
ลำพูน จังหวัดเล็กสุดของภาคเหนือ แต่มีรายได้ต่อหัวสูงสุด ในภาคเหนือ
ลำพูน จังหวัดเล็กสุดของภาคเหนือ แต่มีรายได้ต่อหัวสูงสุด ในภาคเหนือ /โดย ลงทุนแมน
“ลำพูน” จังหวัดเล็กที่สุดในภาคเหนือ ทางผ่านของใครหลายคน เวลาขับรถขึ้นเชียงใหม่
“ลำพูน” จังหวัดเล็กที่สุดในภาคเหนือ ทางผ่านของใครหลายคน เวลาขับรถขึ้นเชียงใหม่
รู้ไหมว่า จากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปี 2566
จังหวัดนี้ มี GPP per capita หรือรายได้เฉลี่ยต่อหัวเกือบ 20,000 บาทต่อเดือน ซึ่งสูงสุดในภาคเหนือ และมากกว่าจังหวัดเชียงใหม่ อย่างที่หลายคนคิดเสียอีก
โดยมีภาคอุตสาหกรรมเป็นปัจจัยหลัก ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัด ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมของภาคเหนือ
แล้วลำพูนมีดีอะไร ?
ทำไมถึงเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมสำคัญของภาคเหนือ และของประเทศได้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ทำไมถึงเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมสำคัญของภาคเหนือ และของประเทศได้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ลำพูน เป็นจังหวัดทางภาคเหนือตอนบนของไทย และเป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กที่สุดในภาคเหนือ มีขนาดพื้นที่เล็กกว่าจังหวัดเชียงใหม่เกือบ 5 เท่า
หรือคิดเป็น 0.9% ของพื้นที่ประเทศไทยเท่านั้น
หรือคิดเป็น 0.9% ของพื้นที่ประเทศไทยเท่านั้น
โดยมีอำเภอเมือง อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ เกือบ 700 กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ราว 30 กิโลเมตร
ในอดีตนั้น ลำพูนมีภาคเกษตรกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัด ซึ่งมีผลผลิตทางการเกษตรที่โดดเด่นคือ ลำไยและกระเทียม
ก่อนที่ปัจจุบัน กลายเป็นภาคอุตสาหกรรมที่เข้ามามีบทบาทหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแทน
สาเหตุที่เป็นแบบนี้ ต้องย้อนไปในปี 2526
ตามแผนพัฒนาประเทศฉบับที่ 4 รัฐบาลต้องการขยายพื้นที่อุตสาหกรรม จากกรุงเทพฯ และปริมณฑล ไปยังส่วนภูมิภาค
ตามแผนพัฒนาประเทศฉบับที่ 4 รัฐบาลต้องการขยายพื้นที่อุตสาหกรรม จากกรุงเทพฯ และปริมณฑล ไปยังส่วนภูมิภาค
ซึ่งเขตอำเภอเมืองลำพูน กลายเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะความที่อยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองจังหวัดเชียงใหม่
บวกกับ ตัวเมืองจังหวัดลำพูนเอง ยังมีราคาที่ดินไม่สูงเท่าเขตเมืองจังหวัดเชียงใหม่ สามารถพัฒนาให้กลายเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม เพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศในอนาคตได้
นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือแห่งแรกในระดับภูมิภาค จึงดำเนินการก่อสร้างในเขตอำเภอเมืองลำพูน ด้วยพื้นที่เกือบ 1,800 ไร่ และสร้างเสร็จในปี 2528
จนมาถึงปัจจุบัน เมื่อการลงทุนทั้งจากต่างประเทศ และในประเทศขยายตัวขึ้น นิคมอุตสาหกรรมอื่น ๆ ในลำพูนจึงเกิดขึ้นตามมา
จากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ลำพูนมีแหล่งอุตสาหกรรมสำคัญ 3 แห่ง
คือ นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ, นิคมอุตสาหกรรมเวิลด์ (ลำพูน) และสวนอุตสาหกรรม เครือสหพัฒน์
คือ นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ, นิคมอุตสาหกรรมเวิลด์ (ลำพูน) และสวนอุตสาหกรรม เครือสหพัฒน์
โดยมีบริษัทระดับโลกหลายแห่ง ตั้งฐานการผลิตในจังหวัดลำพูน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อย่างเช่น
- บจ.มูราตะ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย)
ปี 2567 (ปิดงบการเงิน 31/03/67)
รายได้ 9,028 ล้านบาท
กำไร 161 ล้านบาท
รายได้ 9,028 ล้านบาท
กำไร 161 ล้านบาท
- บจ.เคียวเซร่า (ประเทศไทย)
ปี 2567 (ปิดงบการเงิน 31/03/67)
รายได้ 8,449 ล้านบาท
กำไร 285 ล้านบาท
รายได้ 8,449 ล้านบาท
