
และผู้ที่เข้ามาซื้อก็คือ จีนและอินเดีย
2 ประเทศที่มีความต้องการนำเข้าน้ำมันมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
2 ประเทศที่มีความต้องการนำเข้าน้ำมันมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
โดยครึ่งหนึ่งของการส่งออกน้ำมันและปิโตรเลียม ของรัสเซีย ในปีที่ผ่านมา เป็นการส่งออกไปยังจีน
ทำให้รัสเซีย กลายเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของจีน แซงหน้าซาอุดีอาระเบีย ครองส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นจาก 15% เป็น 19%
และรัสเซีย ยังกลายเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ให้กับอินเดีย อีกด้วย โดยยอดนำเข้าในปี 2566 เพิ่มขึ้นถึง 140% จากปี 2565 ครองส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นจาก 2% เป็น 10%
รายได้ที่รัสเซียได้จากการขายน้ำมันนี้ ก็เป็นเหมือนสิ่งที่ช่วยต่อลมหายใจให้ และทำให้รัสเซียยังคงมีเงินใช้สำหรับการดูแลเศรษฐกิจที่บาดเจ็บจากการถูกคว่ำบาตร
นอกจากนี้ เมื่อเราลองมาดูตัวเลขเศรษฐกิจของรัสเซีย ในปีที่ผ่านมา จะพบว่า อีกสาเหตุที่ทำให้ GDP ของรัสเซียยังโตต่อได้ ก็มาจากการที่รัฐบาลรัสเซีย อัดฉีดเงินจำนวนมหาศาลให้กับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
โดยเมื่อดูการใช้จ่ายของรัฐบาลรัสเซียในแต่ละปีที่ผ่านมา จะพบว่าอยู่ที่
โดยเมื่อดูการใช้จ่ายของรัฐบาลรัสเซียในแต่ละปีที่ผ่านมา จะพบว่าอยู่ที่
ปี 2564 10.47 ล้านล้านบาท
ปี 2565 13.09 ล้านล้านบาท
ปี 2566 13.68 ล้านล้านบาท
ปี 2565 13.09 ล้านล้านบาท
ปี 2566 13.68 ล้านล้านบาท
ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ก็เพิ่มขึ้นจากการสนับสนุนการจ้างงาน จ่ายเงินให้กับผู้คนเพื่อเข้าร่วมกองทัพ หรือจ่ายเงินให้ครอบครัวของผู้ถูกสังหาร
และเงินทุนสำหรับสนับสนุนค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ก็มาจากรายได้จากภาษีที่เพิ่มขึ้น และจากกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ รวมถึงการกู้ยืม
ทีนี้ หลายคนอาจเกิดคำถามว่า
แล้วเศรษฐกิจของประเทศ ที่โตจากการใช้จ่ายเพื่อการทำสงคราม จะเป็นสิ่งที่ยั่งยืนหรือไม่ ?
แล้วเศรษฐกิจของประเทศ ที่โตจากการใช้จ่ายเพื่อการทำสงคราม จะเป็นสิ่งที่ยั่งยืนหรือไม่ ?
คำตอบของคำถามนี้ อาจพอดูได้จากสภาพเศรษฐกิจของรัสเซีย ในปีนี้
โดยในส่วนของ GDP ก็คาดว่าจะโตอย่างต่อเนื่องที่ 3.2% มากกว่าทั้งสหรัฐฯ ยุโรป และสหราชอาณาจักร
ซึ่งการเติบโตก็มาจากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น การลงทุนของบริษัทเอกชนและรัฐวิสาหกิจ การบริโภคภายในประเทศ การส่งออกน้ำมัน รวมถึงการใช้จ่ายของรัฐบาล
ซึ่งการเติบโตก็มาจากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น การลงทุนของบริษัทเอกชนและรัฐวิสาหกิจ การบริโภคภายในประเทศ การส่งออกน้ำมัน รวมถึงการใช้จ่ายของรัฐบาล
เมื่อนำมาประกอบกับตัวเลขทางเศรษฐกิจอื่น ๆ อย่าง
- ดัชนีชี้วัดบรรยากาศทางธุรกิจของธนาคาร อยู่ในอันดับที่ดีที่สุดในรอบ 12 ปี
- การคาดการณ์การผลิตและอุปสงค์ในอนาคต อยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2556
- การเติบโตของการลงทุน และสถานะทางการเงินที่มั่นคง ของบรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศ
เมื่อภาพรวมเศรษฐกิจของรัสเซีย ออกมาค่อนข้างดีเช่นนี้ จึงทำให้หลายฝ่ายมองว่า เศรษฐกิจรัสเซียในตอนนี้ ได้ปรับตัวเข้ากับภาวะสงครามและการคว่ำบาตรได้แล้ว
จากความสำเร็จในการสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าใหม่ ๆ และการพึ่งพาตัวเองมากขึ้น
จากความสำเร็จในการสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าใหม่ ๆ และการพึ่งพาตัวเองมากขึ้น
แต่อย่างไรก็ตาม สงครามครั้งนี้ก็ยังไม่ได้ถึงจุดจบ เพราะล่าสุด สหรัฐฯ ได้เพิ่มมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียแล้ว ซึ่งก็เป็นมาตรการที่เข้มงวดขึ้นกว่าเดิม
ก็เป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไป ว่าเศรษฐกิจของรัสเซีย จะยังคงโตต่อไปได้ตามคาดหรือเปล่า
ก็เป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไป ว่าเศรษฐกิจของรัสเซีย จะยังคงโตต่อไปได้ตามคาดหรือเปล่า
หรือมาตรการคว่ำบาตรของนานาประเทศ จะเห็นผลที่มากขึ้น และทำให้รัสเซีย เกิดแผลทางเศรษฐกิจอย่างถาวร..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
นับตั้งแต่สงครามครั้งนี้เกิดขึ้น อินเดียไม่ได้แค่นำเข้าน้ำมันจากรัสเซียเพิ่มขึ้น เพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งออกน้ำมันเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
โดยเป็นการส่งออกไปยังยุโรป ที่มียอดนำเข้าน้ำมันดิบจากอินเดีย เพิ่มขึ้นถึง 115% ในปีที่ผ่านมา และคาดว่าเป็นตัวเลขที่สูงสุดตลอดกาล
และน้ำมันของอินเดีย ที่ส่งไปยังประเทศกลุ่มพันธมิตร G7 นั้น มากกว่า 1 ใน 3 ก็มาจากรัสเซีย นั่นเอง..