
หนี้การศึกษา 60 ล้านล้านบาท ที่คนอเมริกัน ต้องแบกระยะยาว
หนี้การศึกษา 60 ล้านล้านบาท ที่คนอเมริกัน ต้องแบกระยะยาว /โดย ลงทุนแมน
สำหรับคนอเมริกัน “การศึกษา” ถูกมองว่าเป็นโอกาสสำคัญในการสร้างอนาคตที่ดีกว่า ทั้งในด้านอาชีพ และรายได้
สำหรับคนอเมริกัน “การศึกษา” ถูกมองว่าเป็นโอกาสสำคัญในการสร้างอนาคตที่ดีกว่า ทั้งในด้านอาชีพ และรายได้
และมหาวิทยาลัย ถูกมองว่า คือความหวัง ที่จะทำให้ได้คุณภาพชีวิตที่มั่นคง และก้าวหน้า มากกว่ารุ่นพ่อแม่
แต่วันนี้ ภาพอาจเปลี่ยนไป และค่าเล่าเรียนด้านการศึกษา ก็กำลังถูกตั้งคำถามในสังคมอเมริกันมากขึ้นเรื่อย ๆ
เพราะ “ใบปริญญา” ที่เคยเป็นสัญลักษณ์ของโอกาส กำลังกลายเป็นภาระทางการเงินมหาศาลสำหรับคนรุ่นใหม่ในสหรัฐอเมริกา ที่ต้องเริ่มต้นชีวิตพร้อมกับ “หนี้” ก้อนโต
เรื่องนี้รุนแรงขนาดไหน
และหนี้การศึกษา ส่งผลกระทบต่อชาวอเมริกันอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 การเรียนมหาวิทยาลัย ถูกมองว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า
เพราะคนอเมริกันที่มีใบปริญญา มักได้งานที่มั่นคง มีรายได้ดี และมีโอกาสเลื่อนขั้นสูงกว่าคนที่ไม่มี
และหนี้การศึกษา ส่งผลกระทบต่อชาวอเมริกันอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 การเรียนมหาวิทยาลัย ถูกมองว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า
เพราะคนอเมริกันที่มีใบปริญญา มักได้งานที่มั่นคง มีรายได้ดี และมีโอกาสเลื่อนขั้นสูงกว่าคนที่ไม่มี
โดยเฉพาะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมาย Servicemen’s Readjustment Act หรือ G.I. Bill ในปี 1944
ที่เปิดโอกาสให้อดีตทหารผ่านศึก ได้เข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย ด้วยการออกค่าเล่าเรียนและค่าครองชีพให้บางส่วน
ทำให้คนจำนวนมาก ได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษา อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
บวกกับเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง หลังช่วงสงคราม จนรายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น 40% ในช่วงระหว่างปี 1945-1960
ทำให้เกิดกลุ่มชนชั้นกลาง ที่เริ่มมีเสถียรภาพทางการเงิน เป็นจำนวนมาก และก็มีกำลังมากพอ ที่จะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย
อีกทั้งในยุคนั้น มุมมองการศึกษา จึงไม่ใช่แค่ใบปริญญา แต่เป็นบันไดที่เปลี่ยนชีวิตคนทั้งครอบครัว
และนี่เองที่ทำให้ “มหาวิทยาลัย” กลายเป็นเป้าหมายของคนรุ่นต่อ ๆ มา ซึ่งเติบโตมาพร้อมกับความเชื่อว่า การเรียนสูง คือทางลัดสู่ชีวิตที่ดีกว่า
และในเวลานั้น ความเชื่อนี้ก็เป็นจริง และยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวอเมริกันทั่วประเทศ พร้อมกับเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
แต่วันนี้ การศึกษาของสหรัฐอเมริกา ไม่ได้ถูกมองในด้านดีเท่านั้น
แต่ยังมีอีกแง่มุม ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่เสมอ โดยเฉพาะเรื่อง “หนี้การศึกษา”
