ธุรกิจปูนไทย ปรับตัวอย่างไร เมื่อผู้เล่นจีนรุกตลาดไทยต่อเนื่อง

ธุรกิจปูนไทย ปรับตัวอย่างไร เมื่อผู้เล่นจีนรุกตลาดไทยต่อเนื่อง

ปูนตราเสือ x ลงทุนแมน
แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้ต้องกลับมาทบทวนความสำคัญของคำว่า “บ้านที่ปลอดภัย”
เพราะสิ่งที่เป็นตัวแปรสำคัญของความปลอดภัยระยะยาวคือ “โครงสร้าง” และวัสดุที่เป็นพื้นฐานของการก่อสร้างทั้งหมด
ตลาดวัสดุก่อสร้างในไทยเอง ก็กำลังเผชิญแรงกดดันจากสินค้านำเข้าราคาถูกจากจีน
แต่สิ่งที่เราควรให้ความสำคัญ นอกจากเรื่องของต้นทุน ก็คงเป็นเรื่อง “คุณภาพ” และ “ความปลอดภัย”
หนึ่งในวัสดุที่ไม่อาจมองข้ามคือ ปูนซีเมนต์ เพราะทุกสิ่งก่อสร้าง ที่อยู่อาศัย ล้วนต้องอาศัยปูนซีเมนต์ที่ได้มาตรฐาน
หนึ่งในแบรนด์ปูนซีเมนต์ ที่ติดตลาดมานานก็คือ ปูนตราเสือ
แบรนด์ในเครือของ SCG ที่อยู่คู่วงการก่อสร้างไทยมายาวนานกว่า 100 ปี
ทำไม “ปูนตราเสือ” จึงได้รับความไว้ใจจากคนไทยมานาน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ในอดีต แบรนด์ปูนรายใหญ่ของไทย มีจุดแข็งด้านคุณภาพที่ได้รับการยอมรับ ทั้งในประเทศและอาเซียน
แต่วันนี้ บริบทการแข่งขันเปลี่ยนไปอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อจีนเริ่มเข้ามามีบทบาทในภูมิภาคนี้
สาเหตุสำคัญคือ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่เริ่มตั้งแต่ปี 2018 และยังไม่มีท่าทีจะยุติ ส่งผลให้จีนต้องปรับกลยุทธ์ครั้งใหญ่ ทั้งในด้านการส่งออก และการลงทุนในต่างประเทศ
แล้วทำไมอาเซียนจึงกลายเป็นเป้าหมายสำคัญของจีน ?
1. อุปสงค์ภายในประเทศชะลอตัว จากเศรษฐกิจจีนเติบโตช้าลง ความต้องการใช้ปูนภายในประเทศก็ลดลงตามไปด้วย ผู้ผลิตเลยต้องมองหาตลาดใหม่ที่ยังมีศักยภาพในการเติบโต
อาเซียนจึงกลายเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะหลายเมืองยังอยู่ในช่วงของการขยายตัว ประชากรยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และที่อยู่อาศัยก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการในระยะยาวด้วย
2. การย้ายฐานการผลิตมายังภูมิภาคอาเซียน ช่วยลดผลกระทบจากกำแพงภาษี
ทำให้บริษัทจีนจำนวนมากเลือกตั้งโรงงานในประเทศอาเซียน เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย
โดยอาศัยประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรี เช่น RCEP หรือ FTA ระหว่างประเทศในภูมิภาคนี้ ส่งผลให้สามารถส่งออกสินค้าได้ในต้นทุนที่ต่ำลงโดยไม่ถูกจำกัดทางภาษี
จุดเปลี่ยนสำคัญของการแข่งขันคือ จีนไม่ได้เพียงเข้ามาจำหน่ายสินค้าเท่านั้น
แต่ยังย้ายทั้งระบบการผลิตเข้ามาพร้อมกัน ทั้งเครื่องจักร เทคโนโลยี บุคลากร ไปจนถึงเครือข่ายซัปพลายเชน โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าปูนซีเมนต์ ซึ่งเป็นสินค้าประเภท Commodity ที่จีนมีความเชี่ยวชาญสูง
ด้วยข้อได้เปรียบจากการผลิตในขนาดใหญ่ (Economy of Scale) จีนจึงสามารถตั้งราคาขายที่ต่ำกว่าผู้ผลิตท้องถิ่นได้อย่างมีนัยสำคัญ
อย่างไรก็ตาม จีนก็ยังมีประเด็นในมุมมองผู้ใช้งานคือ เรื่องคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า
เพราะผู้ผลิตจากจีนจำนวนไม่น้อยที่เข้ามาในภูมิภาคอาเซียนยังขาดมาตรฐานกลางรองรับ ทำให้การตรวจสอบแหล่งผลิตหรือคุณสมบัติของสินค้าเป็นเรื่องยาก
ซึ่งต่างจากผู้ผลิตภายในประเทศ เช่นในไทย ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ที่ช่วยสร้างความมั่นใจด้านมาตรฐานและความปลอดภัยได้มากกว่า
เมื่อการแข่งขันเปลี่ยนไปเช่นนี้ หลายแบรนด์ไทยจึงเริ่มต้องปรับตัว
เพื่อรับมือกับแรงกดดันจากผู้เล่นจีนที่เข้ามาพร้อมต้นทุนที่ต่ำกว่า และระบบการผลิตที่ครบวงจร ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “ปูนตราเสือ”
แล้วปูนตราเสือมีวิธีรับมืออย่างไร ?
