อนาคต ก๊าซธรรมชาติไทย จะเป็นอย่างไร ?
อนาคต ก๊าซธรรมชาติไทย จะเป็นอย่างไร ?
โลกของเรากำลังใช้พลังงานจากก๊าซธรรมชาติ สูงขึ้นเรื่อย ๆ
ถ้าเปรียบเทียบตามหน่วย BCM หรือ Billion Cubic Meter (พันล้านลูกบาศก์เมตร) ที่ใช้วัดปริมาตรของวัสดุที่อยู่ตามธรรมชาติ พบว่าปริมาณ Supply และ Demand ในปี 2565 อยู่ที่ประมาณ 4,100 BCM
แต่ในอนาคตคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 4,500 BCM ในปี 2573 ซึ่งก็เพียง 8 ปีเท่านั้น
ถ้าเปรียบเทียบตามหน่วย BCM หรือ Billion Cubic Meter (พันล้านลูกบาศก์เมตร) ที่ใช้วัดปริมาตรของวัสดุที่อยู่ตามธรรมชาติ พบว่าปริมาณ Supply และ Demand ในปี 2565 อยู่ที่ประมาณ 4,100 BCM
แต่ในอนาคตคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 4,500 BCM ในปี 2573 ซึ่งก็เพียง 8 ปีเท่านั้น
และถ้าจะพูดเรื่องนี้ ให้ใกล้ตัวเรามากขึ้น..
ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ยังคงเป็นภูมิภาคที่มี Demand เติบโตสูงสุด และต้องนำเข้าสุทธิสูงสุด ขณะที่ภูมิภาคที่มี Supply ส่งออกสุทธิสูงสุดคือ ตะวันออกกลาง และทวีปอเมริกา
แล้วสถานการณ์ก๊าซธรรมชาติในไทย จะเป็นอย่างไรต่อไป ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ประเทศไทยเริ่มผลิตก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยได้ครั้งแรกในปี 2524 โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อทดแทนการนำเข้าน้ำมันเตา ที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าของประเทศ
จากนั้นในปี 2529 เป็นต้นมา ความสามารถในการจัดหาก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย ก็ถูกค้นพบเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็น แหล่งสิริกิติ์ แหล่งน้ำพอง แหล่งสินภูฮ่อม ฯลฯ
จากนั้นในปี 2529 เป็นต้นมา ความสามารถในการจัดหาก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย ก็ถูกค้นพบเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็น แหล่งสิริกิติ์ แหล่งน้ำพอง แหล่งสินภูฮ่อม ฯลฯ
โดยยังคงมีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า
ที่น่าสนใจคือ ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยมีคุณลักษณะเป็น ก๊าซเปียก (wet gas) กล่าวคือ ก๊าซธรรมชาติที่นอกเหนือจาก มีเทน ซึ่งนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงเป็นหลักแล้ว ยังมีไฮโดรคาร์บอน ตัวอื่น ๆ เช่น อีเทน โพรเพน บิวเทน เพนเทน ซึ่งสามารถนำมาผ่านกระบวนการในโรงแยกก๊าซธรรมชาติ แล้วนำไปเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเพื่อเพิ่มมูลค่า และการจ้างงานได้มากมาย
อย่างไรก็ตาม นอกจากก๊าซธรรมชาติ แหล่งเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้ายังมีอีกหลายประเภท ซึ่งก็มีจุดเด่นและจุดด้อยที่ต่างกัน เช่น
- พลังน้ำ เป็นพลังงานที่สะอาดที่สุด แต่มีข้อจำกัดด้านผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและพื้นที่ทำกินจากการสร้างเขื่อน
- น้ำมัน เป็นพลังงานที่มีราคาสูง และต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
- ถ่านหิน เป็นพลังงานที่มีราคาถูก แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
- นิวเคลียร์ ต้องใช้เงินลงทุนสูง และยังมีภาระในการกำจัดกากกัมมันตภาพจากการผลิต
- น้ำมัน เป็นพลังงานที่มีราคาสูง และต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
- ถ่านหิน เป็นพลังงานที่มีราคาถูก แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
- นิวเคลียร์ ต้องใช้เงินลงทุนสูง และยังมีภาระในการกำจัดกากกัมมันตภาพจากการผลิต
สำหรับก๊าซธรรมชาติเอง ถูกมองว่าเป็นพลังงานสะอาด และยังเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ค้นพบได้ในประเทศไทย
นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ ก๊าซธรรมชาติ กลายเป็นพลังงานหลักในการผลิตไฟฟ้าในไทย นั่นเอง
แต่ถ้ามองไปในอนาคต ประเทศไทยมีแนวโน้มการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในภาคของการผลิตไฟฟ้า และภาคอุตสาหกรรม
สังเกตได้จากแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. 2561-2580 หรือ Gas Plan 2018 ที่คาดการณ์ว่า ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาพรวมในปี 2580 จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 0.7% ต่อปี
โดยจะเพิ่มขึ้นจาก 4,676 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในปี 2561 มาเป็น 5,348 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในปี 2580 เลยทีเดียว
แล้ว ก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย จะเพียงพอไหม ?
จากข้อมูลนับตั้งแต่ปี 2529 มาจนถึงปี 2566 พบว่า ภาพรวมสัดส่วนการจัดหาก๊าซธรรมชาติ แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ คือ
- 77.8% แหล่งพลังงานภายในประเทศ
แบ่งเป็น แหล่งก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย 73.7% และแหล่งก๊าซธรรมชาติบนบกในไทย 4.1%
แบ่งเป็น แหล่งก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย 73.7% และแหล่งก๊าซธรรมชาติบนบกในไทย 4.1%
- 22.2% นำเข้าจากต่างประเทศ
แบ่งเป็น นำเข้าก๊าซธรรมชาติจากพม่า 16.2% และนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) 6%
แม้ว่าสัดส่วน 3 ใน 4 ที่เราเห็นตอนนี้จะมาจากแหล่งพลังงานหลักภายในประเทศไทย
แบ่งเป็น นำเข้าก๊าซธรรมชาติจากพม่า 16.2% และนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) 6%
แม้ว่าสัดส่วน 3 ใน 4 ที่เราเห็นตอนนี้จะมาจากแหล่งพลังงานหลักภายในประเทศไทย
แต่ในอนาคตคาดการณ์ว่า 50% ของ Supply ทั้งหมดในปี 2578 ต้องอาศัยการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะ LNG จากปริมาณความต้องการใช้ที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ
ถึงตรงนี้ก็ดูเหมือนว่า การผลิตก๊าซธรรมชาติภายในประเทศสามารถตอบสนองความต้องการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรมและภาคไฟฟ้าที่ประชาชนใช้ได้เพียงบางส่วน ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่ต้องนำเข้าพลังงานเป็นหลัก...
ดังนั้น ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องหาแหล่งพลังงานเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น ทั้งจากการทำสัญญาซื้อ-ขาย LNG ล่วงหน้า การสำรวจพัฒนาแหล่งก๊าซเพิ่มเติม ควบคู่ไปกับการใช้พลังงานอย่างประหยัดและคุ้มค่า เพื่อความมั่นคงทางพลังงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต
References
- เศรษฐกิจปิโตรเลียมไทยในรอบสิบปี ห้องสมุดกรมทรัพยากรธรณี
- เอกสารเปิดเผยจาก ปตท.
- เศรษฐกิจปิโตรเลียมไทยในรอบสิบปี ห้องสมุดกรมทรัพยากรธรณี
- เอกสารเปิดเผยจาก ปตท.
Tag: ก๊าซธรรมชาติ