กำไร 285 ล้านบาท
ทั้งนี้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ได้มีประกาศอย่างเป็นทางการ ให้ตั้งนิคมอุตสาหกรรมเวิลด์ แห่งที่ 2 ในลำพูนอีกด้วย โดยมีขนาดพื้นที่ 621 ไร่ และมีเม็ดเงินลงทุน 17,584 ล้านบาท
ปัจจัยที่ทำให้เขตอุตสาหกรรมในจังหวัดลำพูน เป็นที่น่าสนใจ สำหรับผู้ประกอบการที่เลือกเข้าไปลงทุน
นอกจากเรื่องราคาที่ดิน และสิทธิประโยชน์ทางภาษีต่าง ๆ แล้ว
ทำเลที่ตั้งของลำพูนเอง ที่อยู่ใกล้กับจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาของภาคเหนือของไทย ยังช่วยผลิตแรงงานที่มีทักษะ ป้อนเข้าในอุตสาหกรรม
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการคมนาคม
เพราะด้วยการที่อยู่ห่างจากสนามบินเชียงใหม่ไม่ไกล
ทั้งยังมีการพัฒนาถนนสายหลัก ที่เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดเชียงใหม่และลำปาง
เพราะด้วยการที่อยู่ห่างจากสนามบินเชียงใหม่ไม่ไกล
ทั้งยังมีการพัฒนาถนนสายหลัก ที่เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดเชียงใหม่และลำปาง
รวมถึงยังมีโครงการสนามบินเชียงใหม่แห่งที่ 2 ที่เริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ในปี 2570 ในอนาคตอีกด้วย
ซึ่งช่วยให้การเดินทางและขนส่งสินค้าสะดวก
และอีกข้อสำคัญคือ ลำพูนมีธรรมชาติสวยงาม
และการใช้ชีวิตที่เรียบง่าย ไม่แออัด
อีกทั้งค่าครองชีพที่ถูกกว่ากรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงอีกหลายจังหวัดหัวเมืองใหญ่
และการใช้ชีวิตที่เรียบง่าย ไม่แออัด
อีกทั้งค่าครองชีพที่ถูกกว่ากรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงอีกหลายจังหวัดหัวเมืองใหญ่
ทำให้เป็นพื้นที่ ที่น่าอยู่อาศัยและทำงาน ช่วยดึงดูดแรงงานอีกทางหนึ่ง
ซึ่งหากเราลองนำลำพูนไปเทียบกับจังหวัดเชียงใหม่ ในมุมตัวเลขเศรษฐกิจ
- ขนาดเศรษฐกิจของจังหวัด (Gross Provincial Product : GPP)
ปี 2564
ลำพูน 86,800 ล้านบาท
เชียงใหม่ 236,700 ล้านบาท
ลำพูน 86,800 ล้านบาท
เชียงใหม่ 236,700 ล้านบาท
ปี 2565
ลำพูน 90,400 ล้านบาท
เชียงใหม่ 244,200 ล้านบาท
ลำพูน 90,400 ล้านบาท
เชียงใหม่ 244,200 ล้านบาท
ปี 2566
ลำพูน 91,500 ล้านบาท
เชียงใหม่ 277,500 ล้านบาท
ลำพูน 91,500 ล้านบาท
เชียงใหม่ 277,500 ล้านบาท
- รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากร (GPP per capita)
ปี 2564
ลำพูน 221,800 บาทต่อคน
เชียงใหม่ 131,600 บาทต่อคน
ลำพูน 221,800 บาทต่อคน
เชียงใหม่ 131,600 บาทต่อคน
ปี 2565
ลำพูน 232,600 บาทต่อคน
เชียงใหม่ 136,000 บาทต่อคน
ลำพูน 232,600 บาทต่อคน
เชียงใหม่ 136,000 บาทต่อคน
ปี 2566
ลำพูน 236,600 บาทต่อคน
เชียงใหม่ 154,900 บาทต่อคน
ลำพูน 236,600 บาทต่อคน
เชียงใหม่ 154,900 บาทต่อคน
จะเห็นว่า แม้ขนาดเศรษฐกิจของลำพูน จะเล็กกว่าเชียงใหม่ก็ตาม แต่หากดูรายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรนั้น สูงกว่าเชียงใหม่เสียอีก
มากกว่านั้น ยังสูงสุดเป็นอันดับ 1 ของจังหวัดในภาคเหนืออีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ต้องหมายเหตุว่า ด้วยประชากรที่ไม่มาก บวกกับการมีประชากรแฝง จากแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ยังเป็นส่วนสำคัญทำให้รายได้ต่อหัวของลำพูนอยู่ระดับสูงอีกด้วย
และทั้งหมดนี้ ก็คือเรื่องราวของลำพูน จังหวัดที่ได้รับปัจจัยสนับสนุนรอบด้าน ทั้งการส่งเสริมจากภาครัฐ ทำเลที่ตั้ง การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และแรงงานที่มีคุณภาพ
เปลี่ยนจากอดีตที่พึ่งพาภาคเกษตรกรรม
สู่การที่มีภาคอุตสาหกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจในจังหวัด
สู่การที่มีภาคอุตสาหกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจในจังหวัด
กลายมาเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมของภาคเหนือและของประเทศไทย
ทำให้ลำพูน จังหวัดเล็กสุดของภาคเหนือไทย มีรายได้ต่อหัวเกือบ 20,000 บาทต่อเดือน เลยทีเดียว..