คุณนพพร กีรติบรรหาร Chief Marketing Officer - Marketing and Branding Cement and Green Solutions Business บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด มองว่า “เมื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างไทยกำลังเผชิญปัญหาขาดแคลนแรงงาน แรงงานไม่มีทักษะฝีมือ และต้นทุนที่สูงขึ้น
แนวทางที่ยั่งยืนที่สุดคือ “การยกระดับมาตรฐานฝีมืองานก่อสร้าง” โดยเฉพาะงานผนังและพื้น ให้มีคุณภาพเทียบเท่าระดับสากล
จากแนวคิดนี้เอง จึงเกิดเป็น สถาบันเทคโนโลยีผนังและพื้น ตราเสือ (Tiger Wall and Floor technology Center) แหล่งรวบรวมองค์ความรู้ด้านงานพื้นและผนังอัปสกิลช่างไทย แก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะฝีมือ

โดยตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี สถาบันฯ ได้อบรมช่างไทยมาแล้วกว่า 30,000 คน ผ่านหลักสูตรที่ครอบคลุมงานพื้นและผนังในทุกมิติ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ซึ่งใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น การอบรมแบบตัวต่อตัว การเรียนออนไลน์ E-Learning VR และการฝึกถึงหน้างานจริง
จุดเด่นของหลักสูตร คือการออกแบบให้ “ใช้งานได้จริง” และ “ตอบโจทย์หน้างาน” ไม่ว่าจะเป็นช่างปูน ผู้รับเหมา โฟร์แมน วิศวกร สถาปนิก หรือแม้แต่เจ้าของบ้านที่ต้องการเข้าใจงานก่อสร้างในเชิงลึก
นอกจากนั้นหลักสูตรของ สถาบันฯ ยังยึดหลักการทำงานแบบ 4M องค์ประกอบสำคัญของการบริหารงานก่อสร้างอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
- Material เลือกใช้วัสดุที่ถูกต้องกับประเภทการใช้งาน
- Method วางแผนและกำหนดขั้นตอนการทำงานอย่างถูกต้องและเป็นระบบ เพื่อลดความผิดพลาด
- Man พัฒนาทักษะฝีมือแรงงานให้พร้อมทำงานอย่างมืออาชีพ
- Machine ใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ความแม่นยำ รวดเร็ว และความปลอดภัย
จากแนวคิด 4M นี้ สถาบันฯ ได้ต่อยอดไปสู่การพัฒนาเครื่องมือและนวัตกรรมเฉพาะทาง ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำในการทำงานก่อสร้างจริง ยกตัวอย่างเช่น
- เครื่องขัด Skim Coat
ช่วยให้การฉาบผิวผนังด้วย Skim Coat ทำได้สม่ำเสมอ รวดเร็ว และเรียบเนียน เหมาะสำหรับงานตกแต่งภายในที่ต้องการคุณภาพสูง
- เครื่องตรวจสอบความพร้อมของผนังก่อนฉาบ
ตรวจเช็กความชื้น ความสะอาด ความเรียบ และความแข็งแรงของผิวผนัง เพื่อให้แน่ใจว่าพร้อมสำหรับการฉาบ ช่วยลดปัญหาการยึดเกาะไม่ดีหรือผิวแตกร้าวหลังการฉาบ
โดยเครื่องมือและนวัตกรรมทุกชิ้นผ่านการออกแบบ ทดสอบ และจดสิทธิบัตรแล้ว เพื่อให้มั่นใจว่าใช้งานได้จริงในหน้างาน
แล้วหลักสูตรของ สถาบันเทคโนโลยีผนังและพื้น ตราเสือ จะยกระดับมาตรฐานได้อย่างไร ?