แต่ยังมีอีกแง่มุม ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่เสมอ โดยเฉพาะเรื่อง “หนี้การศึกษา”
ในสหรัฐอเมริกา การศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ได้กลายเป็นภาระทางการเงิน ที่คนรุ่นใหม่ต้องแบกรับตั้งแต่วันแรกที่เรียนจบ
ในปี 2025 หนี้การศึกษารวมของชาวอเมริกัน สูงถึง 60 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว นับตั้งแต่ปี 2011
และตอนนี้ คิดเป็น 6% ของ GDP ประเทศสหรัฐอเมริกา
และตอนนี้ คิดเป็น 6% ของ GDP ประเทศสหรัฐอเมริกา
โดยมีชาวอเมริกันกว่า 43 ล้านคน ที่เป็นหนี้การศึกษากับรัฐบาลกลาง ซึ่งจำนวนนี้ยังไม่รวมหนี้กับภาคเอกชน
และสำหรับหนี้การศึกษาต่อหัว
ผู้กู้จะมีหนี้เพื่อการศึกษา เฉลี่ยอยู่ที่คนละ 1.4 ล้านบาท
ผู้กู้จะมีหนี้เพื่อการศึกษา เฉลี่ยอยู่ที่คนละ 1.4 ล้านบาท
และถ้าเจาะแต่ละระดับการศึกษา จะพบว่า
- ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มีหนี้การศึกษา เฉลี่ยคนละ 1.0 ล้านบาท
- ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท มีหนี้การศึกษา เฉลี่ยคนละ 2.3 ล้านบาท
- ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านวิจัย มีหนี้การศึกษา เฉลี่ยคนละ 2.4 ล้านบาท
- ผู้สำเร็จการศึกษาด้านกฎหมาย มีหนี้การศึกษา เฉลี่ยคนละ 4.7 ล้านบาท
- ผู้สำเร็จการศึกษาด้านแพทยศาสตร์ มีหนี้การศึกษา เฉลี่ยคนละ 6.6 ล้านบาท
ตัวเลขนี้ เป็นเครื่องสะท้อนถึงปัญหา ที่กำลังรอคนรุ่นใหม่ ซึ่งเลือกเดินทางผ่านเส้นทางการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย
และในความเป็นจริง พบว่าหนี้เหล่านี้ ก็กลายเป็นปัญหาสำคัญ ที่ทำให้หลายคนไม่สามารถเริ่มต้นชีวิตได้
หนึ่งในสาเหตุ ที่ทำให้คนอเมริกัน ต้องหันไปพึ่งพาสินเชื่อเพื่อการศึกษา แถมหนี้ตรงนี้ก็กำลังบวมขึ้น ๆ
เพราะค่าเล่าเรียนในสหรัฐอเมริกา แพงขึ้นเรื่อย ๆ และเพิ่มขึ้นเร็วกว่าค่าเงินเฟ้อ และรายได้ครัวเรือนมาก
ตั้งแต่ปี 2004-2024 ค่าเล่าเรียนในมหาวิทยาลัยรัฐ เฉลี่ยแล้วเพิ่มขึ้นกว่า 141%
และค่าเล่าเรียนในมหาวิทยาลัยเอกชน อาจเพิ่มขึ้นมากกว่านี้
และค่าเล่าเรียนในมหาวิทยาลัยเอกชน อาจเพิ่มขึ้นมากกว่านี้
ขณะที่รายได้ครัวเรือน เพิ่มขึ้นแค่ 15%
และอัตราเงินเฟ้อ เพิ่มขึ้นประมาณ 63%
และอัตราเงินเฟ้อ เพิ่มขึ้นประมาณ 63%
นอกจากนี้ นักศึกษาชาวอเมริกัน ก็กำลังเจอแรงกดดันอีกทาง จากการตัดลดงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐ
โดยในปี 2025 ภายใต้รัฐบาลทรัมป์ รัฐบาลเสนอให้ลดงบกระทรวงศึกษาธิการลง 15.3% หรือประมาณ 400,000 ล้านบาท
พร้อมยกเลิก และลดงบโครงการช่วยเหลือนักศึกษาหลายรายการ ทำให้นักศึกษาต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้น
ซึ่งหนี้การศึกษานั้น ไม่ได้เป็นเพียงแค่ภาระในระยะยาว ที่ชาวอเมริกัน ต้องแบกรับหลังจบการศึกษา
แต่หนี้การศึกษา ยังส่งผลกระทบต่อชีวิตคนอเมริกันในหลากหลายมิติ โดยเฉพาะในเรื่องการซื้อบ้าน การคิดเริ่มต้นธุรกิจ และการลงทุนต่าง ๆ
