
แกะตำรา Nokia Kodak BlackBerry ตายแล้วฟื้น ตื่นขึ้นมาอย่างไร ?
แกะตำรา Nokia Kodak BlackBerry ตายแล้วฟื้น ตื่นขึ้นมาอย่างไร ? /โดย ลงทุนแมน
หลายคนชอบพูดว่า Kodak Nokia หรือ BlackBerry เป็นเคสธุรกิจคลาสสิก ที่เจ๊งและตายไปแล้ว
หลายคนชอบพูดว่า Kodak Nokia หรือ BlackBerry เป็นเคสธุรกิจคลาสสิก ที่เจ๊งและตายไปแล้ว
จนคิดกันไปว่า ทั้ง 3 ธุรกิจนี้ คงไม่น่าพลิกฟื้นมาได้ หรือหายไปจากวงการธุรกิจเรียบร้อย
แต่จริง ๆ คือไม่เลย ทั้ง 3 ธุรกิจนี้ สามารถพลิกตัวเองจากวิกฤติครั้งใหญ่ และกลับมายืนได้อย่างมั่นคง แม้วันนี้อาจไม่ได้ยิ่งใหญ่เหมือนเมื่อก่อนแล้วก็ตาม
แล้วทั้ง 3 ธุรกิจ ตายแล้วฟื้นมาได้อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
เราคงรู้ดีว่า สมัยก่อน 3 ธุรกิจนี้มีชื่อเสียงมาก
แต่เด็กที่เกิดในยุคหลัง ๆ คงไม่ทันกันแล้ว
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
เราคงรู้ดีว่า สมัยก่อน 3 ธุรกิจนี้มีชื่อเสียงมาก
แต่เด็กที่เกิดในยุคหลัง ๆ คงไม่ทันกันแล้ว
Nokia เคยเป็นโทรศัพท์มือถือยอดฮิตที่เกือบทุกคนใช้กัน
Kodak เคยเป็นผู้นำกล้องฟิล์มสุดฮิตที่ใช้ถ่ายภาพ
BlackBerry เคยเป็นสมาร์ตโฟนที่ครองส่วนแบ่งตลาด 20% ของโลก
Kodak เคยเป็นผู้นำกล้องฟิล์มสุดฮิตที่ใช้ถ่ายภาพ
BlackBerry เคยเป็นสมาร์ตโฟนที่ครองส่วนแบ่งตลาด 20% ของโลก
เรียกได้ว่า ถ้าใครไม่มีของที่ว่านี้ ก็จะกลายเป็นคนที่ตกยุค
ไม่ทันสมัยไปเลยในตอนนั้น
ไม่ทันสมัยไปเลยในตอนนั้น
แต่ในเวลาต่อมา ของเหล่านี้เริ่มเสื่อมความนิยมลง
ซึ่งไม่ใช่เพราะเทคโนโลยีของบริษัทพวกนี้ล้าหลัง แต่เพราะการยึดติดกับอะไรเดิม ๆ ของบริษัท
ซึ่งไม่ใช่เพราะเทคโนโลยีของบริษัทพวกนี้ล้าหลัง แต่เพราะการยึดติดกับอะไรเดิม ๆ ของบริษัท
Nokia ยึดติดกับระบบปฏิบัติการ Symbian ของตัวเอง
ที่เคยใช้งานได้ดีกับโทรศัพท์มือถือแบบปุ่มกด แม้จะคิดค้นระบบปฏิบัติการใหม่ Maemo ที่ใช้งานบนแท็บเล็ตได้แล้ว
ที่เคยใช้งานได้ดีกับโทรศัพท์มือถือแบบปุ่มกด แม้จะคิดค้นระบบปฏิบัติการใหม่ Maemo ที่ใช้งานบนแท็บเล็ตได้แล้ว
จนในที่สุดคู่แข่งอย่างระบบปฏิบัติการ iOS และ Android ที่ใช้งานได้ดีบนโทรศัพท์มือถือ ก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น ทำให้ Nokia ค่อย ๆ เสื่อมความนิยมลงมาตั้งแต่ตอนนั้น
Kodak ยึดติดกับธุรกิจกล้องฟิล์มของตัวเอง ที่ทำกำไรได้ดี แม้จะเคยคิดค้นกล้องดิจิทัลได้นานแล้ว แถมยังเคยซื้อ Otofo เว็บไซต์แบ่งปันภาพถ่ายที่คล้ายกับ Facebook หรือ IG ในปัจจุบัน
ส่วน BlackBerry ก็ยึดติดกับโทรศัพท์มือถือแป้นพิมพ์ปุ่มกด และระบบส่งข้อความ BB ของตัวเอง จนโดนค่ายโทรศัพท์มือถือ
และแอปส่งข้อความอื่น ๆ แย่งตลาดไปเรื่อย ๆ แทน
และแอปส่งข้อความอื่น ๆ แย่งตลาดไปเรื่อย ๆ แทน
สุดท้าย ก็กลายเป็นเรื่องราวคลาสสิกให้ได้จดจำกันว่า Nokia Kodak และ BlackBerry ในสมัยก่อนเคยยิ่งใหญ่มากแค่ไหน และกลายเป็นกรณีศึกษาของวิชาธุรกิจ ว่าพวกเขาทำอะไรพลาดไป
แต่ปัจจุบัน ก็ไม่ใช่ว่าธุรกิจพวกนี้จะหายไปเลย แต่ยังสามารถอยู่รอดได้ แม้วันนี้ไม่ยิ่งใหญ่เหมือนเมื่อก่อน
Nokia เคยมีมูลค่าบริษัท 7,200,000 ล้านบาท
วันนี้เหลือแค่ 950,000 ล้านบาท
วันนี้เหลือแค่ 950,000 ล้านบาท
Kodak เคยมีมูลค่าบริษัท 980,000 ล้านบาท
วันนี้เหลือแค่ 16,000 ล้านบาท
วันนี้เหลือแค่ 16,000 ล้านบาท
BlackBerry เคยมีมูลค่าบริษัท 2,500,000 ล้านบาท
วันนี้เหลือแค่ 75,000 ล้านบาท
วันนี้เหลือแค่ 75,000 ล้านบาท
ซึ่งถ้าถามว่า 3 ธุรกิจนี้รอดจากวิกฤติครั้งใหญ่มาได้อย่างไร คำตอบก็คือ “ตัด เพิ่ม และสร้าง”
เริ่มกันที่ “ตัด”
ทั้ง 3 ธุรกิจนี้เลือกตัดแขน ตัดขาตัวเองทิ้ง เพื่อรักษาความอยู่รอดของบริษัทต่อไปได้
Nokia ตัดสินใจขายธุรกิจโทรศัพท์มือถือให้กับ Microsoft ในปี 2014
รวมทั้งขายบริการแผนที่ GPS ให้กับบริษัทรถยนต์อย่าง Audi, BMW และ Daimler เพื่อมาโฟกัสธุรกิจที่ตัวเองยังพอแข่งขันได้
รวมทั้งขายบริการแผนที่ GPS ให้กับบริษัทรถยนต์อย่าง Audi, BMW และ Daimler เพื่อมาโฟกัสธุรกิจที่ตัวเองยังพอแข่งขันได้
Kodak ตัดสินใจล้มละลายในปี 2012 เพื่อปรับโครงสร้างธุรกิจของตัวเองใหม่ทั้งหมด
BlackBerry ตัดสินใจขายธุรกิจโทรศัพท์มือถือของตัวเองไปให้ TCL
ผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากจีนในปี 2016 แม้จะเคยเป็นธุรกิจลูกรักของบริษัทมาอย่างยาวนาน
ผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากจีนในปี 2016 แม้จะเคยเป็นธุรกิจลูกรักของบริษัทมาอย่างยาวนาน
แม้เป็นเรื่องที่น่าเจ็บปวดแค่ไหน แต่การเลือกทิ้งอะไรบางอย่างไว้ข้างหลัง ก็เป็นสิ่งที่ต้องทำ เพื่อให้ธุรกิจเดินต่อไปข้างหน้าได้
เมื่อตัดธุรกิจที่เป็นปัญหาทิ้งไปแล้ว ทั้ง 3 บริษัท ก็หันมา “เพิ่ม” โฟกัสกับสิ่งที่ตัวเองเคยเก่งก่อนหน้านี้
Nokia หันไปเน้นบริการด้านโทรคมนาคมแบบครบวงจร ตั้งแต่ระบบเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ไปจนถึงการวางโครงข่ายสื่อสาร ทั้งบนบกและใต้น้ำ ให้กับองค์กรต่าง ๆ
นอกจากนี้ ยังใช้จุดเด่นที่ตัวเองมีสิทธิบัตร AI จากการเป็นเจ้าของ Bell Labs (หน่วยวิจัยระดับโลก ที่มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ของนวัตกรรมเทคโนโลยี) ไปขายต่อให้กับบริษัทที่ต้องการใช้สิทธิบัตรพวกนี้ไปได้เรื่อย ๆ
Kodak หันไปเน้นบริการเครื่องพิมพ์ให้กับลูกค้าองค์กร
แทนที่จะเน้นลูกค้าคนทั่วไปเหมือนเดิม รวมไปถึงขายบริการซอฟต์แวร์จัดการภาพและข้อมูลให้องค์กรอีกด้วย
แทนที่จะเน้นลูกค้าคนทั่วไปเหมือนเดิม รวมไปถึงขายบริการซอฟต์แวร์จัดการภาพและข้อมูลให้องค์กรอีกด้วย
ส่วน BlackBerry ก็หันมาให้บริการด้านความปลอดภัยของข้อมูล จากระบบปฏิบัติการ QNX ที่ตัวเองเคยใช้บนโทรศัพท์มือถือ BlackBerry ก่อนหน้านี้
ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่า ทั้ง 3 ธุรกิจไม่ได้กลับไปมองว่า คู่แข่งของตัวเองทำอะไร แต่หันกลับมามองตัวเองว่า
แล้วเราจะใช้ความเก่งที่เคยมีมาอย่างไรได้บ้างต่างหาก
แล้วเราจะใช้ความเก่งที่เคยมีมาอย่างไรได้บ้างต่างหาก
แต่ทั้ง 3 ธุรกิจก็ไม่ได้หยุดอยู่แค่นี้ เพราะยัง “สร้าง” ตลาดที่ใหญ่ขึ้นสำหรับธุรกิจของตัวเองอีกด้วย
ปัจจุบัน Nokia ไม่ได้ทำธุรกิจโทรคมนาคมอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังให้บริการ Cloud ที่ช่วยจัดการโครงสร้าง
พื้นฐานเทคโนโลยีหลังบ้านให้กับบริษัทต่าง ๆ
พื้นฐานเทคโนโลยีหลังบ้านให้กับบริษัทต่าง ๆ
ส่วน Kodak ก็รุกตลาดบริการ Advanced Materials อย่างแผ่นฟิล์ม ซึ่งถูกใช้ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ หรือชิป ที่เป็นมันสมองของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ในขณะที่ BlackBerry เอง หลังจากซื้อบริษัทจัดการความปลอดภัยของข้อมูลมาเพิ่มเติม ตอนนี้ก็กลายเป็นผู้ให้บริการระบบจัดการข้อมูลในรถยนต์กว่า 200 ล้านคันทั่วโลก
และลูกค้าหลักตอนนี้ ก็คือบรรดาบริษัทรถยนต์ทั่วโลก
ที่ซื้อบริการนี้ไปใช้ เช่น BMW, Ford, General Motors, Toyota, Audi, Volkswagen และ Volvo
ที่ซื้อบริการนี้ไปใช้ เช่น BMW, Ford, General Motors, Toyota, Audi, Volkswagen และ Volvo
จนปัจจุบัน เราอาจไม่รู้ตัวเลยว่า รถยนต์ที่เราขับกันอยู่
มี BlackBerry ที่เคยเป็นโทรศัพท์มือถือที่ตายและตกยุคไปแล้ว
กลับเปลี่ยนรูปร่างมาเป็นซอฟต์แวร์ที่มองไม่เห็นแทน
มี BlackBerry ที่เคยเป็นโทรศัพท์มือถือที่ตายและตกยุคไปแล้ว
กลับเปลี่ยนรูปร่างมาเป็นซอฟต์แวร์ที่มองไม่เห็นแทน
สรุปแล้ว ถ้าถามว่าตำราพลิกฟื้นวิกฤติที่ Nokia Kodak และ BlackBerry ใช้คืออะไร คำตอบสั้น ๆ ก็คือ
- ตัดธุรกิจที่มีปัญหาออกไป
- เพิ่มโฟกัสกับจุดแข็ง ที่ตัวเองมีอยู่แล้ว
- สร้างตลาดใหม่ ที่ใหญ่กว่าเดิมขึ้นมา
- เพิ่มโฟกัสกับจุดแข็ง ที่ตัวเองมีอยู่แล้ว
- สร้างตลาดใหม่ ที่ใหญ่กว่าเดิมขึ้นมา
แม้ว่าวันนี้บริษัทอาจไม่ยิ่งใหญ่เหมือนเมื่อก่อน แต่อย่างน้อยบริษัทเหล่านี้ ก็สามารถรักษาลมหายใจ และชื่อของตัวเอง ไว้บนโลกนี้ต่อไปได้
ซึ่งปัจจุบัน Nokia และ Kodak มีกำไรแล้ว
ขณะที่ BlackBerry ยังขาดทุนและมีกำไรในบางปี โดยในปีที่แล้ว ขาดทุนราว 2,600 ล้านบาท
ขณะที่ BlackBerry ยังขาดทุนและมีกำไรในบางปี โดยในปีที่แล้ว ขาดทุนราว 2,600 ล้านบาท
แต่แน่นอนว่า Nokia Kodak และ BlackBerry ก็คงเป็นภาพจำความล้มเหลวของธุรกิจไปอีกนาน ที่กลายเป็นบทเรียนสำคัญให้บริษัทต่าง ๆ ได้เรียนรู้ไม่จบไม่สิ้น
ก็ไม่แน่ว่า ในโลกที่มี AI เข้ามาเป็นเทคโนโลยีหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม
เราก็อาจจะเห็น Nokia 2, Kodak 2 หรือ BlackBerry 2 จากธุรกิจที่ซ้ำรอยเดิมในการปรับตัวไม่ทันตลาด ก็เป็นได้
ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นจริง ตำราฝ่าวิกฤติของ 3 ธุรกิจนี้
ก็คงได้ใช้อีกครั้งอย่างแน่นอน..
╔═══════════╗
ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.ironfx.com/en/kodak-the-rise-fall-and-rebirth/
-https://hbr.org/2016/07/kodaks-downfall-wasnt-about-technology
-https://www.forbes.com/sites/tendayiviki/2017/01/19/on-the-fifth-anniversary-of-kodaks-bankruptcy-how-can-large-companies-sustain-innovation/
ก็คงได้ใช้อีกครั้งอย่างแน่นอน..
╔═══════════╗
ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.ironfx.com/en/kodak-the-rise-fall-and-rebirth/
-https://hbr.org/2016/07/kodaks-downfall-wasnt-about-technology
-https://www.forbes.com/sites/tendayiviki/2017/01/19/on-the-fifth-anniversary-of-kodaks-bankruptcy-how-can-large-companies-sustain-innovation/