สถาบันฯ ได้รับการรับรองจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานให้เป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ใน 5 สาขา ได้แก่ งานก่ออิฐ ฉาบปูน ปูกระเบื้อง คอนกรีตมวลเบา และหินขัด พร้อมออกใบประกาศนียบัตรรับรองให้แก่ผู้ที่ผ่านการทดสอบจริง
ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยเสริมความเชื่อมั่นให้กับผู้ว่าจ้างและผู้พัฒนาโครงการ
นอกจากการพัฒนาภายในประเทศ สถาบันฯ ยังมีโอกาสได้ให้ความร่วมมือกับนานาชาติขยายองค์ความรู้สู่ระดับนานาชาติ ถ่ายทอดหลักสูตรให้กับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ภูฏาน อินเดีย ฟิลิปปินส์ และมัลดีฟส์
รวมถึงสนับสนุนทีมเยาวชนไทย เป็นที่เก็บตัวสำหรับการแข่งขันในเวทีสำคัญ World Skills Competition ทั้งในระดับโลกและอาเซียนตลอดมา

ปูนตราเสือมองว่าการสร้างมาตรฐานทักษะฝีมือแรงงานอย่างต่อเนื่องสามารถช่วยขับเคลื่อน “วงการก่อสร้างไทย” ก็มีศักยภาพเพียงพอที่จะยกระดับตัวเอง และแข่งขันในระดับสากลได้อย่างมั่นคง
แต่รู้หรือไม่ว่า แนวคิดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกรอบแนวคิดที่ใหญ่กว่า ภายใต้ชื่อ S.M.A.R.T. Craftsmanship ที่สะท้อนถึงความตั้งใจของแบรนด์ในการยกระดับอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยอย่างรอบด้าน
โดย S.M.A.R.T. Craftsmanship ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่
- Sustainable Products (S)
มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อย CO2 รองรับเทรนด์วัสดุก่อสร้างแห่งอนาคต ที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากร
- Multi Solutions (M)
ตอบโจทย์การก่อสร้างแบบครบวงจรผ่านการนำเสนอเป็น Wall and Floor System Provider ในเชิงการใช้งานแบบ Application Based ให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ เจ้าของโครงการ ผู้รับเหมาทุกขนาด สถาปนิก รวมถึงเจ้าของบ้าน ทุก Segment
ครอบคลุมทุกงาน ทั้งแนวสูงและแนวราบ ตามประเภทงาน ระบบผนังและพื้น งานระบบปูกระเบื้อง งานซ่อมแซม งานระบบกันซึม งานตกแต่งสถาปัตยกรรม เป็นต้น
- Artful Architecture (A)
ยกระดับดิไซน์ให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ และรูปแบบของสถาปัตยกรรมยุคใหม่ ผ่านกลุ่มผลิตภัณฑ์ Tiger Lifestyle ถูกนำเสนอออกมาเป็นเชิงการใช้งานรูปแบบและสไตล์ต่าง ๆ
ทั้งงาน Terrazzo, Color Skim, Marble Render, Color Render, Pebble Washed, Heritage, Loft, Stucco หรือ Texture และปูนตราเสือได้ก้าวข้ามขีดจำกัดของการเป็นเพียงแค่ “ปูนซีเมนต์”
ด้วยการทำ Tiger Brand Commerce ร่วมกับแบรนด์แฟชั่น รวมถึงนักออกแบบไทย อาทิเช่น Tiger x Renim Project จนได้จัดแสดงที่ LA Fashion Week
หรือร่วมงานกับดิไซน์เนอร์ไทย อย่าง Tiger x Phannapast, Tiger x Bangkok Tales, Tikky Wow
- Raising Standard (R)
ผลักดันมาตรฐานใหม่ของวงการก่อสร้างไทยอย่างเป็นระบบ ทั้งในด้านแรงงาน เครื่องมือ เทคโนโลยี และวิธีการทำงาน ผ่านสถาบันเทคโนโลยีผนังและพื้น ตราเสือ
แหล่งรวมองค์ความรู้ด้านงานพื้นและผนัง อัปสกิลช่างไทย พร้อมเรียนรู้ทั้งช่องทาง Offline และ Online ผ่าน VR Showroom / Online E-Learning มาพร้อมด้วยเครื่องมืออุปกรณ์ด้านงานก่อสร้างพื้นและผนัง
- Trusted Partnerships (T)
สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับพันธมิตรทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายผู้แทนจำหน่าย ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างทุกขนาด เครือข่ายสถาปนิก ช่างปูน หรือผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เจ้าของโครงการ