เช่น หนี้การศึกษา มีผลต่อการอนุมัติสินเชื่อบ้าน เพราะมันเพิ่มอัตราส่วนหนี้สินต่อรายได้ และทำให้การออมเงินสำหรับเงินดาวน์ยากขึ้น
ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้กู้ที่มีหนี้การศึกษาระบุว่า หนี้ดังกล่าว ทำให้พวกเขาไม่สามารถซื้อบ้านได้
ในด้านการลงทุน การมีหนี้การศึกษา ทำให้คนรุ่นใหม่ต้องระมัดระวังในการตัดสินใจลงทุน เนื่องจากรายได้ส่วนหนึ่งต้องใช้ไปกับการชำระหนี้
ทำให้ไม่สามารถเก็บออม หรือลงทุนในโอกาสสำคัญได้ การมีหนี้ทำให้บางคนต้องใช้ชีวิตอย่างจำกัด ลดการใช้จ่าย และพลาดโอกาสในการเติบโต
นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบต่อการวางแผนและตัดสินใจในชีวิต เช่น การศึกษาต่อ การเปลี่ยนสายงานอาชีพ การเริ่มต้นครอบครัว การแต่งงาน และการสร้างความสัมพันธ์ระยะยาว อีกด้วย
ข้อมูลเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่สำคัญของหนี้การศึกษาต่อการตัดสินใจทางการเงิน และการดำเนินชีวิต ซึ่งลามไปถึงผลกระทบทางสุขภาพจิตและความเครียดจากการเป็นหนี้ ของคนรุ่นใหม่ในสหรัฐอเมริกา
ซึ่งต่อไป แนวโน้มค่าเล่าเรียนด้านการศึกษา และหนี้การศึกษาของชาวอเมริกัน ก็คงสูงขึ้นอีกเรื่อย ๆ และอาจลุกลามจนรัฐบาลเริ่มจัดการไม่ได้
แล้วการศึกษาในมหาวิทยาลัย ยังคุ้มค่าอยู่หรือไม่ ?
จากงานวิจัยธนาคารกลางนิวยอร์กในปี 2025 ระบุว่า
ผู้ที่จบปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 2.92 ล้านบาทต่อปี
เทียบกับผู้ที่จบมัธยมปลาย ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 1.71 ล้านบาทต่อปี
หมายความว่า ผู้ที่จบปริญญาตรีมีรายได้เฉลี่ยสูงกว่าผู้ที่จบมัธยมปลาย ถึงประมาณ 70% ต่อปี
ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างที่ชัดเจนในด้านรายได้ระหว่างผู้ที่มี และไม่มีใบปริญญา
แม้ว่าค่าเล่าเรียน และหนี้การศึกษาจะเพิ่มขึ้น แต่ข้อมูลก็ยังชี้ให้เห็นว่า การศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ยังคงเป็นการลงทุนที่น่าสนใจ ที่ให้ผลตอบแทนในระยะยาว ทั้งในด้านรายได้ที่สูงขึ้น และโอกาสทางอาชีพที่ดีกว่า
รวมถึงให้ผลตอบแทนในรูปแบบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ตัวเงิน เช่น การได้ทำตามความฝัน ในอาชีพที่ต้องการใบปริญญา, ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง, คอนเน็กชันในมหาวิทยาลัย เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม หนี้การศึกษาในสหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นปัญหาที่มีผลกระทบมากกว่าที่เราคิด
ไม่เพียงสร้างภาระทางการเงินที่หนักหน่วง
แต่ยังส่งผลต่อการตัดสินใจในชีวิตประจำวัน เช่น การซื้อบ้าน การสร้างครอบครัว หรือแม้กระทั่งการลงทุนเพื่ออนาคต
แต่ยังส่งผลต่อการตัดสินใจในชีวิตประจำวัน เช่น การซื้อบ้าน การสร้างครอบครัว หรือแม้กระทั่งการลงทุนเพื่ออนาคต
เมื่อคนรุ่นใหม่ต้องใช้รายได้ส่วนใหญ่ ไปกับการชำระหนี้การศึกษา การเก็บออม หรือการทำตามความฝันที่เกี่ยวข้องกับการเงิน ก็กลายเป็นเรื่องยากขึ้น
ในอีกแง่มุมหนึ่ง การศึกษาระดับมหาวิทยาลัย
แม้จะมีค่าเล่าเรียนที่สูงขึ้น และต้องแบกรับภาระหนี้ก้อนโต
แม้จะมีค่าเล่าเรียนที่สูงขึ้น และต้องแบกรับภาระหนี้ก้อนโต
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ใบปริญญา สามารถเป็นประตูโอกาสในการเติบโต หรือยกระดับคุณภาพชีวิต ให้ชาวอเมริกันหลาย ๆ คนได้
การจะตอบว่า การศึกษาในมหาวิทยาลัย เป็นสิ่งที่คุ้มค่าหรือไม่นั้น ก็คงไม่มีคำตอบที่ถูกต้องตายตัว
แต่ขึ้นอยู่กับบริบท ความพร้อม และเป้าหมายชีวิต ของคนแต่ละคนมากกว่า
แต่ขึ้นอยู่กับบริบท ความพร้อม และเป้าหมายชีวิต ของคนแต่ละคนมากกว่า
สุดท้ายนี้ ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงเร็วเช่นนี้ และไม่เหมือนเดิม ด้วยการเข้ามาของเทคโนโลยี เช่น AI ขั้นสูง และอีกมากมาย ซึ่งกำลังพลิกโฉมเศรษฐกิจ และตลาดแรงงาน ไปอย่างสิ้นเชิง จนการศึกษาในระบบ เริ่มตามไม่ทัน
ก็คงมีคำถามเกิดขึ้นว่า
มหาวิทยาลัย ยังคุ้มค่าต่อการลงทุนในอนาคตหรือไม่ ?
มหาวิทยาลัย ยังคุ้มค่าต่อการลงทุนในอนาคตหรือไม่ ?
หรือในโลกยุคใหม่ อาจจะมีทางเลือกอื่น ๆ เป็นคำตอบที่ดีกว่า..
╔═══════════╗
ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://educationdata.org/student-loan-debt-statistics?utm_source=chatgpt.com
-https://educationdata.org/average-student-loan-debt?utm_source=chatgpt.com
-https://libertystreeteconomics.newyorkfed.org/2025/04/is-college-still-worth-it/?utm_source=chatgpt.com
-https://www.ednc.org/05-04-2025-what-is-a-skinny-budget-trumps-preliminary-spending-plan-would-cut-education-funding-by-15/?utm_source=chatgpt.com
-https://www.ramseysolutions.com/debt/average-student-loan-debt?srsltid=AfmBOopbPvrteuEvCEDIm4ibik7Q8V8L78GYAu6ycrZ3dYrG454BUaCP&utm_source=chatgpt.com
-https://en.wikipedia.org/wiki/G.I._Bill?utm_source=chatgpt.com
-https://www.in2013dollars.com/us/inflation/2004?amount=63444&utm_source=chatgpt.com
╔═══════════╗
ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://educationdata.org/student-loan-debt-statistics?utm_source=chatgpt.com
-https://educationdata.org/average-student-loan-debt?utm_source=chatgpt.com
-https://libertystreeteconomics.newyorkfed.org/2025/04/is-college-still-worth-it/?utm_source=chatgpt.com
-https://www.ednc.org/05-04-2025-what-is-a-skinny-budget-trumps-preliminary-spending-plan-would-cut-education-funding-by-15/?utm_source=chatgpt.com
-https://www.ramseysolutions.com/debt/average-student-loan-debt?srsltid=AfmBOopbPvrteuEvCEDIm4ibik7Q8V8L78GYAu6ycrZ3dYrG454BUaCP&utm_source=chatgpt.com
-https://en.wikipedia.org/wiki/G.I._Bill?utm_source=chatgpt.com
-https://www.in2013dollars.com/us/inflation/2004?amount=63444&utm_source=chatgpt.com