พร้อมทีมผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด ที่จะเป็นเครือข่ายยกระดับอุตสาหกรรมก่อสร้างของไทย
ภายใต้แนวคิดนี้ ปูนตราเสือจึงไม่ได้ทำงานเพียงลำพัง แต่มีเครือข่ายพันธมิตรที่เข้มแข็งกระจายอยู่ทั่วประเทศ ประกอบด้วย
- ช่างปูนและผู้รับเหมารายย่อยกว่า 20,000 คน
- ร้านผู้แทนจำหน่าย (Dealer) กว่า 400 ราย
- ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง (Sub-Dealer) กว่า 10,000 ราย
- Local Developers มากกว่า 100 ราย
- ผู้รับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ (Big Contractors) กว่า 50 ราย
- ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ (Big Developers) กว่า 20 ราย
- พันธมิตรเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Eco Partners) กว่า 20 ราย
หากพิจารณาเฉพาะกลุ่มผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ จะพบว่าแต่ละรายล้วนเป็นแบรนด์ชั้นนำของประเทศ เช่น SC Asset, Supalai, Sansiri, Pruksa และ AP ต่างก็เลือกใช้ผลิตภัณฑ์และโซลูชันจากปูนตราเสือในโครงการระดับเรือธงของตน
สิ่งนี้สะท้อนถึงความเชื่อมั่นที่มีต่อแบรนด์ รวมถึงบทบาทของปูนตราเสือในฐานะพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ที่พร้อมยกระดับมาตรฐานงานก่อสร้างในทุกมิติ
นอกจากนี้ ปูนตราเสือยังมีความร่วมมือเชิงลึกในรูปแบบ Co-Development กับองค์กรชั้นนำในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี เครื่องมือ และแนวทางการทำงานที่ตอบโจทย์ความท้าทายต่าง ๆ ของอุตสาหกรรม
ยกตัวอย่างเช่น
- ร่วมกับ TACT และ KUBOTA พัฒนาเครื่องพ่นฉาบผนังปูนซีเมนต์ “TORA S-ONE” ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล ลดภาระการทำงานของช่าง พร้อมเพิ่มความเร็วและความสม่ำเสมอของงานฉาบ
- จับมือกับ Rothenburg Group พัฒนา “เกรียงก่ออิฐพันปี” ที่ตอบโจทย์การทำงานที่ต้องการความแม่นยำและความทนทาน
- ร่วมกับ SC Asset ยกระดับคุณภาพงาน ลดต้นทุน Defect และ Waste ในโครงการระดับพรีเมียม
- พัฒนานวัตกรรมร่วมกับ Thai Obayashi เพื่อยกระดับเทคนิคการฉาบปูนบนผนังคอนกรีต สำหรับโครงการขนาดใหญ่
- ร่วมกับ ช.การช่าง ทดลองและพัฒนาเทคนิคการฉาบปูนบนผนังอิฐกำลังอัดสูง ในโครงการ “เขื่อนหลวงพระบาง” สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
สรุปได้ว่า ในวันที่ผู้เล่นต่างชาติซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า จากความได้เปรียบด้าน Economy of Scale เริ่มเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดในไทย การแข่งขันด้วยราคาจึงไม่ใช่คำตอบระยะยาวสำหรับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในประเทศ
เพราะสิ่งที่จำเป็นคือ การยกระดับคุณภาพสินค้า การพัฒนาระบบหรือโซลูชันที่ตอบโจทย์งานก่อสร้างอย่างแท้จริง และการสร้างเครือข่ายพันธมิตรที่แข็งแกร่ง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในระยะยาว
นั่นคือแนวทางที่ปูนตราเสือกำลังเดินหน้าอยู่ ผ่านกรอบแนวคิด S.M.A.R.T. Craftsmanship ที่ไม่เพียงเป็นกลยุทธ์ในการแข่งขัน แต่ยังสะท้อนจุดยืนของแบรนด์ในการยกระดับอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยอย่างยั่งยืน นั่นเอง…
References :
- ข่าวประชาสัมพันธ์ ปูนตราเสือ
- https://www.bbc.com/thai/59847341
- https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/iso/
- https://www.tisi.go.th/website/about/tisi_vision
© 2025 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon